Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28256
Title: การยอมรับเข้าทำงานของผู้บริหารต่อผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟู : ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Acceptance of chief executive officers to employment of rehabilitated female ex-convicts : a case study of factories of Samutprakarn Province
Authors: สิทธิภา โลจายะ
Advisors: อมร วาณิชวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Amorn.W@Chula.ac.th
Subjects: การยอมรับทางสังคม
สตรี -- การจ้างงาน
ผู้บริหารระดับสูง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 230 รายและจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 10 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการยอมรับเข้าทำงานของผู้บริหารที่มีต่อผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟู เป็นการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการยอมรับและไม่ยอมรับผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการแก้ไขฟื้นฟูเข้าทำงานและความคิดเห็นต่างๆ ที่มีผลต่อการยอมรับผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟูเข้าทำงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟูเป็นบุคคลที่ไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป มีความรู้สึกเห็นใจและเต็มใจให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษหญิงเหล่านั้น ผู้บริหารคาดว่าการกระทำผิดนั้นไม่ได้เป็นกระทำผิดโดยสันดาน ผู้พ้นโทษหญิงจึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนดีได้โดยจะไม่ก่อปัญหาให้กับหน่วยงานหรือองค์กรและสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้หากคนในสังคมเปิดโอกาสและให้การยอมรับผู้พ้นโทษหญิงโดยปราศจากการตีตราหรือประณาม โอกาสในการกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษหญิงจะมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น สังคมไทยควรให้โอกาสและให้อภัยต่อผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟูกลับคืนสู่สังคม และเข้าทำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไปเพื่อให้ผู้พ้นโทษหญิงได้รับการฟื้นฟูได้มีโอกาสแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดี สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุขและสังคมก็จะเป็นสังคมที่น่าอยู่ โดยปัญหาอาชญากรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะลดน้อยลง
Other Abstract: The purpose of this study is to explore the acceptance of chief executive officers within Samutprakarn province to employment of rehabilitated female ex-convicts. The research adopted both qualitative and quantitative methods, namely, questionnaire, in-depth interview of 10 Chief Executive Officers as well as other 230 management officers to gain needed information. The research discovered that most Chief Executive Officers saw that rehabilitated female ex-convicts did not differ from others applicants. They showed some sympathies and would like to help these female ex-convicts because these people were not “born criminals”. The executives had high hope that these ex-convicts could adjust themselves to new environments without causing any troubles. They could work with other people if the society provided them more opportunities and acceptance. The lesser labeling and blaming on these people, the lesser chances for these people to put back on trial. It is therefore Thai society should offer these people more opportunities and give them new life and hope in order for them to go back on track.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28256
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1511
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1511
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sittipa_lo.pdf19.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.