Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28114
Title: การใช้แรงงานสตรีเชิงเศรษฐกิจของครอบครัวในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Employment of female labour force in rural households : a case study of Muang Khao Community, Amphoe Maung, Sukhothai Province
Authors: รัตติกร สุนารทพิณ
Advisors: ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สตรี -- การจ้างงาน
สตรีชนบท -- ไทย -- สุโขทัย
แรงงานสตรี -- ไทย -- สุโขทัย
ค่าจ้าง -- สตรี
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้แรงงานสตรีเชิงเศรษฐกิจของครอบครัวในชมชนเมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัยและสาเหตุที่ผู้หญิงเข้าร่วมแรงงานเชิงเศรษฐกิจและสภาพการใช้แรงงานสตรีฯ ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงชุมชนการวิจัยได้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเสนอภาพชีวิตของผู้หญิงที่เป็นกรณีศึกษา 10 ราย ส่วนที่สองเป็นการเสนอภาพการใช้แรงงานสตรีฯ ในหมู่บ้านเมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่ใช้แรงงานเชิงเศรษฐกิจในบ้านเมืองเก่าส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามีจำนวนสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สูงสุดถึง 6 คน จำนวนสมาชิกจึงเป็นปัจจัยที่กำหนดไม่ได้ว่าจะเป็นแรงเสริมให้ผู้หญิงออกมาใช้แรงงานฯ อาชีพที่ผู้หญิงใช้แรงงานฯกลายเป็นอาชีพหลักที่นำรายได้ส่วนใหญ่มาให้ครอบครัวซึ่งสิ่งนี้สงผลสำคัญต่อบทบาทและการตัดสินใจภายในครอบครัวจากการที่ผู้หญิงมีอำนาจทางเศรษฐกิจภายในบ้าน แนวโน้มของการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ภายในบ้านรวมถึงบทบาทในสังคมจึงตกอยู่กับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ผลตอบแทนที่ผู้หญิงได้รับจากการใช้แรงงานฯจะอยู่ในรูปของเงินตรา ด้านช่วงเวลาในการทำงานแต่ละวันพบว่า การใช้แรงงานเชิงเศรษฐกิจเป็นงานที่กำหนดเวลาได้แน่นอนทุกวัน แต่งานบ้านเป็นงานที่กำหนดเวลาที่แน่นอนลงไปไม่ได้เนื่องจากงานบ้านเป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด สำหรับสาเหตุของการออกมาใช้แรงงานฯขึ้นอยู่กับเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงความต้องการรายได้เพิ่มขึ้นเข้าสู่ครอบครัว โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดผลต่อรายได้หลักของครอบครัวเนื่องจากการเปลี่ยนอาชีพของผู้หญิงที่ใช้แรงงานฯส่วนหนึ่ง และรายได้ที่ได้รับจากการใช้แรงงานฯของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุทยานประวัติศาสตร์ฯ ทำให้ผู้หญิงมีอิสระในการประกอบอาชีพ อิสระในการเก็บรายได้มากกว่าการมีอาชีพเกษตรกรรม
Other Abstract: The objective of this research is to study, the employment of female labour in rural households of MuangKhao Community, AmphoeMuar.gSukhothai province and to find out reasons in participating in trade before and after changes of MuangKhao community. The presentation of data is devided into 2 parts. Part one presents life history of 10 women. Part two presents female labor in rural household. This study uses qualitative research methods. This research show that primary school is the level of education that most of female achieved. They have 3-6 members in the households. Number of number was not the reason for female labor participation. Female'snew occupation was the principle jobs giving extra income into family and has influencing their roles and decision makings in the household affairs. Working hours of female labor force Infixed but working hour in the households arenot certain. Reason for working out of households are economics. The Project of the Preservation of Sukhoths: historical town. makes family principle income change because female involved in trade and services occupation. The occupations choosen make female free, i.e. to earn more than working in agriculture work.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28114
ISBN: 9746323709
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattikorn_su_front.pdf686.94 kBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_ch1.pdf865.84 kBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_ch2.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_ch4.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_ch5.pdf908.88 kBAdobe PDFView/Open
Rattikorn_su_back.pdf638.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.