Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28109
Title: เปรียบเทียบระหว่างการใช้โคเปปตินร่วมกับโทรโปนินที กับการใช้โทรโปนินทีอย่างเดียว เพื่อช่วยประเมินการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยก ภายใน 12 ชั่วโมงหลังมีอาการ
Other Titles: Comparison study of using copeptin ontop troponint in diagnosis of non-st elevation myocardial infarction (nstemi) within 12 hours after onset of chest pain
Authors: ชญานุตม์ สุวรรณเพ็ญ
Advisors: สุรพันธ์ สิทธิสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Surapun.S@Chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- การวินิจฉัยโรค
เจ็บหน้าอก
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การวินิจฉัยโรค
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ : การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยกในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอกโดยใช้โทรโปนนินที อาจพบปัญหาผลลบลวงจากการตรวจเลือดหาระดับของโทรโปนินทีในครั้งแรก ทำให้ต้องเสียเวลาตรวจติดตามซ้ำที่ 3-6 ขั่วโมง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจภายใน 12 ชั่วโมงหลังมีอาการเจ็บหน้าอกและไม่พบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จำเพาะกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จึงเกิดแนวคิดที่จะนำโคเปปตินเข้ามาวินิจฉัยร่วมกับโทรโปนินในการตรวจ เพื่อเพิ่มการวินิจฉัยภาวะดังกล่าวได้ตั้งแต่การตรวจครั้งแรก รวมทั้งโคเปปตินอาจจะมีประโยขน์ในการทำนายการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดตามมาภายหลังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยกดังกล่าว ซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน วิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2555 ด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่มาภายใน 12 ชั่วโมง ที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและไม่พบลักษณะเอสทีเซกเมนท์ยกในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยทำการเจาะเลือดตรวจระดับโคเปปติน เพิ่มจากการเจาะตรวจโทรโปนินทีตามแนวทางการวินิจฉัยพื้นฐาน (การศึกษานี้ ใช้การตรวจโทรโปนินทีชนิดความไวสูง) โดยมีแพทย์อายุรศาสตร์เฉพาะทางด้านหัวใจ 2 คนเป็นผู้ให้การวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย และมีการตรวจติดตามโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (การเสียชีวิต, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, โรคทางหลอดเลือดสมอง, ภาวะหัวใจล้มเหลว) ที่ระยะเวลา 1 เดือนภายหลังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยก ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 45 คน โดยผู้ป่วย 33 คน (ร้อยละ 73) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยก ส่วนผู้ป่วยอีก 12 คน (ร้อยละ 27) ได้รับการวินิจฉัยอื่น โดยพบว่าระดับโคเปปตินในผู้ป่วยกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยก สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอื่น [ค่ามัธยฐาน (ค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด) = 11.0 (2.8-954.3) เทียบกับ 7.5 (2.5-41.8) พิโคโมลต่อลิตร, ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p value) = 0.40] เมื่อเปรียบเทียบผลจากการใช้โคเปปตินร่วมกับโทรโปนินทีชนิดความไวสูงกับการใช้โทรโปนินทีชนิดความไวสูงเพียงอย่างเดียว เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยที่เจ็บหน้าอกมาภายใน 12 ชั่วโมงนั้น พบว่าความไวไม่ต่างกัน (ร้อยละ 97.0) ส่วนความจำเพาะและคุณค่าของการทายผลลบ ลดลงจากร้อยละ 58.3 มาเป็นร้อยละ 41.7 และจากร้อยละ 87.5 มาเป็นร้อยละ 83.3 ตามลำดับ เมื่อแสดงเป็นพื้นที่ใต้กราฟROC ในกลุ่มที่เจ็บหน้าอกภายใน 12 ชั่วโมง พบว่าการใช้โคเปปตินร่วมกับโทรโปนินทีชนิดความไวสูงมีค่าต่ำกว่าการใช้โทรโปนินทีชนิดความไวสูงเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [0.59 (0.39-0.79) เทียบกับ 0.94 (0.88-1.00), ระดับนัยสำคัญทางสถิติ <0.05] และในกลุ่มที่เจ็บหน้าอกภายใน 6 และ 3 ชั่วโมงก็พบว่าพื้นที่ใต้กราฟROC ของการใช้โคเปปตินร่วมกับโทรโปนินทีชนิดความไวสูงมีค่าต่ำกว่าการใช้โทรโปนินทีชนิดความไวสูงเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน [0.56 (0.33-0.77) เทียบกับ 0.93 (0.86-1.00), ระดับนัยสำคัญทางสถิติ <0.05 and 0.58 (0.31-0.81) เทียบกับ 0.92 (0.80-1.00), ระดับนัยสำคัญทางสถิติ<0.05 ในกลุ่มที่เจ็บหน้าอกภายใน 6 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ] นอกจากนี้พบว่าโคเปปตินไม่มีผลต่อการทำนายการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ 1 เดือน ภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ =0.50 สรุปผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าการใช้โคเปปตินร่วมกับโทรโปนินทีชนิดความไวสูง เทียบกับการใช้โทรโปนินทีชนิดความไวสูงเพียงอย่างเดียว ไม่เพิ่มประโยชน์ในการประเมินการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่มีเอสทีเซกเมนท์ยกในผู้ป่วยที่มาภายใน 12 ชั่วโมงหลังมีอาการเจ็บหน้าอก รวมทั้งไม่พบประโยขน์ในการทำนายการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ตามมาที่ระยะเวลา 1 เดือน
Other Abstract: Objectives: To study the values of new biomarker, copeptin - the C-terminal part of the vasopressin prohormone, adding to troponinT (using highly sensitive cardiac troponinT – hs cTnT) for early diagnosis of non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI) in patients suspected of acute cardiac chest pain within 12 hours onset and the values of copeptin in short term prognosis after acute NSTEMI event. Background: Diagnosis of NSTEMI in acute chest pain patients without persistent ST segment elevation is challenging due to the false negativity or low normal results of specific cardiac biomarker in the early onset of symptoms. Copeptin, a nonspecific biomarker, in combination with inital troponinT may be useful for early concern in the diagnosis due to rapid rising property. Furthermore, copeptin maybe a prognostic index of cardiovascular outcomes after NSTEMI. Methods: From August through December 2011, 45 consecutive patients with acute chest pain within 12 hours of symptom onset suspected of acute coronary syndrome (ACS) without persistent ST-segment elevation were measured the copeptin levels, by blinded sandwich electrochemiluminescence immunoassay, adding to standard evaluation in ACS including initial level of hs cTnT. The final diagnosis was determined by 2 independent cardiologists. Short term cardiovascular outcomes (death from cardiovascular event, myocardial infarction, stroke, heart failure) were evaluated after 1 month of NSTEMI event. Results: Thirty-three patients (73%) were diagnosed as NSTEMI and 12 patients (27%) were not NSTEMI (non cardiac chest pain and unstable angina). NSTEMI patients had higher level of copeptin than remaining patients [median (min-max) = 11.0 (2.8-954.3) vs 7.5 (2.5-41.8) pmol/L, p = 0.40]. The interpretation used copeptin adding to hs cTnT at initial presentation within 12-hour of chest pain onset resulted in equal sensitivity (97.0%) compared to only hs cTnT for diagnosis of NSTEMI. Specificity and negative predictive value (NPV) decreased from 58.3% to 41.7% and from 87.5% to 83.3%, respectively. Area under curve of the ROC of copeptin adding to hs cTnT was lower than that of only hs cTnT [0.59 (0.39-0.79) vs 0.94 (0.88-1.00), p<0.05]. For patients presented within 6 and 3 hours, area under curve of the ROC of copeptin adding to hs cTnT was also lower than that of only hs cTnT significantly [0.56 (0.33-0.77) vs 0.93 (0.86-1.00), p<0.05 and 0.58 (0.31-0.81) vs 0.92 (0.80-1.00), p<0.05 in chest pain onset within 6 and 3 hours respectively]. The early cardiovascular complications had no significant difference between positive and negative results of copeptin level (p = 0.50) in NSTEMI group. Conclusions: Our study showed that combination of copeptin and initial hs cTnT did not increase diagnostic consideration for NSTEMI in early onset, less than 12 hours, of chest pain patients compared to only hs cTnT. Furthermore, no prognostic value of copeptin in short term cardiovascular outcomes observed during 1 month after NSTEMI event.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28109
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1450
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1450
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanute_su.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.