Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28339
Title: การศึกษาเกี่ยวกับไฟถนนบนผิวถนนคอนกรีตและแอสฟัลท์
Other Titles: A study of road lighting on concrete and asphaltic road surfaces
Authors: เรืองยศ ตั้งชีวินศิริกุล
Advisors: ประโมทย์ อุณห์ไวทยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบติดตั้งไฟถนนในประเทศไทยปัจจุบันนี้ ได้จากการคำนวณค่าความสว่างบนผิวถนน แต่ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มใช้การคำนวณค่าความส่องสว่างบนผิวถนน ดังนั้นวิทยานิพนธ์เรื่องนี้จึงได้ศึกษาการติดตั้งไฟถนนโดยคิดจากทั้งความสว่างบนผิวถนนและความส่องสว่างของผิวถนน ซึ่งเน้นศึกษากับผิวถนนที่ เป็นคอนกรีตและแอสฟัลท์ ทั้งนี้เพราะเป็นผิวถนนที่ใช้งานเป็นส่วนมาก กับถนนสายหลักๆ ในประเทศไทย ในการศึกษาได้เลือกตัวอย่างการติดตั้งไฟถนนที่เป็นทางตรงและผิวถนนแห้ง 4 แห่งคือ ถนนรัชดาภิเษกช่วงที่มีผิวถนนเป็นคอนกรีตและช่วงที่มีผิวถนนเป็นแอสฟัลท์ ทางด่วนดินแดง-บางนา ช่วงถนนเพชรบุรีตัดใหม่ถึงท่าเรือ ซึ่งมีผิวถนนเป็นแอสฟัลท์ และแห่งสุดทายคือถนนมุขมนตรี อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีผิวถนนเป็นแอสฟัลท์ เช่นกันการคำนวณค่าความสว่างและความส่องสว่างแต่ละจุดบนผิวถนนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าช่วย จากนั้นได้ใช้ลูมิแนนซ์มิเตอร์วัดค่าความส่องสว่างในสนามและถ่ายภาพสไสด์สีเพื่อวัดเทียบหาค่าความส่องสว่างจุดอื่นๆ ตามต้องการ จากการคำนวณจะได้ว่าเมื่อมีการติดตั้งไฟถนนแบบเดียวกัน และสภาพถนนเหมือนกันต่างกัน เฉพาะที่มีผิวถนน เป็นคอนกรีตและแอสฟัลท์เท่านั้น ดังที่ถนนรัชดาภิเษก ผลค่าความสว่างจะมีค่าเท่ากันและอยู่ในพิกัดมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมไฟฟ้า แสงสว่าง (IES) แต่ผลค่าความส่องสว่างและคุณลักษณะความส่องสว่างของผิวถนนคอนกรีตจะอยู่ ในพิกัดตามคำแนะนำของคณะกรรมการวิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่าง (CIE) ส่วนผิวถนนแอสฟัลท์จะได้ ค่าความสม่ำเสมอทั้งหมดความสม่ำเสมอตามแนวยาวของถนนและค่า discomfort glare ต่ำกว่าพิกัดเล็กน้อย ส่วนทางด่วนดินแดง-บางนา จะมีเฉพาะค่า discomfort glare เท่านั้นที่ต่ำกว่าพิกัด เล็กน้อย และสำหรับที่ถนนมุขมนตรีก็จะได้ว่าค่าความสม่ำเสมอทั้งหมด disability glare และ discomfort glare ต่ำกว่าพิกัด เล็กน้อย จากการวัดค่าความส่องสว่างของผิวถนนตัวอย่างทั้ง 4 แห่ง เมื่อถนนผ่านการใช้งาน แล้วระยะหนึ่ง จะได้ผลว่าคุณลักษณะความส่องสว่างของผิวถนนคอนกรีตยังคงอยู่ในพิกัด ส่วนผิวถนนแอสฟัลห์ทั้งหมดจะมีค่าความสม่ำเสมอลดลงอย่างมาก แต่ค่า disability glare และ discomfort glare จะดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นผลให้การสังเกตเห็นวัตถุหรือคนเดินเท้าขณะขับขี่ยวดยานไปบนถนนยังคงเป็นไปได้ด้วยดี และหากต้องการปรับปรุงให้ค่าความสม่ำเสมอทั้งหมด ของความส่องสว่างดีขึ้น ก็อาจใช้หินละเอียดโรยบนผิวหน้าของถนนแอสฟัลท์ก็ได้ในตอนสุดท้าย ได้คำนวณวิเคราะห์ผลว่า ถ้าต้องการคำนวณออกแบบไฟถนนทั้ง 4 แห่ง โดยคิดจากค่าความส่องสว่างแล้ว การติดตั้งควรจะเป็นอย่างไร
Other Abstract: The design of street lights in Thailand, at the present time, uses the illuminance method, but other countries use the luminance 1984 of the road surface. This thesis is a study of road lighting installations by considering both the illuminance and the luminance value. The emphasis is put on concrete and asphalt surfaces since they are widely used on the main roads of Thailand. Four sections of dry straight roads were chosen as samples for the study. They are: two stretches of Ratchadapisek Road (at both its concrete and asphalt sections); an asphalt section of Din Dang- Bang Na Express Way from New Petchaburi Road to the Sea Port; and an asphalt section of Mukamontri Road in Nakornrajasima Province. The calculation of illuminance and luminance was made by using a computer. For field measurements, a luminance meter was used and colour slides were taken. The studies show that the same design of street lights on roads in the same condition but with different surfaces (as of the cencrete and asphalt sections of Rajadapisek Road) have the same illuminance value and this value is in accordance with the limits of IES standard. However, although the luminance values and quality characteristics of luminance on the cencrete surfaces are within the limits of CIE recommendation, the asphalt surfaces show an overall uniformity, longitudinal uniformity and discomfort glare which are only a little bit lower than the recommended levels. For the Din Dang-Bang Na Express Way only the discomfort glare is a little bit lower and at the Mukamontri Road, the overall uniformity, disability glare and discomfort glare are a little bit lower than the recommendation. After the sample roads have been used for a certain period of time, the luminance of the concrete surface is still within the limit. However, the overall uniformity of the asphalt surface becomes much lower, while the disability glare as well as discomfort glare are much better. This yields benefits for drivers. To improve the overall uniformity values, pebbles can be used on the asphalt surfaces. This thesis also concludes how the design of street lights on the four sample roads should be, if the calculations of luminance values are taken into consideration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28339
ISBN: 9745638943
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruangyot_ta_front.pdf10.38 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch1.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch2.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch3.pdf10.81 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch4.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch5.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch6.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch7.pdf23.24 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_ch8.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Ruangyot_ta_back.pdf21.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.