Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28218
Title: ฐานะของเมืองสุพรรณบุรีในประวัติศาสตร์อยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ.2231
Other Titles: The status of Muang Suphan Buri in the Ayutthaya history during 1350-1688
Authors: รัตนา หนูน้อย
Advisors: ศรีศักร วัลลิโภดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงฐานะของเมืองสุพรรณบุรีในประวัติศาสตร์ อยุธยาในระหว่าง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2231 ซึ่งเป็นระยะที่ปรากฏหลักฐานที่จะนำ มาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาและ เรียบเรียงวิทยานิพนธ์ได้ชัดเจนที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาคือ เพื่อศึกษาถึงฐานะของเมืองสุพรรณบุรีในด้านการเมือง ซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์อยุธยานับแต่ พ.ศ. 1893 เป็นต้นมา และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยวัยต่างๆ ตลอดจนผลกระทบที่ทำให้ฐานะทางการเมืองของสุพรรณบุรีเปลี่ยนแปลงไปในสมัยอยุธยา จากการศึกษาสรุปได้ว่า ฐานะของเมืองสุพรรณบุรีในประวัติศาสตร์อยุธยานั้นมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้ง โดย เริ่มจากการเป็นเมืองอิสระในระยะรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ถึงรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช สุพรรณบุรีก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาอย่างแท้จริง ในฐานะเมืองลูกหลวง แต่ก็เป็นการดำรงฐานะในระยะสั้น เพราะในรัชกาลต่อมาคือรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 นั้น เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวงแห่งใหม่ที่สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 ทรงส่งพระโอรสไปปกครองแทน ฐานะของเมืองสุพรรณบุรีก็ค่อยลดลงมา เป็นหัวเมืองในเขตราชธานี และ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง สุพรรณบุรีได้ถูกจัด เป็นหัวเมืองชั้นในหรือหัวเมืองชั้นจัตวาของอยุธยา แต่เมื่อเกิดสงครามระหว่างอยุธยากับพม่าขึ้นนับ ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา บทบาทและความสำคัญของเมืองสุพรรณบุรีที่เลือนหายไปจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏอีกครั้งในฐานะของ เรื่องที่อยู่ในเส้นทาง ยุทธศาสตร์ระหว่างอยุธยาและพม่า โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสงครามบ่อยครั้งคือช่วงรัชกาล สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนารายณ์
Other Abstract: This thesis is a study of the status of Suphan Buri during part of the Ayutthaya period, between A.D. 1350-1688, the period best served by the existence of data suitable for historical research. The objective of this thesis is to study the political status of Suphan Buri from (A.D. 1350), and to study the factors that changed the political status of Suphan Buri later on during the Ayutthaya period. From the studies made, it can be concluded that the status of Suphan Buri during the Ayutthaya period changed vertically, and downwards. Suphan Buri started as an independent city during the reign of King Ramathibodi and remained so up till the reign of King Ram Racha Thirat. In the reign of King Nakharintharathirat, Suphan Buri became integrated into the Ayutthaya Kingdom as A Huang Luk Luang but this lasted only for a short period because in the next reign, the reign of King Borom Rachathirat II, Phitsanulok was made into a new Muang Luk Luang and was governed by the King's son himself. Suphan Buri thus lost its importance and became only a city within the capital's boundary. After the King Borommatrai Lokanat had reformed the administrative system, Suphan Buri was made an inner, or fourthrank, city of Ayutthaya. But when the war between Ayutthaya and the Burmese broke out in the reign of King Maha Chakraphat, Suphan Buri, whose role and importance had much declined, assumed a significant role in Siamese history again. During the reigns of King Maha Chakraphat, King Karesuan and King Karai, attacks by the Burmese took place very often, Suphan Buri was situated on a strategic route between Ayutthaya and Burma.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28218
ISBN: 9743664081
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_no_front.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_no_ch1.pdf15.7 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_no_ch2.pdf19.79 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_no_ch3.pdf13.22 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_no_back.pdf17.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.