Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.authorศิริภัณฑ์ ภูผิว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-26T06:59:08Z-
dc.date.available2012-12-26T06:59:08Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28156-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ชนิดกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้แนวคิดความเหนื่อยล้าของไปเปอร์และคณะ (1987) ร่วมกับแนวคิดการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงของสมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 40 คน ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ความสามารถในการทำกิจกรรม และระดับความเหนื่อยล้า ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ประกอบด้วยกิจกรรมรายบุคคลจำนวน 9 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือและวิดีทัศน์การจัดการความเหนื่อยล้าสำหรับผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลวและการฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.ความเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of an Integrative Management and Thai Qigong Meditation Exercise program on fatigue among older persons with heart failure. Fatigue Model (Piper et al., 1987) and Thai qigong meditation exercise were applied as theoretical concepts of the intervention. The sample consisted of 40 older persons with heart failure who were admitted as inpatients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The first 20 subjects were assigned to a control group and the latter 20 subjects were assigned to an experimental group. The participants from both groups were matched by characteristic in term of gender, age, functional class and degree of fatigue. The experimental group received the Integrative Management and Thai Qigong Meditation Exercise program and the control group received routine treatment. The Integrative Management Program comprised of the intervention included lesson plans, a handbook and VDO of fatigue management and Thai qigong meditation exercise, and questionnaires. The questionnaires had been tested for content validity by five experts, obtaining a CVI of .82 and acceptable reliability at .92. Data were analyzed using descriptive (mean, percentage, standard deviation) and t-test statistics. The research findings can be summarized as followed: 1.After completing the integrative management and Thai qigong meditation exercise program, the mean of fatigue in the experimental group was significantly less than the fatigue before doing the program (p<.05). 2.After completing the integrative management and Thai qigong meditation exercise program, the mean of fatigue in the experimental group was significantly less than those who received routine treatment only (p<.05).en
dc.format.extent4081969 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1470-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชี่กงen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectหัวใจวายen
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ-
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย-
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อความเหนื่อยล้าของผู้สูงอายุภาวะหัวใจล้มเหลวen
dc.title.alternativeThe Effect of integrative management and Thai Qigong Meditation exercise program on fatigue among persons with heart failureen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1470-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siripunt_ph.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.