Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28282
Title: ผลของการฝึกสมาธิด้วย "การเจริญสติภาวนา อำไพ-เทคนิค" สำหรับเด็กปฐมวัย
Other Titles: The results of concentration-training by using "Ambai-Technique's meditation development" for preschool children
Authors: เรณู นุ่มอาชา
Advisors: อำไพ สุจริตกุล
พูนสุข บุณย์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการฝึกสมาธิด้วย "การ เจริญสติภาวนาอำไพ-เทคนิค" ต่อพฤติกรรมด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาตัวอย่างประชากรประกอบด้วย นักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ จำนวน 30 คน ครูประจำชั้นของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่ง เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ใช้เวลาทดลองฝึก 5 สัปดาห์ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองดังนี้คือ นำแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนไปให้ครูประจำชั้นประเมิน พฤติกรรมก่อนและหลังการทดลอง นำแผนการสอนการฝึกสมาธิด้วย "การเจริญสติภาวนา อำไพ-เทคนิค" ไปสอนนักเรียน จากนั้นวัดการมีสมาธิของเด็ก โดยใช้แบบวัดการมีสมาธิสำหรับเด็ก ของอำไพ เทคนิค" สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อเด็กปฐมวัย หลังจากฝึกสมาธิด้วย "การเจริญสติภาวนา อำไพ-เทคนิค" แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับกาวฝึกสมาธิด้วย "การเจริญสติภาวนาอำไพ-เทคนิค" มีสมาธิจริงและคะแนนค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the results of concentration training by using "Ambai-Technique's meditation development" for preschool children as physical, emotional, social behaviors and intelligence. The 30 second year Preschool children of Phibulves School, their class room teacher (1) and their parents (30) were selected as the representative sample. The stages of concentration training were as follows The classroom teacher pre and post-tested the preschool children's behaviors. The researcher taught them with "Ambai-Technique's meditation development" for five weeks and measured the children's concentration with Ambai Tecnnique's Concentration Evaluation. After the processes, their parent's satisfaction were evaluated. The data were analyzed by mean and standard deviation. The finding revealed that after training the children concentrate. The post-test mean and standard deviation of their behaviors were higher than pre-test at the significant level of .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28282
ISBN: 9745776584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Renu_nu_front.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_ch1.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_ch2.pdf24.72 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_ch3.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_ch4.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_ch5.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Renu_nu_back.pdf35.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.