Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2809
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีนา ชวนิชย์ | - |
dc.contributor.author | ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-25T04:58:34Z | - |
dc.date.available | 2006-09-25T04:58:34Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740313086 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2809 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | จากตัวอย่างดินแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยจำนวน 17 ตัวอย่าง นำมาแยกแอคติโนฟาจด้วยวิธีส่งเสริมการเจริญโดยมี Streptomyces griseus KA1198, S. hygroscopicus subsp. hygroscopicus NOV-1 และ S. luteteogriseus ISP 5483 เป็นโฮสท์ สามารถแยกแอคติโนฟาจได้ 15 ชนิด เมื่อตรวจสอบการติดเชื้อของสเตรปโตมัยซิทีสโดยแอคติโนฟาจจากลักษณะพล๊าค ด้วยวิธีการทำอาหารวุ้นสองชั้น พบว่าแอคติโนฟาจส่วนใหญ่เป็นไวรูเลนท์ฟาจเนื่องจากให้พล๊าคที่มีลักษณะใส มีแอคติโนฟาจ 2 ชนิด คือ Tg2 และ TN2 ที่ให้พล๊าคลักษณะขุ่น พร้อมกันนี้ได้นำแอคติโนฟาจ Ac7 ซึ่งแยกได้ก่อนล่วงหน้า และให้พล๊าคที่มีลักษณะขุ่นมาตรวจสอบด้วย จากการตรวจสอบไลโสเจนที่เกิดจากแอคติโนฟาจทั้ง 3 ชนิด พบว่าไลโสเจนไม่เกิดการติดเชื้อซ้ำจากแอคติโนฟาจชนิดเดิมและแอคติโนฟาจอื่นบางชนิด ไลโสเจนดังกล่าวสามารถปลดปล่อยอนุภาคฟาจออกมาได้เองตามธรรมชาติ จากผลดังกล่าวแสดงว่า แอคติโนฟาจ Tg2, TN2และ Ac7 เป็นเทมเพอเรตฟาจ ไลโสเจนที่เกิดจากแอคติโนฟาจ Tg2 และ TN2 สามารถปลดปล่อยอนุภาคฟาจออกมาได้เพิ่มขึ้น เมื่อถูกชักนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต และไมโตมัยซิน ซี ที่ความเข้มข้น 1, 5 และ 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ไลโสเจนที่เกิดจากแอคติโนฟาจ Ac7 สามารถปลดปล่อยอนุภาคฟาจออกมาได้เพิ่มขึ้น เมื่อถูกชักนำด้วยไมโตมัยซิน ซี ที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่ไม่สามารถปลดปล่อยอนุภาคฟาจเพิ่มขึ้นได้เมื่อถูกชักนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต จากการศึกษารูปร่างของเทมเพอเรตแอคติโนฟาจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าเทมเพอเรตฟาจทั้ง 3 ชนิดมีรูปร่างคล้ายกัน คือ มีส่วนหัวเป็นรูปหกเหลี่ยม ส่วนหางยาวไม่สามารถหดได้และไม่มีแผ่นฐานร ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงจัดจำแนกอยู่ในกลุ่ม B ตามวิธีการจัดจำแนกแบคเทอริโอฟาจตามลักษณะรูปร่างของ Bradley จากการศึกษาโฮสท์-เรนจ์พบว่าเทมเพอเรตฟาจ Tg2, TN2 และ Ac7 มีโฮสท์-เรนจ์กว้าง สามารถทำให้สเตรปโตมัยซิสที่นำมาทดสอบทั้งหมด 38 สายพันธุ์เกิดการติดเชื้อได้ 13, 11 และ 15 สายพันธุ์ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | Seventeen soil samples collected from various parts of Thailand were used for isolation and characterization of actinophages. Fifteen actinophages were obtained from Streptomyces griseus KA 1198, S. hygroscopicus subsp. hygroscopicus NOV-1 and S. luteogriseus ISP 5483, by using enrichment method. Plaque formation was detected by using double agar layer technique. Most of isolated actinophages were considered as virulent phages since they produced clear plaques on lawn of these streptomycete hosts. However, two isolates: Tg2 and TN2, gave turbid plaques as well as actinophage Ac7 which were previously isolated. Lysogens of these actinophages had superinfection immunity against the same phage and some other phages. In addition, phage particles were spontaneously released from lysogens. These results indicated that actinophage Tg2, TN2 and Ac7 were temperate phages. The UV and mitomycin C at concentration of 1, 5 and 10 microgram/ml able to induce lysogens of Tg2 and TN2 to release phage particles particles increasingly, whereas lysogens of Ac7 were induced only by mitomycin C at concentration of 1 microgram/ml. Examination of actinophages by transmission electron microscope showed that all of them had similar morphology, hexagonal heads and long non-contractile tails without baseplates. Based on morphological classification, they belong to bradley group B. Temperate phage Tg2, TN2 and Ac7 had board host-range, so each of them were able to infect 13, 11 and 15 from 38 Streptomyces tested strains, respectively. | en |
dc.format.extent | 2122258 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ดิน--การวิเคราะห์ | en |
dc.subject | เทมเพอเรจฟาจ | en |
dc.subject | สเตรปโตมัยซิทิส | en |
dc.title | ลักษณะของเทมเพอเรตฟาจของสเตรปโตมัยซิทีสที่แยกจากดิน | en |
dc.title.alternative | Characteristics of temperate phages of streptomycetes isolated from soil | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Surina.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TheerapatWe.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.