Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28090
Title: การนำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ : ศึกษากรณีการปรับโครงสร้างองค์กร
Other Titles: Loss carryover : case study on corporate reorganization
Authors: ภัทรกร อุดมผล
Advisors: ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tithiphan.C@chula.ac.th
Subjects: การฟื้นฟูบริษัท
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Income tax
Income tax deductions for losses
Corporate reorganizations
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การนำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเป็นสิทธิทางภาษีที่มีขึ้น เพื่อความเป็นธรรมของระบบปีภาษีในการจัดเก็บภาษีทางตรง สำหรับกิจการที่มีรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละปีภาษี บทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามนำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในการปรับโครงสร้างองค์กร จึงเป็นอุปสรรคในการปรับโครงสร้างองค์กรด้วยวิธีควบกิจการและการโอนกิจการทั้งหมด และยังเปิดโอกาสให้แสวงหาประโยชน์ทางภาษีโดยมิชอบในการปรับโครงสร้างองค์กรบางรูปแบบ จากการศึกษาพบว่า ตัวบทกฎหมาย แนวบรรทัดฐานคำพิพากษา และพัฒนาการของกฎหมายภาษีอากรของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศออสเตรเลีย รวมถึงตัวบทกฎหมายฉบับอื่นนอกจากประมวลรัษฎากรของประเทศไทย อนุญาตให้นำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในการปรับโครงสร้างองค์กรได้โดยตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ โดยมีขอบเขตและจุดมุ่งหมายในการบังคับใช้แตกต่างกันไป ประมวลรัษฎากรของประเทศไทยจึงควรแก้ไขให้มีการอนุญาตให้นำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิต่อไปได้ ภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้เงื่อนไขในการทดสอบความต่อเนื่องของผลประโยชน์ของความเป็นเจ้าของ ความต่อเนื่องของธุรกิจ และการจำกัดโดยการเปรียบเทียบมูลค่าสินทรัพย์ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางภาษีโดยมิชอบจากการนำผลขาดทุนสุทธิมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
Other Abstract: Loss carryover is a tax attribute for the equity of fluctuated income corporation. The disallowance of loss carryover in corporate reorganization provision is an obstruction and able to be abused for tax avoidance in some forms of corporate reorganization. The study reflected that the legal provision, juristical doctrine and development of the tax law of the United States of America, the United Kingdom and Australia including other provisions in other countries rather than Thai Revenue Code allow the loss carryover in reorganization. However, for some different scopes and purposes, the loss carryover is subject to some conditions depend on each countries. Therefore, this paper suggested that The Thai Revenue Code should allow the loss to be carryover in amalgamation and entire business transfer within some the condition of continuity of interest of ownership test, continuity of business test and comparison of asset limitation. Including the loss carryover in other forms of reorganization should be allowed within the same conditions to prevent the tax avoidance by the abuse of loss carryover.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28090
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1443
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phatarakorn_ud.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.