Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28566
Title: การพัฒนาแบบจำลองความเสียหายล้ารอบต่ำที่อุณหภูมิสูงสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม 316 โดยใช้แนวคิดของการสูญเสียความเหนียว
Other Titles: Development of high temperature low-cycle fatigue damage model for SS 316 based on ductility exhaustion concept
Authors: แผนพิชิต คุรุสรณานนท์
Advisors: จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmejks@eng.chula.ac.th
Subjects: เหล็กกล้าไร้สนิม -- ความล้า
วัสดุ -- ความล้า
Stainless steel -- Fatigue
Materials -- Fatigue
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้พัฒนาแบบจำลองความเสียหายล้ารอบต่ำสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม 316 ที่อุณหภูมิสูง ด้วยแนวคิดของกลศาสตร์ความเสียหายต่อเนื่อง ตัวแปรความเสียหายล้านิยามว่าเป็นการลดลงของความเหนียว จากนั้นจึงนำแบบจำลองความเสียหายไปประยุกต์กับปัญหาภาระสองระดับ การทดสอบเพื่อสร้างแบบจำลองความเสียหาย ประกอบด้วย 1) การทดสอบแรงดึงที่อุณหภูมิห้องของชิ้นงานที่ไม่ผ่านภาระล้าและชิ้นงานที่ไม่ผ่านภาระล้าแต่ผ่านความร้อน 2) การทดสอบความล้าที่อุณหภูมิ 650℃ ที่พิสัยความเครียด 0.6%, 1.0% และ 2.0% ภายใต้รูปคลื่นสามเหลี่ยมสมมาตรที่มีอัตราความเครียดเท่ากับ 10⁻³ ต่อวินาที และ 3) การทดสอบแรงดึงที่อุณหภูมิห้องของชิ้นงานที่ผ่านภาระล้าเป็นจำนวนรอบต่าง ๆ กัน ผลการทดสอบพบว่าความเหนียวมีแนวโน้มลดลง (หรือความเสียหายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น) เมื่ออัตราส่วนอายุความล้าเพิ่มขึ้น และเส้นโค้งการสะสมความเสียหายขึ้นกับพิสัยความเครียด แบบจำลองความเสียหายถูกนำไปประยุกต์เพื่อทำนายจำนวนรอบจนกระทั่งเสียหายภายใต้ภาระบล็อกที่สองของภาระสองระดับ ผลการทำนายอยู่ในช่วงตัวประกอบ 2 เท่า ของผลการทดสอบ การวิเคราะห์พื้นผิวแตกหักของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่า การกำเนิดรอยร้าวจากผิวชิ้นงานและการเติบโตของรอยร้าวคือสาเหตุของการสูญเสียความเหนียว เมื่อพื้นที่รอยร้าวเพิ่มขึ้นระดับความเสียหายล้าก็เพิ่มขึ้น และพื้นที่รอยร้าวที่เล็กที่สุดที่มีผลต่อการสูญเสียความเหนียวคือ 0.29 มม.²
Other Abstract: This thesis develops a high temperature low cycle fatigue damage model for stainless steel 316 using a continuum damage mechanics concept. A fatigue damage variable is defined as ductility exhaustion. Then, the damage model is applied to a two-step loading. The necessary experiments for developing the damage model are 1) tensile test at a room temperature of virgin specimens and thermal-aged specimens 2) fatigue test at 650 ℃, strain ranges of 0.6%, 1.0% and 2.0% and strain rate of 10⁻³/sec under a symmetrical triangular waveform and 3) tensile test at room temperature of the pre-fatigued specimens at a different cycle ratios. The results show that the ductility decreases, i.e. the damage increases, as the cycle ratio increases and the damage accumulation curves depend on the strain ranges. The damage model is applied to predict a number of cycles to failure in the second block of a two-step loading. The prediction results lie within a factor of 2 of the experimental results. The fracture surfaces of the specimens are examined with a scanning electron microscope. The results reveal that the cause of ductility exhaustion is a crack initiation and propagation from a specimen surface. The level of damage varies with the crack area and the minimum crack area that affects the ductility loss is 0.29 mm²
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28566
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.830
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.830
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phaenpichit_kh.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.