Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28541
Title: ปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการเสนอภาพกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อการสร้างมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: An interaction of visual presentation formats and levels of learning achievement on concept fromation of prathom suksa four students
Authors: เอิกสรวง ปาลวัฒน์
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการเสนอภาพกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อการสร้างมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลลพบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปีการศึกษา 2529 จำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท โดยใช้ตำแหน่งเปอร์เซ็นไตล์ของแต่ละคะแนนสอบประจำภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2529 เป็นเกณฑ์แบ่ง จำแนกนักเรียนตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นกลุ่มสูง 60 คน กลุ่มต่ำ 60 คน แต่ละประเภทแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากนั้นทำการสุ่มนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของทั้งสองประเภท ให้เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบหลายภาพพร้อมกัน และที่เหลืออีกกลุ่มหนึ่งของทั้งสองประเภท ให้เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบทีละภาพตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นภาพสไลด์ลายเส้นดำพื้นขาว แบ่งเป็นภาพที่ใช้สอนและทดสอบการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวที่นักเรียนเคยพบเห็น ภาพชุดที่ใช้สอนมโนทัศน์มี 10 ชุด ชุดละ 5 ภาพ แต่ละชุดใช้สอน 1 มโนทัศน์ การเสนอภาพทั้ง 5 ภาพ มี 2 รูปแบบ คือ แบบทีละภาพตามลำดับและแบบหลายภาพพร้อมกัน โดยแบบทีละภาพตามลำดับ นักเรียนจะได้เรียนแต่ละมโนทัศน์จากภาพสไลด์ที่ฉายปรากฏบนจอทีละภาพ ภาพละ 7 วินาที จำนวน 5 ภาพ ส่วนแบบหลายภาพพร้อมกัน นักเรียนจะได้เรียนแต่ละมโนทัศน์จากภาพสไลด์ที่ฉายปรากฏบนจอภาพพร้อมกันทีเดียว 5 ภาพ เป็นเวลา 35 วินาที หลังจากเรียนมโนทัศน์แต่ละมโนทัศน์แล้วทำการทดสอบทันทีด้วยภาพสไลด์ชุดทดสอบการสร้างมโนทัศน์นั้นๆ มโนทัศน์ละ 10 ภาพ โดยนำเสนอทีละภาพ ภาพละ 7 นาที ในการดูภาพชุดทดสอบแต่ละภาพให้ผู้เรียนระบุว่าภาพนั้นๆ เป็นภาพตัวอย่างทางบวกหรือทางลบ ของมโนทัศน์ที่กำลังเรียนอยู่ โดยตอบลงในกระดาษคำตอบ และเมื่อดำเนินการเรียนและทดสอบจนครบทั้ง 10 มโนทัศน์แล้ว นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากผลการทดสอบมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบผลที่เกิดขึ้นของแต่ละองค์ประกอบในระดับต่างๆ เมื่อพบว่ามีปฏิสัมพันธ์จากผลการทดลอง การวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพพร้อมกันสร้างมโนทัศน์ได้ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพทีละภาพตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง สร้างมโนทัศน์ได้ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. มีปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการเสนอภาพแบบหลายภาพพร้อมกัน และแบบทีละภาพตามลำดับกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ที่มีต่อการสร้างมโนทัศน์ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.1 ในการเรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบหลายภาพพร้อมกันและแบบทีละภาพตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง สร้างมโนทัศน์ได้ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบหลายภาพพร้อมกัน สร้างมโนทัศน์ได้ดีกว่าที่เรียนมโนทัศน์ด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบทีละภาพตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of the research was to study the interaction of visual presentation formats and levels of learning achievement on concept formation of Prathom Suksa four students. The sample group used was 120 Prathom Suksa four students of lopburi’s Kindergarten School in the academic year 1986. The subjects were selected by stratified random sampling. The criterion used in differentiating the subjects was the percentile ranks from the first and second terms’ achievement tests. There were 60 subjects in the high achievement group and 60 in the low achievement one. Each group was divided into two sub-groups of 30 subjects by simple random sampling. One group from the two high achievement sub-groups, and one from the two low achievement sub-groups were then randomed to learn concepts by using a simultaneous-image presentation format and the other sub-groups learned concepts by using a sequential-image presentation format. The instrument used in this study was slides with black lines on white background. They were grouped as slides for teaching and for testing concept formation. The concepts show in these slides concerned things familiar to subjects. There were ten sets of instructional slides of five pictures each. Each set was used for teaching one concept. There were two formats of visual presentation: the sequential-image presentation and the simultaneous-image presentation. With the sequential-image presentation format, the five pictures were presented on a screen one at a time for seven seconds each. With the simultaneous-image presentation format, the subjects were shown five pictures at the same times for 35 seconds. After learning each concept a test was administered immediately by using the set of slides prepared for testing each concept. Ten pictures were used for testing each concept by presenting one picture at a time for seven seconds each. In each test the subjects were to indicate on his answer sheet whether a picture was a positive or negative instance of each concept learned. When the teaching and testing of concepts were over, the data were analyzed by using Two-Way Analysis of Variance. The Testing of Simple Mail Effects was carried out after finding out that there was an interaction in the experiment. The results of this research were as follow: 1.The subjects who learned concepts by the simultaneous-image presentation format were able to form concepts better than those who learned by the sequential-image presentation format at .01. 2. The high achievement subjects were able to form concepts better than the low achievement ones at .01. 3. There was the interaction of the simultaneous and sequential-image presentation formats upon high and low learning achievement levels on the concept formation at .01. 3.1 In learning concepts by both the simultaneous and sequential-image presentation formats, the high achievement subjects were able to form concepts better than the low achievement ones at .01. 3.2 The high achievement subjects and the low achievement subjects who learned concepts by simultaneous-image presentation format were able to form concepts better than those who learned by the sequential-image presentation format at .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28541
ISBN: 9745676667
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ergsuang_pa_front.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_ch1.pdf9.94 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_ch2.pdf36.47 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_ch3.pdf9.82 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_ch4.pdf11.92 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_ch5.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open
Ergsuang_pa_back.pdf63.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.