Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.advisorปรีชา วิหคโต-
dc.contributor.authorณัฏฐ์สิตา ศิริรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-26T03:59:07Z-
dc.date.available2012-12-26T03:59:07Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28140-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, เพื่อสร้างรูปแบบ, ศึกษาผลการใช้ และนำเสนอรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคลากรทางการศึกษา ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1: สร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ 12 คน ขั้นตอนที่ 2: สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3: ทดลองรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย และขั้นตอนที่ 4 : นำเสนอรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคลากรทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม แบบประเมินการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของกลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินผลงานกลุ่มและรายบุคคล แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 19 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 3 กลุ่ม และ 4 คน 1 กลุ่ม แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามแผนกำกับกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวม 47 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบที ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ฐานข้อมูลความรู้บนเครือข่าย 2) ทีมเรียนรู้บนเครือข่าย 3) เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย 4) ผู้เชี่ยวชาญบนเครือข่าย และ 5) เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันบนเครือข่าย 2. ขั้นตอนการเรียนรู้ของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง มี 7 ขั้น คือ 1) ขั้นการวางแผนและกำหนดทิศทางการเรียนรู้ 2) ขั้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 3) ขั้นการสนับสนุนแหล่งข้อมูลและแหล่งวิทยากร 4) ขั้นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำผลจากข้อมูลที่ค้นพบไปใช้ 5) ขั้นการฝึกทักษะในการสืบสวนสอบสวน และการลองผิดลองถูก 6) ขั้นการทบทวนผลการเรียนรู้และการปรับปรุงแก้ไข และ 7) ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมหลังการทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงกว่าก่อนทำกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีความเหมาะสมในระดับมากen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the current state, problems, needs and opinions of educational personnel concerning knowledge sharing, to develop, implement and propose the knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach to create team learning of educational personnel. The research methods comprised of four steps: Step 1: develop the knowledge sharing via network model by analyzing and synthesizing related documents and research findings, and validate the model by 12 experts, Step 2: develop the research instruments for data collection, Step 3: implement the knowledge sharing via network model, Step 4: propose the knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach for educational personnel to create team learning. The research instruments consisted of a team learning self-test, a team learning group-test, and an opinion survey questionnaire, a product evaluation form, an interview form and an observation form. The samples were 19 educational personnel selected by purposive sampling method. They were divided into four groups, five members for three groups and four members for one group. They performed activities based on learning activity plan for 47 days. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test dependent. The research results indicated that: 1. The five components of knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach were: 1) resource based via network 2) team learning via network 3) knowledge sharing equipment via network 4) experts via network, and 5) technology support collaboration via network. 2. The seven steps of knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach were: 1) identify learning goals 2) create learning motivation 3) support learning data and resource 4) collect and utilize data 5) practice investigation skills and trial and error skills, 6) review and improve learning, and 7) evaluate learning achievement. 3. The samples‘ self-posttest team learning scores gained from the knowledge sharing via network model were significantly higher than pretest team learning scores at the .05 level. The samples perceived the knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach to create team learning of educational personnel was appropriate in high level.en
dc.format.extent4336374 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.305-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษาen
dc.subjectการเรียนรู้ร่วมกันen
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคคลากรทางการศึกษาen
dc.title.alternativeThe development of a knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach to create team learning of educational personnelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.305-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutsita_si.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.