Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28583
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์-
dc.contributor.advisorไรน์ฮาร์ด คอนราดท์-
dc.contributor.advisorนุชนาฏ ณ ระนอง-
dc.contributor.authorศุภรัตน์ นวลสุวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-21T05:23:04Z-
dc.date.available2013-01-21T05:23:04Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746328336-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28583-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en
dc.description.abstractเนื่องจากประเทศไทยสามารถปลูกยางพาราได้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงควรมีการศึกษาเพื่อปรับปรุงสมบัติของยางพาราให้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการนำซิลิกาที่ผลิตได้จากการตกตะกอนมาใช้เป็นสารเสริมแรงในสารประกอบยางธรรมชาติที่ไม่ใช่สีดำ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีผู้วิจัยเกี่ยวกับสังเคราะห์ซิลิกาจากแกลบ ทำให้ได้ซิลิกาที่มีราคาถูกกว่าซิลิกาที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมยาง การทดลองนี้จึงได้มีการนำซิลิกาที่ได้จากแกลบมา ทดลองใช้เป็นสารเสริมแรงในสารประกอบยางธรรมชาติ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมบัติของยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจากแกลบ และด้วยราคาที่ถูกกว่าของซิลิกาจากแกลบ จึงเป็นการลดต้นทุนของผลิตกัณฑ์ยางที่เสริมแรงด้วยซิลิกาอีกด้วย การวิจัยนี้เริ่มจากการนำแกลบมาทำความสะอาด นำแกลบที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับกรดไฮโครคลอริกที่มีความเข้มข้น 0.4 โมลาร์ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง นำแกลบที่ได้ไปเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะได้เถ้าที่มีสีขาว ซึ่งมีซิลิกาเป็นองศ์ประกอบอยู่ถึง 99.6 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำซิลิกาที่ได้ไปบดให้มีขนาดเล็กลงด้วยเครื่องบดแบบใช้กำลังลม หลังจากนั้นนำซิลิกาที่ผ่านการบดแล้วมาทดสอบสมบัติต่างๆ เทียบกับซิลิกาที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมยาง (Hi-sil 255) พบว่าซิลิกาที่สังเคราะห์จากแกลบนอกจากมีเปอร์เซ็นต์ซิลิกาที่สูงกว่าแล้วยังมี เปอร์เซ็นต์ความชื้นต่ำกว่า Hi-sil 255 และสมบัติสำคัญอีกประการหนึ่งที่ดีกว่า Hi-sil 255 คือ พื้นที่ผิวจำเพาะ ซึ่งมีผลต่อสมบัติของสารประกอบยาง หลังจากนั้นนำซิลิกาที่สังเคราะห์จากแกลบที่ผ่านการบดแล้วมาใช้เป็นสารเสริมแรงในยางธรรมชาติ แล้วนำไปหาสมบัติของสารประกอบยางที่ได้ โดยเปรียบเทียบกับสูตรที่ไม่ใส่สาร เสริมแรง สูตรที่ใส่ Hi-sil 255 เป็นสารเสริมแรง และสูตรที่ใส่เขม่าคำเป็นสารเสริมแรง ผลการวิจัยพบว่าสูตรที่ใส่ซิลิกาจากแกลบมีสมบัติที่ดีกว่าสูตรที่ใส่ Hi-sil 255 หลายประการ ซึ่งส่งผลให้สารประกอบยางที่ใส่ซิลิกาจากแกลบมีสมบัติที่ดี คือ มีเวลาในการคงรูปเร็วกว่าสูตรที่ใส่ Hi-sil 255 มาก มีความต้านทานแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดใกล้เคียงกับสูตรที่ใส่สารเสริมแรงสูตรอื่น ความต้านทานต่อการสึกหรอและการกระดอนดีมาก เป็นต้น ส่วนสมบัติที่ด้อยกว่าสารประกอบยางสูตรที่ใส่สารเสริมแรง สูตรอื่น คือ ความแข็ง ซึ่งสารประกอบยางที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจากแกลบนี้เหมาะที่จะนำไปทำผลิตกัณฑ์ที่ต้องการสมบัติด้านอื่นนอกจากความแข็ง-
dc.description.abstractalternativeThailand is the world largest in natural rubber plantation. Hence, these should be studied to improve the properties of the rubber compound, silica from rice husk is cheaper than precipitated silica generally used in rubber industry. Therefore, a study on addition of silica from rice husk to improve natural rubber properties was performed. The rice husk was deemed by water and treated with 0.4 M HC1 for three hours. The treated rice husk was burnt at 600 °c for six hours. The ash is white and contains 99.6 % silica. The ash is ground by jet mill and tested for its properties and then compared with the commercial silica used in rubber industry (Hi-sil 255). It is found that the ash from rice husk has higher silica content and lower moisture content than Hi-sil 255. The rice ash also shows higher specific surface area. The rubber compound that mixed with rice husk ash is compared with rubber compounds without reinforcing agent, with Hi-sil 255, and with carbon black. The results indicate that reinforcing with rice ash has several advantages over the other products. It has shorter curing time than Hi-sil 255. It also yields the same tear resistance and tensile strength as other treatments. The rubber reinforced with silica from rice husk has good abrasion resistance and good compression set. The weakness of this product is that it has lower hardness.-
dc.format.extent5128380 bytes-
dc.format.extent1893819 bytes-
dc.format.extent22554703 bytes-
dc.format.extent4832422 bytes-
dc.format.extent6909311 bytes-
dc.format.extent1332796 bytes-
dc.format.extent3254935 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectยาง -- การเสริมแรง-
dc.subjectซิลิกา-
dc.subjectแกลบ-
dc.titleยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลิกาจากแกลบen
dc.title.alternativeNatural rubber reinforced with silica from rice husken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวัสดุศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supparat_nu_front.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_ch1.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_ch2.pdf22.03 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_ch3.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_ch4.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Supparat_nu_back.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.