Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28459
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกียรติศักดิ์ ดวงมาลย์ | - |
dc.contributor.author | ศุกร์จิตต์ เอี่ยมนเรพร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-01-15T06:33:56Z | - |
dc.date.available | 2013-01-15T06:33:56Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28459 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสตจากใบยาสูบโดยใช้เอนไซม์ Flavourzyme®และศึกษาผลของมอลโทเดกซ์ทรินต่อสมบัติทางเคมี กายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเสต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสมบัติทางเคมีในระหว่างการเก็บรักษา ขั้นแรกศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสกัดนิโคตินออกจากใบยาสูบ ผลการทดลองพบว่าภาวะที่ใช้น้ำกลั่นอุณหภูมิ 30oC สามารถแยกนิโคตินออกได้ประมาณ 67% ขั้นที่สองหาภาวะที่เหมาะสมในการย่อยโปรตีนด้วยเอนไซม์ Flavourzyme ที่อุณหภูมิ 50oC pH 6.5 โดยแปรความเข้มข้นเอนไซม์เป็น 0.0, 1.0, 2.0, 5.0 และ 7.5% w/w และแปรเวลาในการย่อยโปรตีนเป็น 0, 1, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง จากการทดลองพบว่าภาวะที่ใช้เอนไซม์ 5.0 และ 7.5% w/w เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ให้ระดับการย่อยโปรตีนใกล้เคียงกันคือ 35.78% และ 35.25% ตามลำดับ แต่มีปริมาณกรดอะมิโนอิสระต่างกันคือ เมื่อใช้เอนไซม์ 5.0% w/w จะให้ปริมาณกรดอะมิโนอิสระทั้งหมด 277.25 mg/ ตัวอย่าง 100 g ขณะที่เมื่อใช้เอนไซม์ 7.5% w/w ให้ปริมาณ 414.13 mg/ ตัวอย่าง 100 g และพบว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ย่อยด้วยเอนไซม์ 7.5% w/w ให้ปริมาณกรดอะมิโนอิสระที่ให้กลิ่นรสดีซึ่งได้แก่ aspartic acid, glutamic acid และ proline สูงกว่าการใช้เอนไซม์ 5.0% w/w ผลของมอลโทเดกซ์ทริน (0 และ 5% w/v) ต่อสมบัติของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ในด้านค่า surface hydrophobicity พบว่าการเติม มอลโทเดกซ์ทรินส่งผลให้โปรตีนไฮโดรไลเสตมีค่า surface hydrophobicity ลดลง แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) ขณะที่ปริมาณหมู่อะมิโนอิสระของตัวอย่างที่เติมมอลโทเดกซ์ทรินมีค่ามากกว่าตัวอย่างที่ไม่ได้เติม มอลโทเดกซ์ทริน (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาความสามารถในการเป็นสารต้านออกซิเดชันโดยวิเคราะห์ค่า ferric reducing antioxidant power (FRAP) และ metal chelating พบว่าตัวอย่างที่ใส่มอลโทเดกซ์ทรินมีค่า FRAP และ metal chelating ลดลง เมื่อพิจารณาลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เติมและไม่ได้เติม มอลโทเดกซ์ทรินโดยใช้เครื่อง scanning electron microscope พบว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เติมมอลโทเดกซ์ทรินมีลักษณะพื้นผิวที่เป็นโพรงมากกว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ไม่ได้เติมมอลโทเดกซ์ทริน เมื่อพิจารณาสมบัติด้านการละลายในช่วง pH 3-10 พบว่ามอลโทเดกซ์ทรินมีผลให้ความสามารถในการละลายของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ pH 8 และ 10 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาสมบัติด้านการเกิดโฟมในช่วง pH 4-7 พบว่ามอลโทเดกซ์ทรินส่งผลให้โปรตีนไฮโดรไลเสตมีความสามารถในการเกิดโฟม และความคงตัวของโฟมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อระยะเวลาในการเก็บเพิ่มขึ้น ค่า surface hydrophobicity ของโปรตีนไฮโดรไลเสตทั้งสองกลุ่มมีค่าลดลง (p ≤ 0.05) เช่นเดียวกับปริมาณหมู่อะมิโนอิสระในโปรตีนไฮโดรไลเสต เมื่อพิจารณาความสามารถในการเป็นสารต้านออกซิเดชันพบว่าค่า FRAP ของโปรตีนไฮโดรไลเสตทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มคงที่ตลอดช่วงการเก็บรักษา ขณะที่ค่า metal chelating activity ของโปรตีนไฮโดรไลเสตพบว่าเฉพาะกลุ่มที่เติมมอลโทเดกซ์ทรินมีแนวโน้มของค่า metal chelating activity ลดลง | en |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research were to produce protein hydrolysate from tobacco leaves by using Flavourzyme® and to study the effect of maltodextrin on the chemical, physical and functional properties of freeze-dried protein hydrolysate including the changes in chemical properties during storage. Using water at 30oC could remove about 67% of nicotine from tobacco. Tobacco powder, extracted with water at 30oC for 1 h., was used as a raw material for protein hydrolysate production. This sample was hydrolysed at 50oC, pH 6.5. Five concentrations (0, 1.0, 2.0, 5.0, and 7.5% w/w) of Flavourzyme® were used and incubation time was varied from 0 to 4 hours. The results showed that either using 5% w/w enzyme for 3 hours or using 7.5% w/w enzyme for 3 hours yielded the same level of degree of hydrolysis. However, the condition of using 7.5% w/w enzyme for 3 hours yielded the highest amount of total free amino acids (414.13 mg/ 100 g) compared with the others (277.25 mg/ 100 g). Protein hydrolysate obtaining from this former condition also yielded higher amount of aspartic acid, glutamic acid, and proline which are the precursors of flavors formation during cigarette production. Properties of freeze-dried protein hydrolysate were studied. The results showed that surface hydrophobicity of protein hydropholysate containing maltodextrin was lower than that of sample without maltodextrin. However, the difference was not significant (p > 0.05). Free amino group of protein hydrolysate containing maltodextrin was significantly higher than that of sample without maltodextrin (p ≤ 0.05). Antioxidant activities of protein hydrolysate were measured using two methods namely, ferric reducing antioxidant power (FRAP), and metal chelating activity. Both FRAP and metal chelating activity in sample containing maltodextrin were lower than sample without maltodextrin. Image of protein hydrolysate powder under scanning electron microscope revealed that the surface of sample without maltodextrin was more compact. Solubility of sample containing maltodextrin was lower than sample without maltodextrin. Foam expansion and foam stability of protein hydrolysate containing maltodextrin were significantly decreased (p ≤ 0.05) compared to those of sample without maltodextrin. During storage, the result showed that as the storage time increased, surface hydrophobicity and free amino group of both protein hydrolysate samples were decreased (p ≤ 0.05). FRAP activity of both protein hydrolysate samples was rather constant while metal chelating activity of sample containing maltodextrin was decreased during storage. | en |
dc.format.extent | 2012875 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.423 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ยาสูบ | en |
dc.subject | โปรตีนไฮโดรไลเสท | en |
dc.title | การผลิต และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเสตจากใบยาสูบ | en |
dc.title.alternative | Production and functional properties of protein hydrolysates from tobacco leaves | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kiattisak.D@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.423 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sookjit_ei.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.