Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28177
Title: การวิเคราะห์ความหมายแบบครอบคลุมของคำสำคัญทางวัฒนธรรม “ไม่เป็นไร” “เกรงใจ” และ “ขอโทษ”ในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีอภิภาษาเชิงอรรถศาสตร์ธรรมชาติ
Other Titles: The natural semantic metalanguage approach to a study of the comprehensive meanings of the cultural keywords “maipenrai”, “krengchai” and “khotot” in Thai
Authors: ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Amara.Pr@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- ภาษา
ภาษาไทย -- แง่สังคม
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
ภาษากับวัฒนธรรม
วัจนปฏิบัติศาสตร์
ความหมาย (จิตวิทยา)
ความหมายโดยนัย
ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายตรง ความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ และความหมายทางสังคมของคำสำคัญในภาษาไทย 3 คำได้แก่ ไม่เป็นไร เกรงใจ และ ขอโทษ แล้วแสดงความหมายดังกล่าวในรูปบทวัฒนธรรม พร้อมเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง และลักษณะเด่นทางความหมายของคำสำคัญทั้ง 3 คำ และวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมไทยจากบทวัฒนธรรมที่เขียนขึ้น ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยมาจาก 2 แหล่งคือ 1) คลังข้อมูลภาษาไทยบนเวปไซต์ http://ling.arts.chula.ac.th/ThaiConc/ ของภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 2) การสอบถามผู้บอกภาษาด้วยแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ไม่เป็นไร สื่อความหมายตรงได้ 3 ความหมาย คือ ‘ไม่ได้รับผลกระทบ’ ‘ยอมรับได้’ และ ‘ไม่ต้องกังวล’ สื่อความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ได้ 4 ความหมาย คือ ปลอบใจ ปฏิเสธ ให้อภัย และตอบรับคำขอบคุณ สื่อความหมายทางสังคมได้ 2 ความหมาย คือ แปรไปตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดผู้ฟัง และความเป็นทางการของสถานการณ์การใช้ภาษา โดยพบว่าผู้พูดใช้ ไม่เป็นไร เมื่อพูดกับผู้ฟังที่สนิทสนมมากกว่าผู้ฟังที่ไม่สนิทสนมกัน และเมื่อพูดในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการมากกว่าในสถานการณ์ที่เป็นทางการ คำว่า เกรงใจ สื่อความหมายตรงได้ 3 ความหมาย คือ ‘ยำเกรง’ หรือ ‘เกรงกลัว’ ‘กลัวว่า...จะไม่พอใจ’ และ ‘กลัวว่าอาจเป็นการรบกวน’ สื่อความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ได้ 3 ความหมาย คือ ตอบรับ ปฏิเสธ และขอบคุณ สื่อความหมายทางสังคมได้ 2 ความหมาย คือ แปรไปตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดผู้ฟัง และความเป็นทางการของสถานการณ์การใช้ภาษา โดยพบว่าผู้พูดใช้ เกรงใจ เมื่อพูดกับผู้ฟังที่ไม่สนิทสนมมากกว่าผู้ฟังที่สนิทสนมกัน และเมื่อพูดในสถานการณ์ที่เป็นทางการมากกว่าในสถานการณ์ที่ไม่เเป็นทางการ คำว่า ขอโทษ สื่อความหมายตรงได้ 2 ความหมาย คือ ‘ขอให้ยกโทษให้ในสิ่งที่กระทำไปแล้ว’ และ ‘ขออย่าได้ถือโทษในสิ่งที่กำลังจะกระทำ’ สื่อความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ได้ 4 ความหมาย คือ รับผิด เกริ่นนำ เรียกความสนใจ และจบการสนทนา สื่อความหมายทางสังคมได้ 2 ความหมาย คือ แปรไปตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดผู้ฟัง และความเป็นทางการของสถานการณ์การใช้ภาษา โดยพบว่าผู้พูดใช้ ขอโทษ เมื่อพูดกับทั้งผู้ฟังที่ไม่สนิทสนมและสนิทสนมกัน และเมื่อพูดในสถานการณ์ที่เป็นทางการและในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการโดยเลือกใช้รูปแปรที่แตกต่างกัน บทวัฒนธรรมของคำว่า ไม่เป็นไร มีใจความแก่น คือ “สิ่ง นี้ ไม่ใช่ เรื่อง ใหญ่” และ ‘ฉัน ไม่ ต้องการ ให้ คุณ รู้สึก ไม่ ดี กับ สิ่ง นี้’ ต่างจากบทวัฒนธรรมของคำว่า เกรงใจ ที่มีใจความแก่นคือ “ฉัน รู้สึก ไม่ ดี ที่ คุณ ทำ หรือ จะ ทำ สิ่ง นี้ ให้ ฉัน” และ “ฉัน ไม่ ต้องการ ให้ คุณ รู้สึกไม่ ดี กับ ฉัน” ส่วนบทวัฒนธรรมของคำว่า ขอโทษ มีใจความแก่น “คุณ อาจ รู้สึก ไม่ ดี กับ ฉัน และ / เพราะ สิ่ง นี้” และ “ฉัน ไม่ ต้องการ ให้ คุณ รู้สึก ไม่ ดี” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคำทั้ง 3 คำนี้มีความหมายไปในทำนองเดียวกัน คือ ‘ผู้พูดไม่ต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกไม่ดี’ บทวัฒนธรรมทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมไทย 4 ประการ คือ 1) การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง 2) การเคารพผู้ใหญ่ 3) การไม่ต้องการรบกวนผู้อื่น และ 4) การปล่อยวาง
Other Abstract: This study aims to investigate the denotative meanings, pragmatic meanings and social meanings of three key words in Thai: Maipenrai, krengchai and khotot, formulate these meanings in terms of cultural scripts, compare and contrast the cultural scripts of the three keywords and show the characteristics of Thai culture reflected in the cultural scripts. The data used in this study were taken from two sources: 1) the Thai Concordance website of the Department of Linguistics, Chulalongkorn University, http://ling.arts.chula.ac.th/ThaiConc/ and, 2) questionnaire responses. The results reveal that maipenrai has three denotative meanings, ‘not affected’, acceptable’ and ‘do not worry’. It has four pragmatic meanings, ‘consoling’, ‘refusing’, ‘forgiving’ and ‘responding to thank you’. It has two social meanings, ‘varying according to the relationship between speakers and participants’ and ‘varying according to the formality of the situation’. The results show that the speakers use maipenrai when talking to participants that are close to them more than participants who are not familiar with them, and when talking in the informal rather than formal situations. Krengchai has three denotative meanings, ‘respect’, ‘afraid that other people would feel unsatisfied’ and ‘afraid that what happened might bother others’. The word krengchai has three pragmatic meanings, ‘accepting’, ‘refusing’ and ‘thanking’. It has two social meanings, ‘varying according to the relationship between speakers and participants’ and ‘varying according to the formality of the situation’. The results show that the speakers use krengchai when talking to participants that are not familiar with them more than participants who are close to them, and when talking in the formal rather than informal situations. Khothot has two denotative meanings, ‘I’m sorry for what I have done’ and ‘excuse me’. It has four pragmatic meanings, ‘apologizing, ‘introductory device, ‘attention-getter’, and ‘leave-taking device’. It has two social meanings, ‘varying according to the relationship between speakers and participants’ and ‘varying according to the formality of the situation’. The results show that the speakers use khothot when talking to participants that are not familiar with and close to them, and when talking in the formal and informal situations, but with the different variants. The cultural scripts of maipenrai have these core contents: “This is not a big thing” and “I don’t want you to feel bad about this”, different from those of krengchai:“I don’t feel good that you do or will do this thing for me” and “I don’t want you to feel bad about me”, and those of khothot: “You might not feel good about me and this thing or because of this thing” and “I don’t want you to feel bad”. This result shows that these three cultural keywords have a similar meaning, i.e., ‘I don’t want you to feel bad’. These cultural scripts reflect four distinctive characteristics of Thai culture: 1) avoiding conflicts, 2) respecting the elderly, 3) not desiring to inconvenience others, and 4) letting go.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28177
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1480
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1480
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thasanee_me.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.