Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภาพร ชโยวรรณ-
dc.contributor.authorรัตนา กฤษฎาธาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-12-26T02:24:37Z-
dc.date.available2012-12-26T02:24:37Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745799262-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28130-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ผู้สูงอายุที่มีลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมอนามัย และลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกัน จะมีภาวะสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่ต่างกันอย่างไร โดยใช้ข้อมูลการสำรวจเกี่ยวกับสวัสดิการอนามัยและการใช้ยาแผนโบราณ พ.ศ. 2529 ตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีและมากกว่า จำนวน 6,095 ราย การศึกษาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพซึ่งวัดด้วยการเจ็บป่วยและหรือบาดเจ็บในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนการสำรวจ พบว่า ตัวแปรภูมิหลังต่างๆ ที่นำมาศึกษา เขตที่อยู่อาศัย เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เจ็บป่วยและหรือบาด เจ็บน้อยกว่าผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองอื่นและชนบท สำหรับตัวแปรการศึกษามีผลต่อความแตกต่าง ในภาวะสุขภาพของผู้สงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในภาคเหนือ ส่วนตัวแปรอายุ เพศ ลักษณะของงานที่ทำ ขนาดครัวเรือน ภาคและการสูบบุหรี่ ไม่มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลซึ่งวัดด้วย แบบแผนการรักษาพยาบาลในระยะ 12 เดือนก่อนการสำรวจที่ผู้สูงอายุที่ป่วยเลือกใช้ พบว่า เขตที่อยู่อาศัยและอาการที่ป่วย มีผลต่อแบบแผนการรักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุที่ป่วยเลือกใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่ป่วยในชนบทเลือกใช้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ มากกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยในกรุงเทพฯ และเขตเมืองอื่น ผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนการสำรวจ เลือกใช้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ มากกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยไม่เรื้อรังและไม่ป่วย สำหรับตัวแปรอายุและการศึกษา มีผลให้เกิดความแตกต่างใน แบบแผนการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุเฉพาะในชนบท แบบแผนการรักษาพยาบาลฯ แตกต่างตาม ภาค เฉพาะในผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษาและกลุ่มประถมศึกษา ส่วนตัวแปรเพศ ลักษณะของงานที่ทำ และขนาดครัวเรือน มีผลต่อแบบแผนการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุค่อนข้างน้อยหรือไม่มีเลย สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่วัดด้วยการใช้ยาสมุนไพร พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษา ในระยะ 12 เดือนก่อนการสำรวจของผู้สูงอายุที่ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ขนาดครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคและอาการที่ป่วย แต่มีเพียงตัวแปรเขตที่อยู่ อาศัยเท่านั้น ที่มีทิศทางความสัมพันธ์กับการใช้ยาสมุนไพรเป็นไปตามสมมติฐาน คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ใน กรุงเทพฯ ใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาน้อยกว่าผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท สำหรับตัวแปร อายุ เพศ ลักษณะของงานที่ทำและการศึกษา ไม่มีผลต่อการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาของผู้สูงอายุที่ป่วย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the effects of the demographic, socio-economic, cultural and environmental factors, health behavior and other characteristics on the health status and health care of the Thai elderly. The data used are from the 1986 Survey of Health Welfare and Use of Traditional Medicine conducted by the National Statistical Office. The total sample of the study is 6,095 elderly aged 60 and over. The study of health status, as measured by the incidence of sickness and/or injury of the elderly during the past 2 weeks prior to the survey, found that among the basic variables studied, the residential area had a dominant influence on the health status of the elderly. That is elderly living in Bangkok showed a lower percentage of sickness and/or injury than those in other urban and rural areas. Education had a significant influence on the health status of the northern elderly only. Age, sex, occupation, household size, region and smoking, however, appeared to have no impact on the elderly's health status. The examination of health care, as measured by treatment patterns of the elderly who were ill during the past 12 months preceding the survey, revealed that area of residence and symptom of illness were important factors influencing the elderly's treatment patterns. Rural elderly were more likely to use governmental health services than those in Bangkok and other urban areas. Elderly with chronic diseases during the past 2 weeks prior to the survey showed a higher percentage of using government health services than elderly with non-chronic diseases or with no illness. Age and education had an influence on treatment patterns of the rural elderly only. Treatment patterns varied by region among elderly with no education or with primary education. The effects of sex, occupation and household size on treatment patterns were minimal. With respect to the use of herbal medicine for remedies, the study found that household size, residential areas, region and symptom of illness were important factors affecting use of herbal medicine among elderly who were ill during the past 12 months prior to the survey. However, only the residential area was related to the use of herbal medicine in the expected direction. The elderly living in Bangkok used herbal medicine for treatment less than those in other urban and rural areas. There were no age, sex, occupational and educational differentials in the use of herbal medicine.-
dc.format.extent3599718 bytes-
dc.format.extent12408586 bytes-
dc.format.extent12247786 bytes-
dc.format.extent6832780 bytes-
dc.format.extent11888875 bytes-
dc.format.extent4792436 bytes-
dc.format.extent4013982 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleภาวะสุขภาพและการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทยen
dc.title.alternativeHealth status and health care of the Thai elderlyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_kr_front.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_ch1.pdf12.12 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_ch2.pdf11.96 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_ch3.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_ch4.pdf11.61 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_ch5.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_kr_back.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.