Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2805
Title: ผลของตัวแปรต่ออิเล็กโทรดีโพซิชันของนิกเกิล
Other Titles: Effect of variables on nickel electrodeposition
Authors: ฉัฐบรรณ วรรณรัตน์, 2519-
Advisors: เก็จวลี พฤกษาทร
สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kejvalee@sc.chula.ac.th
dsomsak@sc.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก
นิเกิล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประยุกต์ วิธีอิเล็กโทรดีโพซิชันเพื่อแยกโลหะหนักออกจากน้ำเสีย สามารถกำจัดโลหะหนักออกมาในรูปของโลหะบริสุทธิ์ หรือโลหะผสมที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งยังเป็นการลดขั้นตอนการบำบัดรองรับในขั้นต่อไปและลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของตัวแปรและภาวะที่เหมาะสมสำหรับการแยกนิกเกิลด้วยกระบวนการอิเล็กโทรดีโพซิชัน สารละลายอิเล็กโทรไลต์คือสารละลายนิกเกิลสังเคราะห์ที่ความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร และควบคุมการทำงานแบบให้ค่ากระแสไฟฟ้าคงที่ (Galvanostatic Method) ปริมาตรสารละลายอิเล็กโทรไลต์เท่ากับ 1 ลิตร ขั้วแคโทด ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) มีรูพรุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร มีพื้นที่ผิว 89 ตร.ซม. ขั้วแอโนด ทำจากโลหะไทเทเนียมเคลือบรูทธิเนียมออกไซด์ พื้นที่ผิว 82 ตร.ซม. ผลการทดลองพบว่า ค่าความเป็นกรด-เบส และปริมาณกระแสไฟฟ้ามีผลต่อประสิทธิภาพของการอิเล็กโทรดีโพซิชัน โดยภาวะที่ให้ค่าประสิทธิภาพกระแส (Current Efficiency) สูงสุด (32%) ในการแยกนิกเกิลที่ 60% คือ ช่วง pH 3-3.5 และที่ความหนาแน่นกระแส 140 แอมแปร์/ตารางเมตร โดยปรับค่าความเป็นกรด-เบสด้วย กรดซัลฟูริก และหากปรับค่าความเป็นกรด-เบสด้วยกรดบอริกจะให้ค่าประสิทธิภาพที่สูงกว่าเล็กน้อย ในขณะที่สารลดแรงตึงผิวปนเปื้อนในน้ำเสีย ทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง โดยเฉพาะสารลดแรงตึงผิวจำพวกสารที่มีประจุเป็นลบ โดยหากมีปนเปื้อนเพียง 1 ppm ทำให้ประสิทธิภาพลดลงกว่า 70%
Other Abstract: The Application of Electrodeposition to remove heavy metal from wastewater can separate metal into pure metal or alloy form. There are reduced steps of treatment process and lower cost. This work studies the effect of variables and the optimum condition for deposition of nickel electrodeposition. The electrolyte is nickel synthetic solution 1 g/L for 1 liter. The system is controlled by Galvanostatic method. Cathode is made from stainless steel, 1.5 mm pore sized diameter, 89 cm2 of surface area. Anode is made from titanium coated by ruthinium oxide, 82 cm2 of surface area. The result show that pH and current affect of the efficiency of electrodeposition. The optimum condition of the nickel electrodeposition is the range of pH 3-3.5 and current density 140 A/m2 for maximum current efficiency (32%) at 60% nickel removal, sulfuric acid is used to adjust pH of electrolyte. Boric acid electrolyte has a little higher efficiency than sulfuric acid. Meanwhile, surfactant contaminated in wastewater decreased the efficiency especially the cationic surfactant. If the wastewater contaminate with 1 ppm of surfactant, the efficiency will be decreased up to 70%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2805
ISBN: 9740510745
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chattaban.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.