Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28362
Title: | ความเป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดบริการสาธารณสุข |
Other Titles: | Equity in budget allocation for health services |
Authors: | ลินดา เหล่ารัตนใส |
Advisors: | แกมทอง อินทรัตน์ ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | กระทรวงสาธารณสุข -- งบประมาณ งบประมาณ การบริหารสาธารณสุข บริการทางการแพทย์ เศรษฐศาสตร์การแพทย์ |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การสร้างแบบจำลองอย่างเป็นธรรมในการจัดสรร งบประมาณการจัดบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ในที่นี้ความเป็นธรรมหมายถึง ความเท่าเทียมกันของทรัพยากรนำเข้าในกลุ่มที่มีความต้องการคล้ายกัน โดยศึกษาเฉพาะงบประมาณดำเนินการ (รวมงบหมวดเงินเดือนค่าจ้าง) ที่จัดสรรสู่จังหวัด ปีงบประมาณ 2535 ของสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ของปีงบประมาณ 2533 แบบภาคตัดขวาง และใช้วิธีวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนา และวิธีสมการถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้อัตราส่วนการตายมาตรฐาน เป็นตัวชี้วัดความจำเป็นทางสุขภาพของ ประชาชนในแต่ละจังหวัด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในแบบจำลองการคัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ และการศึกษา ครั้งนี้ได้เสนอผลการวิเคราะห์เป็น 3 กรณี ต่อ กรณีที่ 1 เป็นการวิเคราะห์งบประมาณในส่วนของ งบดำเนินการของงานบริการสาธารณสุขระดับตำบล อำเภอและจังหวัด กรณีที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ งบประมาณในส่วนของงบดำเนินการของงานบริการสาธารณสุขระดับตำบล อำเภอ จังหวัด รวมกับงบหมวด สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ และงบเงินอุดหนุนของกองอนามัยครอบครัว กองโรคติดต่อทั่วไปและกรณี 3 เป็นการวิเคราะห์งบประมาณในส่วนของงบดำเนินการของงานบริการสาธารณ์สุขระดับตำบลอำเภอ จังหวัด โดยได้รวมงบหมวดเงินเดือนค่าจ้างของงานบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ และจังหวัดด้วย และรวมทั้งงบหมวดสังเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ และงบเงินอุดหนุนของกองอนามัย ครอบครัว กองโรคติดต่อทั่วไป ผลการวิเคราะห์ในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 พบว่า คำนวณผลผลิต (ได้แก่ จำนวนวันผู้ป่วยจำนวนครั้งผู้ป่วยนอก) จำนวนประชากรที่ปรับด้วยอัตราส่วนการตายมาตรฐานและระดับรายได้เฉลี่ยรายจังหวัด เป็นปัจจัยที่มีบทบาทต่อการจัดสรรงบประมาณ โดยในกรณีที่ 3 นั้น จำนวนเตียง จะเป็นปัจจัยที่มีบทบาทต่อการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด ส่วนปัจจัยอื่นๆ นั้น เหมือนกับกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 เนื่องจากปัจจัยที่มีบทบาทต่อการจัดสรรงบประมาณที่กำหนดในแบบจำลอง ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยทางด้านอุปทาน ซึ่งเป็นปัจจัยกับที่ได้กำหนดใช้อยู่ในการจัดสรรงบประมาณปัจจุบัน ยกเว้นอัตราส่วนการตายมาตรฐานเพียงปัจจัยเดียว ที่เป็นปัจจัยทางด้านอุปสงค์ ที่กำหนดเพิ่มขึ้นในแบบจำลองนี้ ดังนั้นในการวิเคราะห์เปรียบเทียบงบประมาณที่จัดสรรโดยการประมาณการจากแบบจำลองกับงบประมาณการจัดสรรจริงแม้ว่าในหลายจังหวัดจะมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนงบประมาณที่จัดสรรลงสู่จังหวัด และงบประมาณต่อหัวรายจังหวัด แต่เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณต่อหัวรายจังหวัด กับค่าเฉลี่ยงบประมาณต่อหัวของประเทศพบว่าแนวโน้มในการกระจายการจัดสรรไปในทิศทางเดียวกันทั้งการกัดสรรจริงและการจัดสรรจากแบบ จำลอง |
Other Abstract: | The purpose of this research is to suggest the resource allocation model for achieving equity of health at provincial level. The equity is defined as an equality of input for equal need, by studying only recurrent budget of fiscal year 1992 of health service facilities under the responsible of the Public Health Ministry. This research uses secondary data of fiscal year 1990 by analysing both descriptive method and stepwised multiple regression equation method. This research uses standardized mortality ratio as an indicator of health need of people in each province. The results of the study show three types of budgets. The first is the model to allocate nonlabour recurrent budget for health service facilities at tumbol, district and provincial level. The second model is for nonlabour recurrent budget, including the welfare budget for low-income people and the aged, plus the fund form Family Health Division and General Communicable Disease Division. And the third model is for allocating recurrent budget of health service facilities at tumbol, district and provincial level, including salaries of health personnel and the welfare budget for the low-income and the aged plus the fund form Family Health Division and General Communicable Disease Division. The first and the second models show that outputs (lengths of stay, number of out-patients), the population adjusted by standardized mortality ratio, and the average income of each province are factors playing vital roles for the budget allocation. In the third case, the most significant factor is the number of beds, the other factors play vital role in the same level as the first and the second case. Because the factors playing vital roles in the budget allocation, are the same as the existing budget allocation, only standardized mortality ratio is introduced as a factor expressing demand. When comparing the results from the models and the existing budget allocation, there are discrepancies both in amount of budget allocation to the provinces and budget per head in a certain number of provinces. But comparing the budget per head to each province as against the average per capita budget, if confirms that the directions of differences are consistent. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28362 |
ISBN: | 9746312138 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Linda_la_front.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_ch1.pdf | 5.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_ch2.pdf | 7.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_ch3.pdf | 9.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_ch4.pdf | 30.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_ch5.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Linda_la_back.pdf | 14.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.