Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28103
Title: ผลของกากตะกอนแห้งต่อการเติบโตของผักกาดหอม (Lactuca sativa) และปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อใบ และในดินที่ใช้ปลูก
Other Titles: Effects of dry activated sludge on lettuce (Lactuca sativa) growth and heavy metal concentrations in leaf tissue and treated soil
Authors: รัดเกล้า ตันสถิตย์
Advisors: เปรมจิตต์ แทนสถิตย์
อรุณี จันทรสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้กากตะกอนแห้งจากโรงงาน 3 แห่งคือ โรงงานโฟร์โมสต์อาหารนม โรงงานบุญรอดบริวเวอรี่ และโรงงานอุตสาหกรรมไทยชูรส ต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม(Lactuca sativa var. crispa) ที่ปลูกในกระถาง และเปรียบเทียบการสะสมของโลหะหนักในเนื้อเยื่อใบและในดิน โดยการวิเคราะห์ธาตุอาหาร (N,p,K) และโลหะหนักในดินและตะกอน ด้วยการทดลองปลูกผักกาดหอมแบบสุ่มในบล็อกสมบรูณ์ (Randomize Complete Block Design) กำหนดชุดทดลองเป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1ใส่ปุ๋ยสูตร N,P,K 15-15-15 และ ปุ๋ยยูเรียในอัตราที่เหมาะสมกับการเติบโตของผักกาดหอมมากที่สุด ใช้เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2ใส่กากตะกอนแห้งจากแต่ละโรงงานานปริมาณที่ให้ไนโตรเจนเท่ากับกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3ใส่ปุ๋ยอนินทรีย์ใน ปริมาณที่ให้ N-P-K เท่ากับกลุ่มที่ 2ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตของผักกาดหอม ที่ใส่กากตะกอนแห้งกับที่ใส่ปุ๋ยอนินทรีย์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่การเจริญเติบโตของผักกาดหอม ที่ใช้กากตะกอนจาการงงานอุตสาหกรรมไทยชูรส มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นพบว่าการสะสมนิเกิล ตะกั่ว แดดเมี่ยมในเนื้อเยื่อใบผักกาดหอม และในดินที่ใช้ปลูก มีระดับต่ำมาก ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการเติมกากตะกอนแห้งกับการใส่ปุ๋ยอนินทรีย์
Other Abstract: The purposes of this research were to compare the growth of lettuce (Lactuca sativa var. crispa) and its heavy metal accumulation when planted in soil mixed with activated sludges from three different agro industrial companies (brewery, monosodium glutamate , and diary productions). Plant nutrients and heavy metals in sludge samples were analysed in the laboratory. The lettuce plants were grown in pots in a randomized complete block design which consist of three groups of soil treatments :(l) The control, with recommended rate of fertilizers(N,P,K,15-15-15 and urea) (2) With dry activated sludges which provided equal amount of N as in the recommended rate and (3)With inorganic fertilizers which provided equal amount of N,P and K as activated sludges used in group 2. The results indicated that the growth of lettuce in the soil with sludge from the monosodium glutamate industry was less than the control. No significant difference in growth was found between using the control and sludges from the other two companies. Concentration of heavy metals in leaf tissue and cultivated soil were very low and have no statistic significance (p>0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28103
ISBN: 9745770108
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rudklao_ta_front.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch2.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch3.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch4.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch5.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_ch6.pdf868.89 kBAdobe PDFView/Open
Rudklao_ta_back.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.