Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28373
Title: การศึกษาการหมุนเวียนของน้ำภายในร่างกาย จากการจัดการสภาวะแวดล้อมและการจัดการลดภาวะเครียดจากความร้อนที่มีผลต่อผลผลิตน้ำนมในโคนมลูกผสมในประเทศไทย : รายงาน
Other Titles: Studies of body water metabolism in relation to management of ambient temperature and methods to reduce the effect of heat stress on milk production in crossbred dairy cattle in Thailand
โครงการวิจัยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำโครงการวิจัยพัฒนาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์นม
รายงานการศึกษาการหมุนเวียนของน้ำภายในร่างกาย จากการจัดการสภาวะแวดล้อมและการจัดการลดภาวะเครียดจากความร้อนที่มีผลต่อผลผลิตน้ำนมในโคนมลูกผสมในประเทศไทย ในโครงการวิจัยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำโครงการวิจัยพัฒนาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์นม ประจำปีงบประมาณ 2548
Authors: ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร
สมชาย จันทร์ผ่องแสง
Email: Narongsak.C@Chula.ac.th
Somchai.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: น้ำนม -- การผลิต
โคนม -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของเหลวภายในร่างกายโคนมสัมพันธ์กับการสร้างน้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม การใช้สารอาหารหลักจากพลาสม่าเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบน้ำนมโดยต่อมน้ำนมในโคนมที่มีการจัดการสภาวะแวดล้อมในการเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดที่มีการจัดการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยแบ่งกลุ่มโคนมลูกผสมที่มีสายพันธุ์ Holstein Friesian 87.5% ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจานวนสัตว์ 6 ตัวจะถูกเลี้ยงในโรงเรือนธรรมดา กลุ่มที่สองจานวนสัตว์ 6 ตัวจะถูกเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนด้วยวิธีการระเหยของน้ำ (Evaporative cooling system) กลุ่มสัตว์ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนทั้ง 2 แบบจะให้กินอาหารผสมTMRตลอดระยะการวิจัยในระยะต้น(Early Lactation) ระยะกลาง(Mid Lactation) และระยะท้าย (Late Lactation) ของการให้นม จากผลของการศึกษา ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิแวดล้อมภายในโรงเรือนเปิดอุณหภูมิกระเปราะแห้ง (Dry bulb temperature)33ºซ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) 61% และโรงเรือนปิดอุณหภูมิกระเปราะแห้งมีค่าเฉลี่ย 28ºซ ความชื้นสัมพัทธ์ 84% การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ ค่าTHIของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะมีค่าสูงกว่าของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด จะกินอาหารแห้งต่อวันมากกว่ากลุ่มโคที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด อัตราการกินน้ำต่อวันในกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะเพิ่มมากกว่ากลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด (P<0.05)ทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้าย ของการให้นม ค่าน้ำหนักตัวระหว่างกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดและกลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด มีค่าไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยของปริมาตรเลือด(blood volume) และปริมาตรพลาสม่า (plasma volume) ต่อตัวสัตว์ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยต่อน้ำหนักตัวในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นและค่าออสโมลาลิตี้ในพล่าสมาระหว่างโคนมทั้ง2กลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ปริมาตรของน้ำทั้งหมดภายในร่างกาย(total body water) ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นมแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ (Extra cellular fluid) ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลางของการให้นม(P<0.01) และระยะท้ายของการให้นม แต่ค่าเฉลี่ยเฉลี่ยของปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ ต่อ 100 กิโลกรัมน้ำหนักตัวระหว่างโคนมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม ส่วนปริมาตรของเหลวภายในเซลล์ (Intracellular fluid)โดยค่าเฉลี่ยต่อตัวสัตว์หรือต่อ 100 กิโลกรัมของกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีแนวโน้มค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม แต่ค่า ความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การเลี้ยงโคนมภายในโรงเรือนปิดหรือภายในโรงเรือนเปิด จะไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นในพลาสม่าของโซเดียมไอออน (Na+), โพแทสเซียมไอออน (K+) และคลอไรด์ไอออน(Cl-)ทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม อัตราการหลั่งน้ำนมในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดจะมากกว่าประมาณ 45% เมื่อเทียบกับกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลางของการให้นม แต่ในระยะท้ายของการให้นม อัตราการหลั่งน้ำนม จะลดลงจากระยะกลาง ทั้ง2 กลุ่ม ส่วนประกอบน้ำนมเกี่ยวกับความเข้มข้นของไขมันนม ความเข้มข้นของโปรตีนในน้ำนม 3 และความเข้มข้นของแลคโตสในน้ำนมของกลุ่มโคนมทั้ง 2 กลุ่ม ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดและที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะมีค่าไม่แตกต่างกันทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม เปอร์เซ็นต์ของแข็งทั้งหมดในน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนมมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงของกลุ่มโคนมทั้ง 2กลุ่ม ในระยะกลางของการให้นม ไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของ acetate ในเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดง และ ดา(A-V) และสัดส่วนการใช้ acetate โดยต่อมน้ำนมไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม แต่ในระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของ acetate ในเลือดแดงยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่เทียบกับระยะกลางของการให้นม ค่าความแตกต่างระหว่างระหว่างความเข้มข้น (A-V) และสัดส่วนการใช้ acetate โดยต่อมน้ำนม ในระยะท้ายของการให้นมในกลุ่มโคนมที่ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด จะมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด ระดับความเข้มข้นของ ß-hydroxybutyrateในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด มีค่าต่ากว่ากลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดและสัดส่วนการใช้ ß-hydroxybutyrate โดยต่อมน้ำนมของโคนมทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าไม่แตกต่างกันทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของกลูโคสในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ไม่พบความแตกต่าง ระหว่างโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของ triacylglycerolในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V) และสัดส่วนการใช้ triacylglycerolโดยต่อมน้ำนมในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดและโรงเรือนเปิดไม่พบความแตกต่าง ระหว่างโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม ในระยะกลางของการให้นม แต่ระยะท้ายการให้นมระดับความเข้มข้นของ triacylglycerolในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดจะมีค่าต่ากว่าโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน Triiodotyronine (T3),และ Insulin like growth factor-I ของโคนมที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิดและโรงเรือนปิดไม่พบความแตกต่างทั้งในระยะกลาง และระยะท้าย ของการให้นม ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน Cortisolและ Thyroxine (T4) มีค่าเฉลี่ยสูงในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดมากกว่าในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการเลี้ยงโคนมลูกผสม Holstein Friesian ภายในโรงเรือนปิด มีการตอบสนองของร่างกายต่อสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไปจะมีผลเพิ่มปริมาณการกินได้ ทาให้มีการเพิ่มผลผลิตน้ำนมอย่างชัดเจน แต่ไม่มีผลต่อองค์ประกอบของน้ำนม การตอบสนองของร่างกาย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ ปริมาตรของเลือด ปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ (Extra cellular fluid)ในการนำสารอาหารสู่ต่อมน้ำนม การลดการขับหลั่งน้ำนมในระยะท้ายของการให้นม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในต่อมน้ำนม
Other Abstract: The aim of this study was to determine how evaporative cooling modifies body function concerning water metabolism and other variables relevant to milk synthesis of crossbred cattle. The study was conducted on 87.5% crossbred Holstein cows which were divided into two groups. Cows in the first group were housed in open-sided barn with a tiled roof as the non-cooled animals and cows in the second group were housed in the close-sided barn under an evaporative cooling system as cooled animals. Cows in each group were fed twice daily in the form of total mixed ration (TMR) throughout stages of lactation (early, mid and late lactation). The mean average of the maximum ambient temperatures and relative humidity for normal shade were 33ºC and 61% and for evaporative cooling barn were 28ºC and 84%, respectively. Rectal temperatures, respiration rates and THI of non-cooled cows were higher (P < 0.05) than those of the cooled cows. The DMI of cooled cows were higher than those of non-cooled cows while the water intakes were lower (P<0.05) in the cooled cows than those of non-cooled cows. The mean absolute values of plasma volume, blood volume and extracellular fluid of cooled cows were significant higher (P<0.05) than those of non-cooled cows in different stages of lactation. Total body water in the evaporative cooling cows tended to be higher than those in non-cooled cows throughout periods of lactation. The packed cell volume, plasma osmolarity and the concentrations of plasma sodium, potassium, and chloride were not different between cooled cows and non-cooled cows. The milk yields of cooled cows were higher than those of non-cooled cows by average 34- 45% throughout periods of lactation. The milk yield of animals in both groups declined as lactation advances to late lactation. No significant changes in the concentration of milk fat, milk protein and lactose between groups at different stages of lactation. The mean arterial plasma concentrations, the arteriovenous concentration differences (A-V differences) and extraction ratio across the mammary gland for acetate, glucose triglyceride of the evaporative cooling cows were not significant different as compared with those of non-cooled cows in different periods of lactation. The mean arterial plasma concentrations for -hydroxybutyrate and the arteriovenous differences (A-V differences) in the evaporative cooling cows were lower than those of non-cooled cows. Hormonal levels of plasma triiodotyronine (T3) and Insulin like growth factor-I of normal shaded animals and the evaporative cooling animals were no significant different, while cortisol and thyroxine(T4) levels were lower in in the evaporative cooling cows than those of non-cooled cows. The results in this study suggested that adaptive response to increase in milk yield by the effect of evaporative cooling would occur, in part, through the mechanism causing preferential increased in TBW, ECW and blood volume, which partitions the distribution of nutrients to the mammary gland for milk synthesis. The decline in milk yields in spite of higher body fluids during advanced lactation of cooled cows would be attributed to a local change within the mammary gland.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28373
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongsak_chai 2.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.