Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28185
Title: | บทบาทของญี่ปุ่นในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในลาว |
Other Titles: | The role of Japan in economic liberalization in Laos |
Authors: | กฤติยา เพียพยัคฆ์ |
Advisors: | กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ลาว -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ลาว ลาว -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่น |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของญี่ปุ่นในการเปิดเสรีทาง เศรษฐกิจในลาว ตั้งแต่ปี 1986 ประเด็นหลักคือการศึกษาการทำงานของทุนนิยม โดยมอง ว่าเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังบทบาทของญี่ปุ่นในประเทศต่างๆ ในภูมิภาครวมถึง ประเทศลาว ซึ่งผู้เขียนจะทำการศึกษา แนวทางการศึกษานี้เป็นการท้าทายต่อทฤษฎี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวสัจนิยมและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ในการศึกษา บทบาทของทุนนิยม ประเด็นสำคัญคือการพิจารณาว่าแต่ละประเทศอยู่ในสถานะใดของ ระบบทุนนิยมโลก กรณีนี้ญี่ปุ่นอยู่ในฐานะศูนย์กลางทุนนิยมในภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่ลาว เป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ชายขอบ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงมีความสำคัญมากขึ้นหลังจากที่ญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการสร้างบูรณาการทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกดั้งเดิมของอาเซียน โดยสามารถเป็นทั้งแหล่งทรัพยากรและตลาดให้แก่ทุนนิยมญี่ปุ่น ในกรณีของลาว ญี่ปุ่น แสดงบทบาทโดยการให้ช่วยเหลือแก่ลาวทั้งแบบทวิภาคี และผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่ง เอเชีย (Asian Development Bank; ADB) เป็นการดึงลาวให้เข้าไปมีบทบาทในระบบทุนนิยม ที่ญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลาง โดยวางลาวไว้ในตำแหน่งตัวเชื่อมทางกายภาพระหว่างประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และให้เป็นแหล่งความมั่นคงทางพลังงานไม่ใช่เพียงให้แก่ประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น แต่ต่อเนื่องไปยังสมาชิกดั้งเดิมของอาเซียน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุนนิยมที่ ขับเคลื่อนโดยญี่ปุ่นทำงานได้ดีขึ้น |
Other Abstract: | This thesis analyzes the role of Japan in Laos’ economic liberalization since 1986. It studies how Japan has been motivated by capitalism and has played an active role in the Southeast Asian development since the mid 1960s. The Mekong region was the natural extension of Japanese interests after Japan was successful in integrating the original ASEAN members in the Japanese Network of production since the mid 1980s. Japan turned its special attention to the Mekong region in the early 1990s with the establishment of the Greater Mekong Sub region in 1992. The significant role of Japan is contribution of transportation network in GMS except China. Japan plays an important role in transforming Laos’ economy in giving assistance bilaterally and multilaterally through the Asian Development Bank (ADB). In the process, Japan which is the core area of the world capitalist system merged Laos into its capitalist system. Japan positions Laos as the physical link to in the Mekong region and as a source of energy security for some members of the Greater Mekong Sub-region. This is to facilitate function of the capitalist system driven by Japan. This study emphasizes the role of capitalism as a driving force behind relations among nations. It challenges International Relation theories, namely Realism and Interdependency. The theory employed here is a critical International Political Economy. The essence of this approach is to analyze the positions of each country in the world capital system, in this case; Japan is the core in Asia region while Laos is a peripheral underdeveloped country. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28185 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1484 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1484 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
krittiya_pe.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.