Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorณัฐพล ผดุงทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-19T08:51:27Z-
dc.date.available2012-12-19T08:51:27Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28088-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractศึกษาการนำเสนอภาพ รวมไปถึงภาพแบบฉบับทางเพศที่ปรากฏในภาพข่าวกีฬา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจปริมาณ การให้ความสำคัญ และลักษณะเนื้อหาที่ภาพข่าวกีฬานำเสนอผู้หญิงและผู้ชาย 2) เพื่อวิเคราะห์ภาพหญิงชาย และภาพแบบฉบับทางเพศที่ปรากฏในการนำเสนอภาพข่าวกีฬา และ 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงบทบาทของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อการนำเสนอภาพหญิงชายและภาพแบบฉบับทางเพศในกีฬา สำหรับระเบียบวิธีวิจัย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากภาพข่าวกีฬาที่ถูกนำเสนอในหนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท ประเภทละ 1 ชื่อฉบับ ซึ่งวางจำหน่ายตลอดเดือน มกราคม พ.ศ. 2555 จำนวนทั้งสิ้น 2,041 ภาพ และมีเครื่องมือหลักที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ตารางลงรหัส ผลการวิจัยพบว่า 1. ในด้านปริมาณการนำเสนอ ผู้ชายถูกนำเสนอในภาพข่าวกีฬามากกว่าผู้หญิงค่อนข้างมาก อีกทั้งในด้านการให้ความสำคัญยังพบถึง การให้ความสำคัญในการนำเสนอผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในทุกๆ ลักษณะอีกด้วย แต่ขณะเดียวกัน ในด้านลักษณะเนื้อหาที่นำเสนอ กลับพบว่า โดยส่วนใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชายถูกนำเสนอในลักษณะเนื้อหาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก 2. ภาพแบบฉบับทางเพศที่พบในส่วนของผู้ชาย ได้แก่ กีฬาเป็นพื้นที่ของผู้ชาย ผู้ชายเป็นเพศที่มีความสามารถทางการกีฬา ผู้ชายมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับกีฬาโดยตรง และผู้ชายมีความเป็นนักสู้ ขณะที่ในส่วนของผู้หญิง ภาพแบบฉบับทางเพศที่พบ ได้แก่ ผู้หญิงเป็นผู้สนับสนุน ผู้หญิงเป็นสัตว์โลกที่สวยงาม และผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนโยน ทั้งนี้ จากการศึกษายังพบภาพใหม่ๆ ที่ปรากฏในการนำเสนอภาพข่าวกีฬา ซึ่งได้แก่ ผู้หญิงก็เป็นนักกีฬาได้ไม่ต่างจากผู้ชาย ผู้หญิงแย่งชิงพื้นที่ในกีฬาบางชนิดได้ และผู้ชายเองก็มีความอ่อนโยนเช่นกัน 3. หนังสือพิมพ์ในฐานะของสื่อมวลชนได้แสดงทั้งบทบาทในการเป็นตัวตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และบทบาทของหนังสือพิมพ์ในการเป็นกลไกแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการนำเสนอภาพข่าวกีฬา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมิติที่ศึกษา โดยหากศึกษาด้านปริมาณ และการให้ความสำคัญในการนำเสนอ จะพบว่า บทบาทในการเป็นตัวตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันทางเพศจะโดดเด่นกว่า แต่หากศึกษาด้านลักษณะเนื้อหาที่นำเสนอ จะพบว่า บทบาททั้ง 2 ได้ถูกแสดงออกมาค่อนข้างใกล้เคียงกันen
dc.description.abstractalternativeTo study gender portrayal and stereotype presentation in sports news photographs, to find the answers of the 3 objectivities: 1) to investigate the quantity, precedence giving and content of female and male in sports news photographs presentating; 2) to analyze gender portrayal and stereotype in sports news photographs presentating, and; 3) to analyze role of daily newspaper in gender portrayal and stereotype presentating. The research methodology was based on a quantitative approach; content analysis of sports news photographs, which obviously presented on 3 daily newspaper types in January 2012. And main tool of information collecting is standardized coding sheet. A total of 2,041 sample sports news photographs and captions were collected. The findings areas as follows: 1. In the quantity, the appearance of female and male in sports news photographs is severely imbalanced, male was more than female. As the precedence giving, male was more given precedence than female. However, in majority, male and female were present in the same content. 2. Finally, 7 types of gender stereotypes were identified: 1) sport is an area of men; 2) generally men have sports skills; 3) men have a directly role in sports; 4) men are fighters; 5) women are supporter; 6) women are the sexual objects of men, and; 7) women are gentleness. However 3 types of new gender portrayal were also identified: 1) women can be athletes like men; 2) women can grasp some sports area from men, and; 3) men are also gen gentleness in sports area. 3. Daily newspaper represents mass media, acted in the both of reinforcer role and social change mechanism role, be decided by dimension.en
dc.format.extent4307407 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1462-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสื่อมวลชนกับกีฬาen
dc.subjectข่าวกีฬาen
dc.subjectเพศในสื่อมวลชนen
dc.subjectMass media and sportsen
dc.subjectSex in mass mediaen
dc.titleการนำเสนอภาพและภาพแบบฉบับทางเพศในภาพข่าวกีฬาen
dc.title.alternativeGender protrayal and stereotype presentation in sports news photographsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanjana.Ka@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1462-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattapon_ph.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.