Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorมธุรส กัลหโสภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-24T10:15:35Z-
dc.date.available2012-12-24T10:15:35Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28100-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ประชากรคือ วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 140 ค่า แบ่งเป็นปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย (1.ปัจจัยส่วนบุคคล, 2.ปัจจัยด้านอาการแสดง, 3.ปัจจัยด้านอาการ, 4.ปัจจัยด้านจิตใจ, 5.ปัจจัยด้านพฤติกรรม) 86 ค่า, ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (1.เสียง, 2.แสง, 3.อุณหภูมิ, 4.กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์, 5.สภาพแวดล้อมโดยรวม, 6.สภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย) 24 ค่า, ปัจจัยด้านอื่นๆ (1.ความไม่สุขสบายต่างๆ, 2.ฝันร้าย, 3.กิจกรรมการรักษาพยาบาล, 4.สิ่งรบกวนการนอนหลับโดยรวม) 30 ค่า, สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (90.9%) คุณภาพงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ในภาพรวมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านอื่นๆ ( r = .230) รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย ( r = .194) และปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม ( r = .188) 3. ค่าขนาดอิทธิพลในภาพรวมของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ เป็นดังนี้ ปัจจัยด้านอื่นๆมีค่าขนาดอิทธิพลขนาดใหญ่ที่สุด (d = .496) ส่วนปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าขนาดอิทธพลขนาดกลาง (d = .398 , .392) 4. ข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย คือ เมื่อพิจารณาปัจจัยรายย่อยของปัจจัยด้านอื่นๆ พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งรบกวนการนอนหลับโดยรวม และปัจจัยด้านความไม่สุขสบายต่างๆ มีค่าขนาดอิทธิพลขนาดใหญ่ ( d = .93, .60) ส่วนปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย เมื่อพิจารณารายปัจจัยย่อยพบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรม ปัจจัยด้านอาการแสดง และปัจจัยด้านจิตใจ มีค่าขนาดอิทธิพลใหญ่ (d = .558, .546, .500) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อพิจารณารายปัจจัยย่อยพบว่า สิ่งแวดล้อมโดยรวม/สิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยมีค่าขนาดอิทธิพลใหญ่ที่สุด ( d = .60)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this meta-analysis were to study the relationship between some particular factors and sleep quality in adult patients. 11 samples of correlational research documents that published in B.E. 1993-2007 were included. To synthesize those, 11 research characteristic variables were gathered by employing research characteristic coding form and research quality evaluation form. Then the Glass, McGaw, & Smith (1981) method was employed to synthesize all variables for correlation coefficients. There were 140 correlation coefficients, 86 correlation coefficients of personal factors (1.individual, 2.symptom, 3.signs, 4.mood, 5.behavior), 24 correlation coefficients of environment factors (1.noise, 2.light, 3.temperature, 4.interior condition, 5.unfamiliar environment), 30 correlation coefficients of general factors (1.discomfort, 2.nightmare, 3.nursing activity, 4.sleep disturbance). The result of research synthesis were: 1. The majority of the study were Master theses (90.9%). Most of instruments were tested for both reliability and validity; decided in very good quality. 2. The factor indicating the highest related to sleep in adult patients was the general factors ( r =.230 ), followed by personal factors ( r = .194 ) there were The factors indicating the least related to sleep in adult patients was environment factors ( r = .188 ) 3. The general factors had the large effect–size ( d = .496), the personal factors and environment factors had the medium effect-size on sleep quality ( d = .499, .430) 4. The research finding indicated that large effect–size was the general factors consisted of 4 sub-factors , there were sleep disturbance factors and discomfrot factors had the large effect–size ( d = .93, .60)en
dc.format.extent1784932 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1061-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการนอนหลับen
dc.subjectการวิเคราะห์อภิมานen
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมานen
dc.title.alternativeFactors related to sleep in adult patients : a meta - analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1061-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mathurose_gu.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.