Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28335
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ | - |
dc.contributor.advisor | นววรรณ พันธุเมธา | - |
dc.contributor.author | เริ่น อีสง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-01-07T05:53:21Z | - |
dc.date.available | 2013-01-07T05:53:21Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745676632 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28335 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบภาคแสดงในประโยคความเดียวของภาษาจีนและภาษาไทยว่า มีส่วนประกอบและลักษณะการปรากฏเป็นอย่างไร โดยแยกศึกษาเป็น 4 หัวข้อดังนี้ 1. ภาคแสดงที่คำกริยาไม่ปรากฏ 2. ภาคแสดงที่มีคำกริยาปรากฏแต่ไม่มีคำนามปรากฏ 3. ภาคแสดงที่มีคำกริยา และคำนามปรากฏร่วมกัน 4. ภาคแสดงที่มีคำขยายคำกริยา และคำขยายคำนามที่เป็นกรรม ภาคแสดงที่คำกริยาไม่ปรากฏที่มีส่วนประกอบเหมือนกันในทั้งสองภาษา คือภาคแสดงที่ประกอบด้วยคำนาม ภาคแสดงที่ประกอบด้วยคำสรรพนาม ภาคแสดงที่ประกอบด้วยคำบอกจำนวน ซึ่งมักจะมีคำลักษณนามปรากฏร่วมด้วย และภาคแสดงที่ประกอบด้วยคำคุณศัพท์ นอกจากนี้ในภาษาจีนยังมีภาคแสดงที่มีคำกริยาที่ไม่ปรากฏอีก 2 แบบ คือภาคแสดงที่ประกอบด้วยคำลักษณนามและคำเลียนเสียง คำขยายในภาคแสดงดังกล่าวของทั้งสองภาษามี 4 ชนิดเหมือนกัน คือ คำคุณศัพท์ คำบอกจำนวน ซึ่งมักจะมีคำลักษณนามปรากฏร่วมด้วย คำนามและคำวิเศษณ์ คำขยายชนิดต่างๆเหล่านี้ ในภาษาจีนมีตำแหน่งอยู่หน้าคำที่ถูกขยายเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีคำบางชนิดที่มีตำแหน่งอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ในภาษาไทยคำขยาย มีตำแหน่งอยู่หลังคำที่ถูกขยายเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีคำบางชนิดที่มีตำแหน่งอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย นอกจากนี้ ในทั้งสองภาษามีคำบางชนิดที่บางคำมีตำแหน่งอยู่หน้า บางคำมีตำแหน่งอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ภาคแสดงที่มีคำกริยาปรากฏแต่ไม่มีคำนามปรากฏ ในทั้งสองภาษามีส่วนประกอบเป็นคำกริยา คำขยายคำกริยามี 5 ชนิดเหมือนกันทั้งภาษาจีนและภาษาไทย คือคำวิเศษณ์ คำกริยา คำคุณศัพท์ คำเลียนเสียง และคำบอกจำนวน ซึ่งมักจะมีคำลักษณนามปรากฏร่วมด้วย คำขยายชนิดต่างๆเหล่านี้ บางชนิดมีตำแหน่งอยู่หน้า บางชนิดมีตำแหน่งอยู่หลังคำที่ถูกขยายเหมือนกันทั้งสองภาษา ภาคแสดงที่มีคำกริยาและคำนามปรากฏร่วมกัน คำนามนั้นอาจเป็นกรรมของคำกริยาหรืออาจจะทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือขยายคำนามที่เป็นกรรมอีกทีหนึ่ง คำนามที่เป็นกรรมมีตำแหน่งอยู่หลังคำกริยาทั้งภาษาจีนและภาษาไทย ส่วนคำนามขยายคำกริยา ซึ่งมักจะมีคำบุพบทนำหน้า ในภาษาจีนมีตำแหน่งอยู่หน้าคำกริยา แต่ในภาษาไทยมีตำแหน่งอยู่หลังคำกริยา คำนามขยายคำนามที่เป็นกรรม ในภาษาจีนมีตำแหน่งอยู่หน้าคำนามที่ถูกขยาย แต่ในภาษาไทยมีตำแหน่งอยู่หลังคำนามที่ถูกขยาย ภาคแสดงที่มีคำขยายคำกริยาและคำขยายคำนามที่เป็นกรรม คำขยายคำกริยาในทั้งสองภาษามี 6 ชนิดเหมือนกัน คือ คำวิเศษณ์ คำกริยา คำคุณศัพท์ คำเลียนเสียง คำบอกจำนวน ซึ่งมักจะมีคำลักษณนามปรากฏร่วมด้วย และคำนามซึ่งมักจะมีคำบุพบทนำหน้า คำขยายเหล่านี้ แต่ละชนิดอาจจะขยายคำกริยาตามลำพังหรือร่วมกันขยายคำกริยาก็ได้ คำขยายคำนามที่เป็นกรรม ในทั้งสองภาษามี 4 ชนิดเหมือนกัน คือ คำนาม คำสรรพนาม คำบอกจำนวน ซึ่งมักจะมีคำลักษณนามปรากฏร่วมด้วย และคำคุณศัพท์นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำนิยมวิเศษณ์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ขยายคำนามที่เป็นกรรมได้ คำขยายเหล่านี้ แต่ละชนิดอาจจะขยายคำนามตามลำพัง หรือร่วมกันขยายคำนามก็ได้ ในภาษาจีนคำขยายคำนามที่เป็นกรรม มีตำแหน่งอยู่หน้าคำนาม แต่ในภาษาไทยมีตำแหน่งอยู่หลังคำนามที่เป็นกรรม | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis is a comparative study of predicates of simple sentences in Chinese and Thai in terms of their components and patters. The research is organized into four parts: 1. The predicate which do not have a verb, 2. The predicates which have only a verb, 3. The predicates which have both a verb and a noun , 4. The predicates which have a verb modifier and an object-noun modifier. The predicates which do not have a verb and consist of similar components in both languages are 1. The predicates which consist of a noun, 2. The predicates which consist of a pronoun, 3. The predicates which consist of a numeral, mostly co-occurring with a classifier , 4. The predicates which consist of an adjective. Chinese, however, has two additional kinds of components; one is the predicate which consists of a classifier and the other is the predicate which consists of an interjection. The predicates of both languages mentioned above have four similar types of modifiers : adjective, numeral mostly co-occurring with a classifier, noun, and adverb. most of these modifiers in Chinese predce the word they modify , but there are some modifiers that follow the word they modify, and some also precede the word they modify. The predicates which have a verb but no nouns in both their languages have a verb as their main component. All five types of the verb modifiers are the same, namely adverb, verb, adjective, interjection, and numeral mostly with a classifier. Some of these modifiers are in front and some are behind the word modified in both languages. In the predicates which have both a verb and a noun, the noun may be the object of the verb, or may modify the verb mostly preceded by a preposition, or modify the other noun which is the object. The noun which is the object follows the verb in both languages; But the noun which modifies the verb in Chinese precedes the verb while in Thai it is the other way round. As for the noun which modifies the object-noun, in Chinese it precedes the noun it modifies but in Thai, it follows the modifies noun. The six types of verb modifiers in the predicates which have a verb modifier and an object-noun modifier in both languages are the same, namely adverb, verb, adjective, interjection, numeral mostly with a classifier and noun preceded mostly by a preposition. Each of these modifiers may modify the verb alone or join together to modify the verb. Both languages have four similar types of object-noun modifiers, i.e. noun, pronoun, numeral mostly with a classifier, and adjective. In addition, the Thai language has also the determinative adverb that can be used as an object-modifier. These modifiers may modify the noun alone or join together to modify a noun. In Chinese, the object-noun modifier precedes the noun ; but in Thai, it follows the object-noun. | - |
dc.format.extent | 13829940 bytes | - |
dc.format.extent | 9713621 bytes | - |
dc.format.extent | 15527587 bytes | - |
dc.format.extent | 7050503 bytes | - |
dc.format.extent | 11514055 bytes | - |
dc.format.extent | 38156683 bytes | - |
dc.format.extent | 7708277 bytes | - |
dc.format.extent | 2018971 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ภาคแสดงในประโยคความเดียวของภาษาจีน และภาษาไทย : การศึกษาเปรียบเทียบ | en |
dc.title.alternative | The predicate in Chinese and Thai simpls sentences : a comparative study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ren_yi_front.pdf | 13.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch1.pdf | 9.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch2.pdf | 15.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch3.pdf | 6.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch4.pdf | 11.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch5.pdf | 37.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_ch6.pdf | 7.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ren_yi_back.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.