Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28241
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน |
Other Titles: | A development of indicators for talented youth male boxers |
Authors: | วัชรกัญจน์ หอทอง |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ พิชิต เมืองนาโพธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chalerm.C@Chula.ac.th |
Subjects: | มวยสากล นักมวย นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ Boxing Boxers (Sports) Talented students |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน (2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแบบทดสอบตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน (3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของนักกีฬามวยสากลชายเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี และเกณฑ์ปกติของนักกีฬามวยสากลชายเยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีโดยใช้แบบทดสอบตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาเอกสารเพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน (2) การสร้างเครื่องมือวิจัย (3) การศึกษาคุณภาพของเครื่องมือ และ (4) การสร้างเกณฑ์ปกติ ผลการวิจัยพบว่าตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน มี 3 ด้าน คือ (1) ความสามารถพิเศษด้านสรีรวิทยา 11 ตัวบ่งชี้ (2) ความสามารถพิเศษด้านจิตวิทยา 3 ตัวบ่งชี้ และ (3) ความสามารถพิเศษด้านทักษะกีฬามวยสากล 5 ตัวบ่งชี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบทดสอบตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน ซึ่งประกอบไปด้วย 19 รายการทดสอบสำหรับนักมวยสากลชาย โดยมีความตรงตามเนื้อหา 0.76 สำหรับการทดสอบ มีความตรงตามโครงสร้างทฤษฎีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกรายการทดสอบ และมีเกณฑ์ปกติแบบอิงกลุ่ม 2 เกณฑ์ คือ เกณฑ์ปกติของนักกีฬามวยสากลเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี และเกณฑ์ปกติของนักกีฬามวยสากลเยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีที่ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์ระดับความสามารถซึ่งเป็นผลรวมคะแนนจากการทดสอบทั้ง 3 ตัวบ่งชี้ โดยแบ่งระดับความสามารถออกเป็น 5 ระดับคือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า แบบทดสอบตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลชายระดับเยาวชน ทั้งเป็นชุดการทดสอบภาคสนาม เพื่อการประเมินความสามารถพิเศษของนักกีฬามวยสากลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความสามารถพิเศษด้านสรีรวิทยา ความสามารถพิเศษด้านจิตวิทยา และความสามารถพิเศษด้านทักษะกีฬามวยสากล นั้นเป็นเครื่องมือการวิจัยที่มีคุณภาพสูง ทั้งในด้านความตรงตามเนื้อหา ด้านความตรงตามโครงสร้างทฤษฎีที่สามารถจำแนกนักกีฬามวยสากลที่มีความสามารถพิเศษกับนักกีฬามวยสากลปกติทั่วไปได้ ด้านความเที่ยงและมีเกณฑ์ปกติคะแนนที เกณฑ์ระดับความสามารถ พร้อมทั้งคู่มือการใช้ และรายละเอียดของการทดสอบสำหรับผู้สนใจ ที่จะนำไปใช้ในการทดสอ และคัดเลือกนักกีฬามวยสากลที่มีความสามารถพิเศษ |
Other Abstract: | The purposes of this study were (1) to develop the indicators of talented youth male boxers’ characteristics; (2) to examine the efficiency of the test; and (3) to construct the norm of U-17 Thailand national youth male boxers and the U-17 general youth male boxers by using test of indicators of talented boxers’ characteristics. The research procedure comprised 4 stages, as follow: (1) to study the document for evaluate the indicator and the characteristics of talented boxers; (2) to construct the research instrument; (3) to study the quality of research instrument and (4) to construct the norms of the test. The research discovered that the characteristic indicators of talented youth male boxers were conposed of 3 components as follow: (1) 11 indicators on physiological characteristics indication, (2) 3 indicators on physiological characteristics and (3) 5 indicators on boxing skills characteristics. The research tool on this study was the test consisting of 19 items for boxer’s testing with the content validity at 0.76 (IOC) for boxers’ testing and the construct validity statistically at 0.5 in all items. The reliability of the test was also significant at 0.5 in all items. There were 2 norms of references for the U-17 Thailand national male youth boxers and the U-17 general youth male boxers that the researcher constructed by making the level of performance criteria in 5 levels: very good, good, fair, low, and very low. The research concluded that the test in the field experiment which was used for evaluating the characteristics of talented youth male boxers in 3 components (the physiological characteristics, the psychological characteristics and boxing skills characteristics for boxer) was a high quality instrument on content validity, construct validity and reliability. Norms as well as the level of performance criteria were constructed. The test manual with details was also constructed to test and to select the talented youth male boxers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28241 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1504 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1504 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watcharakan_ho.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.