Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28200
Title: ผลของอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกซียูที่มีต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังช่วงเอวจากศพ
Other Titles: The effects of the C.U. interspinous device on intradiscal pressures in cadaveric lumbar spine
Authors: ชินดนัย หงสประภาส
Advisors: พิบูลย์ อิทธิระวิวงศ์
ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ortho@md.chula.ac.th
Pairat.T@Chula.ac.th
Subjects: ปวดหลัง -- การรักษา
กระดูกสันหลังส่วนเอว
กระดูกสันหลัง -- ศัลยกรรม
การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การรักษาอาการปวดหลังอันเป็นผลจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังมีหลายวิธี การผ่าตัดเชื่อมกระดูกเป็นหนึ่งในการรักษามาตรฐาน แต่ยังมีข้อเสียบางประการ ทำให้มีการคิดค้นผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่ขึ้น ซึ่งได้มีคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกแบบอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลังช่วงเอวตัวใหม่ขึ้นมาเช่นเดียวกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงต้องการทดสอบอุปกรณ์ชนิดนี้ ว่าสามารถช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังในระดับที่ใส่อุปกรณ์ชนิดนี้ รวมถึงสามารถควบคุมแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังในระดับข้างเคียง ให้ใกล้เคียงปกติได้หรือไม่ โดยรูปแบบงานวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นกระดูกสันหลังช่วงเอวข้อที่ 1 – 5 จากอาจารย์ใหญ่ 5 ราย เปรียบเทียบระหว่างสภาวะปกติ สภาวะที่กระดูกไม่มั่นคง สภาวะที่ได้รับการใส่อุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ในกระดูกสันหลังระดับ3/4 และสภาวะที่ได้รับการเชื่อมกระดูกในตำแหน่งเดียวกัน โดยมีการใช้เครื่องทดสอบออกแรงกดในท่าตรง ท่าก้ม และท่าเงย มีการวัดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังในระดับ 3/4 และระดับข้างเคียงโดยในแต่ละระดับจะวัด 3 ตำแหน่งคือหมอนรองกระดูกส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ผลการทดสอบพบว่าผลของอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่มีต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกของระดับที่ใส่อุปกรณ์สามารถลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนกลาง และส่วนหลัง ได้แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการเพิ่มแรงดันดังกล่าวในหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนหน้า อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ส่วนผลต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลังระดับใกล้เคียง เมื่อเทียบกับการเชื่อมกระดูกพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
Other Abstract: Spinal fusion remains to be the standard treatment for degenerative lumbar diseases but also has some disadvantages about loss of motion segments and adjacent syndrome. Dynamic stabilization using interspinous distractive devices becomes more popular by reducing these disadvantages. The New design of this device had been tested in this study. We conducted the experimental study in 5 cadaveric specimens using L1-L5 spines. All specimens were loaded in neutral, flexion and extension .Needle pressure sensor was used to measure intradiscal pressure at anterior annulus, nucleus pulposus, posterior annulus of the level L2/3, L3/4, L4/5. Cadaveric specimens were tested in 4 conditions (intact spine, destabilized spine , spine with new device at L3/4, spine with fusion at L3/4) respectively. By using the new interspinous device, pressure in anterior annulus was non-significantly increased. It also decreased intradiscal pressure at the L3/4 disc in the posterior annulus and nucleus in all positions but nonstatistical significant. The pressures at the adjacent discs were also not affected by this device compared with fusion group. We concluded that this new design of dynamic stabilization provide support for the adjacent level intradiscal pressure but the result for the instrumented level is still unremarkable.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2011
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28200
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1495
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1495
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chindanai_ho.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.