Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมรตรี วิถีพร-
dc.contributor.authorนรินทร์ เจนยุทธนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-26T09:02:27Z-
dc.date.available2012-12-26T09:02:27Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28171-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมิน และเปรียบเทียบปริมาณกระดูกภายหลังการปลูกถ่ายในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปลูกถ่ายกระดูกทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของหน่วยความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิด โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 100 ราย (ชาย 56 ราย หญิง 44 ราย) อายุเฉลี่ย 14.45±5.62 ปี (8.7-32.5 ปี) แบ่งเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียว 62 ราย ปากแหว่งเพดานโหว่สองด้าน 27 ราย และกระดูกเบ้าฟันโหว่ด้านเดียว 11 ราย ผู้ป่วยทุกรายใช้กระดูกสะโพกของตนเองในการปลูกถ่าย ประเมินปริมาณกระดูกจากภาพรังสีกัดสบหลังการปลูกถ่ายในระยะแรก 3-6 เดือน และในระยะยาวไม่น้อยกว่า 1 ปี แบ่งระดับกระดูกออกเป็น ระดับ 1 (≥ ร้อยละ 75) ระดับ 2 (≥ ร้อยละ 50) ระดับ 3( ≥ ร้อยละ 25) และระดับ 4 (< ร้อยละ 25) วิเคราะห์ระดับกระดูกที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการติดตามผลระยะแรก และระยะยาวด้วยการทดสอบเชิงเครื่องหมายและลำดับที่แบบวิลคอกซันสำหรับตัวอย่างคู่ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกถ่ายกระดูกกับปริมาณกระดูกหลังการปลูกถ่ายด้วยการทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลวิจัยพบว่า ในการรักษากระดูกเบ้าฟันโหว่ด้วยการปลูกถ่ายกระดูกทุติยภูมิ 127 ตำแหน่ง ในการติดตามผลระยะแรกประสบความสำเร็จร้อยละ 94.5 โดยร้อยละ 76.4 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 75 ร้อยละ 18.1 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 50 ร้อยละ 5.5 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 25 การติดตามผลในระยะสุดท้ายประสบความสำเร็จร้อยละ 92.9 โดยร้อยละ 74.8 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 75 ร้อยละ 18.1 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 50 ร้อยละ 7.1 มีกระดูก ≥ ร้อยละ 25 ปริมาณกระดูกภายหลังการปลูกถ่ายในระยะแรกและระยะสุดท้ายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 อายุผู้ป่วย การงอกของฟันเขี้ยว และการเคลื่อนฟันทางทันตกรรมจัดฟันมีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการปลูกถ่ายกระดูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ .05) งานวิจัยสนับสนุนการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งแนะนำว่าช่วงเวลาปลูกถ่ายกระดูกที่เหมาะสมคือ ก่อนการงอกของฟันเขี้ยวที่อยู่ชิดกับช่องโหว่en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to evaluate the quantity of bone after grafting in cleft patients and to investigate factors influencing success of the secondary bone grafting. The sample comprised 100 cleft patients (56 men, 44 women) of Craniofacial Anomaly Clinic at Dental hospital Chulalongkorn University with a mean age of 14.45±5.62 years (8.7-32.5 years). There were 62 unilateral cleft lip and palate, 21 bilateral cleft lip and palate, and 11 unilateral alveolar cleft patients. Occlusal topographic radiographs taken 3-6 months and at least 1 year after bone grafting were used to evaluate the result of bone grafting. The amount of bone was classified into 4 levels: level 1 (≥ 75 %), level 2 (≥ 50 %), level 3 (≥ 25 %), level 4 (< 25 %). The alterations of bone level between short- and long-term follow-up were analyzed by Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test The associations between factors influencing bone grafting and the availability of bone after grafting were analyzed by Chi-square test, at 95% confidence interval. The results showed that in 127 cleft sites, in the short-term follow-up the success rate was 94.5% among them, 76.4 % was level 1, 18.1 % was level 2, and the remaining 5.5 % was level 3 which was unacceptable. The long-term results showed that the success rate was 92.9 % among them, 74.8 % was level 1, 18.1% was level 2, and the remaining 7.1 % was level 3. There is no significant difference between the short- and long-term outcomes. Patient’s age, the stage of canine eruption, and orthodontic tooth movement had significant relation with the success of bone grafting. The results supported the previous studies that the appropriate timing for bone grafting is before the eruption of the canine adjacent to the cleft side.en
dc.format.extent2270141 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1478-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปากแหว่ง -- การรักษาen
dc.subjectเพดานโหว่ -- การรักษาen
dc.subjectริมฝีปาก -- ความผิดปกติ -- การรักษาen
dc.subjectเพดาปาก -- ความผิดปกติ -- การรักษาen
dc.subjectการย้ายปลูกกระดูก -- การใช้รักษาen
dc.titleการประเมินปริมาณกระดูกภายหลังการปลูกถ่ายกระดูกทุติยภูมิใน ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่en
dc.title.alternativeEvaluation of bone availability after secondary bone grafting in cleft lip and palate patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมจัดฟันes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSmorntree.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1478-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narin_je.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.