Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2838
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเก็จวลี พฤกษาทร-
dc.contributor.authorวรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-26T05:35:58Z-
dc.date.available2006-09-26T05:35:58Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741701233-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2838-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractตะกอนน้ำเสียที่ได้จากกระบวนการบำบัดโดยวิธีการตกตะกอนทางเคมี (Chemical Precipitation) นั้น โดยทั่วไปมักจะถูกนำไปบำบัดต่อด้วยกระบวนการฝังกลบ (Landfill) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย แต่มีข้อจำกัดหลายประการ อีกทั้งยังเป็นการสูญเสียสารบางชนิดที่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น โลหะหนักต่างๆ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาการละลายสังกะสีออกจากตะกอนด้วยกรด (Acid Leaching) เพื่อง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆต่อไป กรดที่ใช้ คือ กรดซัลฟูริก และตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ค่าความเป็นกรด - เบส (pH) ของกรด, ปริมาณตะกอนเริ่มต้นหรือร้อยละของแข็ง (%Solid), อัตราการกวน และอุณหภูมิของระบบ ในการศึกษาแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดลองกับตะกอนสังเคราะห์และตะกอนจริงจากโรงงานอุตสาหกรรม จากผลการศึกษากับตะกอนสังเคราะห์พบว่า เมื่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่มขึ้น โลหะสังกะสีจะละลายได้น้อยลง และสังกะสีจะละลายได้ทั้งหมด ถ้าค่าความเป็นกรด- เบส อยู่ในช่วง 1 2 โดยอันดับของปฏิกิริยาการละลายเป็นแบบปฏิกิริยาเทียมอันดับที่ 1 (Pseudo-first order reaction) นอกจากนี้พบว่า ถ้าเพิ่มปริมาณตะกอนแห้งของ Zn(OH)2 เริ่มต้นหรือร้อยละของแข็งให้มากขึ้น สังกะสีจะละลายได้มากขึ้นและมีค่าสูงสุดเมื่อร้อยละของแข็งเท่ากับ 1.4% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร อุณหภูมิมีผลต่อการละลายของสังกะสีไม่มากนัก โดยปฏิกิริยาการละลายเป็นแบบดูดความร้อน (Endothermic Reaction) อัตราการกวนในช่วงที่ศึกษาไม่มีผลต่ออัตราเร็วของการละลาย สำหรับตะกอนน้ำเสียจริงจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีโลหะหนักปนเปื้อนในตะกอนอยู่หลายชนิด พบว่า ให้ผลไปในทิศทางเดียวกับตะกอนสังเคราะห์ แต่จะแตกต่างกันที่สังกะสีละลายได้น้อยกว่า โดยค่าการละลายจะสูงสุดที่ 25 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาทางด้านจลนพลศาสตร์ของการละลาย พบว่า สำหรับตะกอนสังเคราะห์ กลไกการเกิดปฏิกิริยาถูกควบคุมด้วยขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาเพียงขั้นตอนเดียว ส่วนตะกอนจากโรงงานอุตสาหกรรม จะถูกควบคุมด้วยสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาและขั้นตอนการแพร่en
dc.description.abstractalternativeIn general, the industrial wastewater treatment sludge produced by chemical precipitation process are disposed by landfill because of its easiness. However, this process have many limits and the lost of some substances which can be reused. For this reason, the study about zinc dissolution from sludge by acid leaching, is interested. Sulphuric acid is used in this research. The effect of acid pH, an initial amount of sludge or % solid, a stirring rate and temperature on zinc dissolution is investigated. The experiment is divided into two parts which are a test of the synthetic sludge and the industrial sludge. From a result of the artificial sludge, it shows that zinc solubility varies against with pH and zinc can be completely dissolved when pH is in a range of 1 2. In addition, its reaction is pseudo first order reaction. A maximum solubility is reached when % solid is 1.4 % weight by volume. Furthermore, it reveals that the change in temperature slightly affects to zinc dissolution and this is endothermicreaction. On the stirring rate aspect, it is found that the stirring speed is no effect on zinc dissolution. The test of the authentic sludge shows that the tendency of zinc dissolution is likely to synthetic sludge but an amount of dissolved zinc is less than the other. At the equilibrium, zinc solubility is found 25 % only. The kinetic study indicates that the dissolution mechanism of the synthetic sludge is controlled by the reaction step while the industrial sludge is controlled by 2 steps, the reaction and diffusion step.en
dc.format.extent1799883 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสังกะสีen
dc.subjectตะกอนน้ำเสียen
dc.titleการละลายของสังกะสีออกจากตะกอนน้ำเสียอิเล็กทรอนิกส์en
dc.title.alternativeDissolution of zinc from electronic wastewater sludgeen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkejvalee@sc.chula.ac.th, Kejvalee.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WorawitWong.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.