Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28496
Title: การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิม : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน "ปัตตานี"
Other Titles: Economic organization of Muslim peasants : a case study of "Pattani" community
Authors: ศรีพงศ์ อุดมครบ
Advisors: ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) ศึกษาการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิม(2) ศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ (3) ศึกษาการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวไร่นามุสลิม โดยมีสมมติฐานว่า (1) การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิม มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของชุมชนไปสู่ระเบียบทางเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น (2) ระบบค่านิยมตามวัฒนธรรมมลายูและความเชื่อทางศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและการปรับตัวของชาวไร่นามุสลิมในชุมชนช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ให้เกิดขึ้นรวดเร็วเกินไปนัก แนวความคิดสำคัญที่ใช้ในการศึกษามี 3 ประการคือ (1) แนวคิดทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ (2) แนวคิดการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย (3) แนวคิดเศรษฐกิจเชิงจริยธรรม พบว่า การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของชาวไร่นามุสลิมเป็นผลมาจากปัจจัย 4 ประการ (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ (2) การขยายตัวของอำนาจและกลไกรัฐ (3) สภาพนิเวศน์วิทยาของชุมชน (4) ระบบค่านิยมของชุมชน การขยายตัวทางเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ การขยายตัวของอำนาจและกลไกรัฐ และข้อจำกัดของสภาพนิเวศน์วิทยาของชุมชน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของชุมชนเปลี่ยนไปเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้ามากยิ่งขึ้น มีผลทำให้แบบแผนชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปหลายประการ เช่นเกิดอาชีพแรงงานรับจ้างในภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตร พฤติกรรมในการบริโภคในชีวิตประจำวัน เป็นต้น แต่ระบบค่านิยมของชุมชนซึ่งมีพื้นฐานมาจากค่านิยมทางศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมลายูได้ช่วยชะลอไม่ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรุนแรงเกินไป ชุมชนแห่งนี้จึงมีการจัดระเบียบแบบ "ทวิลักษณ์" อยู่ในตัวเอง
Other Abstract: The objectives of the thesis are (1) to study economic organization of Muslim peasants, (2) to study factors effecting economic organization and (3) to study adjustment of Muslim peasants to changes that occurred after the First National Economic Plan. The hypothesis are: (1) economic organization of Muslim peasants are changing from traditional economic organization to modern economic organization, and (2) Value system of the Malay culture and belief in Islamic religion effect on the way of life and adjustment of peasants in this community, it slow down socio-economic change not too drastically. The important concepts of analytical framework are: (1) The Anthropology-Economic concepts (2) The Modernization concepts and (3) Economic ethics. Economic organization of the Muslim peasant's base on 4 factors: (1) economic development (2) modernization (3) community ecology and (4) community value system. Modernization as a changing process is stemming from development, increasing of state authority and limit of community ecology. Traditional economic organization become modernized such as changes in production pattern, daily consumption requirement, and changes in consumption pattern and needs. But the community Islamic values function to slow down the adjustment of the peasants life, not too drastically disrupted
Description: วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28496
ISBN: 9746332481
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sripong_ud_front.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch1.pdf13.66 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch2.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch3.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch4.pdf13.47 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch5.pdf27.39 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch6.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_ch7.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Sripong_ud_back.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.