Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28474
Title: การใช้โมเดลโลจิสติกเพื่อพัฒนาแบบสอบอิงโดเมน
Other Titles: An application of the logistic model to develop a domain referenced test
Authors: ศรินทิพย์ แก้วมหาวงศ์
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อสร้างแบบสอบอิงโดเมนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องพหุนามและใช้โมเดลโลจีสติก 3 พารามิเตอร์ในการวิเคราะห์แบบสอบที่สร้างขึ้นเพี่อหาค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยาก และค่าการเดา และคัดเลือกข้อสอบตามเกณฑ์ที่เหมาะสมของค่าพารามิเตอร์ พร้อมทั้งตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบตามแนวอิงโดเมนและทฤษฏี IRT นอกจากนี้ยังมุ่งใช้โมเดลโลจีสติก 3 พารามิเตอร์เพื่อการกำหนดคะแนนเกณฑ์ของแบบสอบตลอดจนเพี่อการประมาณค่าความสามารถและคะแนนโดเมนสำหรับใช้เป็นตารางเทียบคะแนนของผู้สอบด้วย แบบสอบอิงโดเมนที่ได้เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อโดยแบ่งเป็น 4 โดเมนตามพฤติกรรมในขอบเขตเนื้อหา เรื่องพหุนาม ข้อสอบเขียนขึ้นตามลักษณะเฉพาะข้อสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนัก เรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2531 จำนวน 2,145 คน ซึ่งจากการวิจัยครั้งนี้ได้แบบสอบอิงโด เมนที่มีคุณภาพดังนี้ 1. มีคุณสมบัติการวัดเพียงคุณลักษณะเดียวและความเป็นอิสระในการตอบข้อสอบ 2. ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบอยู่ใน เกณฑ์เหมาะสม โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.82293 ถึง 2.00000 มีค่าเฉลี่ยของค่าอำนาจจำแนก เป็น 1.27235 มีค่าความยากตั้งแต่ -0.79607 ถึง 2.32667 ค่าเฉลี่ยของค่าความยาก เป็น 0.79895 และมีค่าการเดาตั้งแต่ 0.03228 ถึง 0.29393 ค่าเฉลี่ยของค่าการเดาเป็น 0.18271 3. มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตัดสินความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ที่ ยอมรับคือ 0.5 มีความตรงเชิงโครงสร้าง คือพบว่าข้อสอบในโดเมนเดียวกันถูกจัดไว้ในตัวประกอบเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ และมีความตรงร่วมสมัย คือมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเป็น 0.643 ที่ระดับนัยสำคัญ .001 4. มีความ เที่ยงตามแนวอิงโดเมนของแบบสอบในโดเมนที่ 1 ถึง 4 และทั้งฉบับเป็น 8884, 0.8485, 0.8443, 0.7700 และ 0.9428 ตามลำดับ สำหรับความเที่ยงตามแนว IRT พบว่าได้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศแบบสอบสูงมากในช่วงของค่า 0 ระหว่าง 0.00 ถึง 1.8 ซึ่งแสดงว่าแบบสอบมีความเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ทดสอบกับนักเรียนที่มีระดับความสามารถปานกลางและค่อนข้างสูง 5. ได้คะแนนเกณฑ์ตัดสินความสามารถขั้นต่ำที่ยอมรับได้ของแบบสอบในโดเมนที่ 1-4 และทั้งฉบับ ซึ่งอยู่บนสเกลความสามารถเป็น 1.48, 0.58, 0.37, 1.04 และ 0.93 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were; firstly, to construct the mathematic domain-referenced test on "Polynomial" for Mathayom Suksa 3 students; secondly, to use three parameter Logistic Model to analyze the parameters of the test items; Item Discriminating (a parameter), Item Difficulty (b parameter) and Item Psudo-Guessing (c-parameter), then selected the test items by using the appropriate parameters; thirdly to check the test quality on domain reference and IRT; fourthly, to utilize the three parameter Logistic Model to define the criterion test scores and also to estimate the ability and domain scores which used to be the table for comparing the testee scroes. This domain referenced test consisted of 50 items of multiple choice test with 4 alternatives defining from domain of behavior in the content area to test in 4 domains and classified to 22 subdomains. The test items were written from the item specifications defining in each subdomain. The subjects in this research were 2,145 Mathayom Suksa Three students in 1987 academic year of the secondary schools of Srisakhet province, Department of General Education, Ministry of Education. The quality of the domain-referenced test in this research were as follows: 1. It had the property of unidimensionality and local independence. 2. The item parameters were in the desired criterion; the Item Discriminating ranged between 0.82293 to 2.00000; Item Discriminating mean was 1.27235, Item Difficulty between -0.79607 to 2.32667, Difficulty mean was 0.79895, and Item Psudo-Guessing between 0.03228 to 0.29393, the Psudo- Guessing mean was 0.18271. 3. Content Validity valued over accepted criteria, i.e., 0.5, Of the Construct Validity, items classified under the same domain mostly correlated with item classified under the same factors. The Pearson Coefficient correlation of the Concurrent Validity was 0.643 respectively at the significance level of .001. 4. Reliability based on Domain Referenced of Domain 1 to Domain 4 and over all test were 0.8884, 0.8485, 0.8443, 0.7700 and 0.9428 respectively. 5. For the IRT based reliability, it was found that the test information function was very high on the theta ranged between 0.0 to 1.8.That meant this test was appropriate or most efficient when administered to the examinees with average to nearly high ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28474
ISBN: 9745763144
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarintip_ka_front.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_ch1.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_ch2.pdf21.52 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_ch3.pdf12.24 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_ch4.pdf12.41 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_ch5.pdf8.91 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_ka_back.pdf22.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.