Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28170
Title: | การผลิตและลักษณะสมบัติของโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่ออะฟลาทอกซินเอ็ม1 |
Other Titles: | Production and characterization of monoclonal antibodies against Aflatoxin m1 |
Authors: | อภิญญา แสงดอกไม้ |
Advisors: | กิตตินันท์ โกมลภิส ธนาภัทร ปาลกะ |
Advisor's Email: | kittinan.k@chula.ac.th Tanapat.P@Chula.ac.th |
Subjects: | อะฟลาท็อกซิน โมโนโคลนอลแอนติบอดี |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อะฟลาทอกซินเอ็ม1 (AFM₁) เป็นแมทาบอไลต์ที่ถูกเติมหมู่ไฮดรอกซิลของอะฟลาทอกซินบี1 (AFB₁) ทนต่อการให้ความร้อน เช่น การพาสเจอร์ไรส์ (pasteurization) AFM₁ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสารพิษต่อเซลล์ตับและเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นการตรวจหาปริมาณของ AFM₁ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมจึงมีความจำเป็น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ AFM₁ เพื่อใช้ในการพัฒนาชุดตรวจด้วยวิธี ELISA ต่อไป โดยทำการฉีดแอนติเจน AFM₁ ที่เชื่อมต่อกับ BSA เพื่อทำการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของหนูไมซ์สายพันธ์ BALB/c จำนวน 5 ตัว พบว่าหนูทุกตัวตอบสนองต่อแอนติเจน โดยมีค่าระดับแอนติบอดีในเลือด ระหว่าง 8,192,000 และ 32,768,000 เมื่อทำการหลอมรวมเซลล์ม้ามของหนูไมซ์กับเซลล์มัยอีโลมา P3X พบว่าได้โมโนโคลน จำนวน 5 โคลน ได้แก่ AFM₁-1, AFM₁-3, AFM₁-9, AFM₁-15 และ AFM₁-17 แอนติบอดีที่ได้มีไอโซไทป์เป็นชนิด IgG₁ ทั้งหมด ความไวซึ่งจะวัดในรูปของค่าความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจวัดได้ มีค่าเท่ากับ 16, 15, 5, 7 และ 8 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โมโนโคลนอลแอนติบอดีเกิดปฏิกิริยาข้ามกับ AFB1 และ AFG₁ แต่ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับสารนอกกลุ่มที่ใช้ทดสอบ ดังนั้นโมโนโคลนอลแอนติบอดีเหล่านี้ จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้พัฒนาชุดตรวจสอบโดยใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยาสำหรับตรวจวัด AFM₁ ได้ |
Other Abstract: | Aflatoxin M₁ (AFM₁) is the hydroxylated metabolites of aflatoxin B1 (AFB₁) and stable during heat treatments like pasteurization. AFM₁ is known to be a hepatotoxic and carcinogenic agent. Therefore, detection of AFM₁ presented in dairy products is essential. The aim of this work was to generate monoclonal antibodies against AFM₁ for future development of ELISA detection test kit. AFM₁-BSA conjugate was used as an immunogen to immunize five BALB/c mice. All mice responded vigorously to AFM₁ which yielded the antiserum titer between 8,192,000 and 32,768,000. Splenocytes from these mice were fused with P3X myeloma cells to generate hybridoma, yielding five monoclones including AFM₁-1, AFM₁-3, AFM1-9, AFM1-15 and AFM1-17. Isotype of all monoclonal antibodies were IgG₁. Their sensitivity, which was calculated in term of limit of detection, was 16, 15, 5, 7 and 8 pg/ml, respectively. The monoclonal antibodies showed strong cross reactivity with AFB₁ and AFG₁ but the cross reactivities to other substances unrelated to aflatoxins were negligible. Thus, these monoclonal antibodies have a potential to be used in the development of an immunoassay-based test kit for detecting AFM₁ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28170 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1477 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1477 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
apinya_sa.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.