Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28601
Title: | ผลของหญ้าหนวดแมว (พยับเมฆ) ต่อการทำงานของไตหนูแรท |
Other Titles: | Effects of Java tea (Orthosiphon stamineus) on renal functions in rats |
Authors: | ศุภวรรณ สัตตะพันธ์คีรี |
Advisors: | ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หญ้านวดแมว หรือพยับเมฆ ชื่อสามัญ คือ ชาชวาใช้เป็นยาขับปัสสาวะรักษานิ่วและโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การศึกษาครั้งนี้เพื่อหาข้อมูลสนับสนุน การออกฤทธิ์ของหญ้านวดแมว จะมีผลต่อการทำงานของไตโดยตรงหรือไม่ และมีส่วนสัมพันธ์ต่อการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดอย่างไร โดยใช้หนูแรทพันธุ์วิสต้า 50 ตัว เพศผู้ แบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 ใช้หนู 20 ตัว ศึกษาแบบเฉียบพลันในหนูที่วางยาสลบโดยให้น้ำชงหญ้าหนวดแมว 10 % น้ำหนักต่อปริมาตร (W/V) ทางสายยางจากปากสู่กระเพราะอาหารจำนวน 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 300 กรัม โดยใช้หนู 10 ตัว และหนูอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 10 ตัวให้น้ำละลายผงโปรแตสเซียม 36 มิลลิอิคิววาเลนท์ต่อลิตร เป็นตัวเปรียบเทียบวิธีและจำนวนให้เท่ากันการทดลองที่ 2 แบ่งหนูเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว เลี้ยงไว้ในกรงที่ดวงปริมาณน้ำกิน และแยกเก็บปัสสาวะได้ แยกกลุ่มทดลองโดยให้เป็นกลุ่มน้ำชงหญ้าหนวดแมว, กลุ่มน้ำละลายผงโปแตสเซียมคลอไรด์และกลุ่มน้ำเปล่าเป็นกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มให้ความเข้มข้นสารเท่ากับที่ให้ในการทดลองที่ 1และให้กินเป็นระยะเวลานาน 7 วัน พบว่าในกลุ่มที่ได้รับหญ้าหนวดแมวแบบเฉียบพลันทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และความดันโลหิตต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในชั่วโมงที่ 1 และ 2 (P<0.05) แต่เมื่อศึกษาในกลุ่มที่ได้รับเวลานาน 7 วัน กลับพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) จึงอาจกล่าวได้ว่าผลต่อระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายไม่ใช้โปรแตสเซียมเป็นตัวสำคัญ แต่เชื่อว่าเกิดจากฤทธิ์ของอัลคาลอยด์ออร์โธซีฟอนกลับโคไซด์ที่อยู่ในหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทพาราซึมพาราเธอติดสำหรับผลของหญ้าหนวดแมวที่ให้แบบเฉียบพลันต่อการทำงานของไตไม่พบว่ามีผลต่ออัตราการขับปัสสาวะ อัตราการกรองของไต (GFR) และอัตราการไหลเวียนเลือดผ่านไต (RBF) แต่ทำให้สัดส่วนที่ขับออกของโซเดียม (FENa) และคลอไรด์ (FEC1) เพิ่มขึ้นในชั่วโมงที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.025) รวมถึงอัตราการขับทิ้งของโปแตสเซียม (UKV) ลดลง และปริมาณโปแตสเซียมในพลาสมา (PK) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และในกลุ่มที่ได้รับน้ำชงละลายโปรแตสเซียมคลอไรด์ก็พบว่าระดับโปแตสเซียมในพลาสมา (PK) อัตราการขับทิ้งคลอไรด์ (UC1V) และสัดส่วนที่ขับทิ้งของคลอไรด์ (FEC1) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในชั่วโมงที่ 2หลังให้สารละลายโปแตสเซียมคลอไรด์ การศึกษาผลของหญ้าหนวดแมวที่ให้เป็นระยะเวลานาน 7 วัน พบว่าสัดส่วนการกรองของไต (FF) มีค่าต่ำอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) พร้อมกับการลดลงของอัตราการกรองของไต (GFR) และอัตราการไหลเวียนของพลาสมาผ่านไต (RPF) ซึ่งไม่เป็นสัดส่วนกัน เมื่อศึกษาถึงอัตราส่วนของปริมาณน้ำกินต่อปริมาณปัสสาวะ (Intake/output) พบว่า กลุ่มกินน้ำชงหญ้าหนวดแมวสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำอิสระและ Osmolar clearance จึงไม่สนับสนุนว่ามีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ อย่างไรก็ดีอัตราการขับทิ้งของอิเลคโตรลัยท์ คือ โซเดียม โปรแตสเซียมและคลอไรด์ (UNaV;UKV;UC1V) เพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มกินน้ำชงหนวดแมวและกลุ่มที่กินน้ำชงละลายโปรแตสเซียมคลอไรด์ รวมทั้งระดับ pH ของปัสสาวะก็สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขับทิ้งแคลเซียม และอนินทรีย์ฟอสฟอรัส ผลต่อหน้าที่การทำงานของไตดังกล่าวเป็นผลของอัลคาลอยด์ชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ไตหลังจากทำให้ความดันโลหิตต่ำลง โดยลดลงการดูดกลับของโซเดียมที่หลอดไตส่วนต่างๆ (Renal tubule) แล้วจึงมีผลต่อระบบเรนิน-แองจิโอเทนลินอัลเดอสเตอโรน (R-A-A. System) เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้ลดต่ำลงจึงเสริมให้ความดันโลหิตต่ำลงด้วย และโปรแตสเซียมที่เป็นส่วนประกอบในหญ้าหนวดแมว ก็เป็นตัวเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการทำงานของไตดังกล่าว |
Other Abstract: | Yaa Nuad Maeo (Java tea), a medicinal plant, has been known as a diuretic agent for treatment of renal disease and renal calculi. The present study was carried out to gain a deeper insight into the action of Yaa Nuad Maeo on renal functions including renal hemodynamic studies. Fifty male Wistar rats, weighing 250-350 gms, were used. The experiments were divided into two series. The first series was defined as an acute group. In acute group, the animals were fed either Yaa Nuad Maeo solution 10% W/V (group I) or 36 mEq/L of potassium chloride solution (group II) in amount of 1 ml/300 gm Bw via the gastric tube. The second series was chronic group. They were kept in the metabolic cages and fed Yaa Nuad Maeo solution (group III) or potassium chloride solution (group IV) with concentration similar to the first series. Group V were fed water as a control group. Animals in chronic group were allow drinking ad libitum for 7 days before measurements the renal and hemodynamic effects. In group I, there was a marked reduction in mean arterial blood pressure (MABP). The heart rate (HR) increased significantly at the first and second hours (p < 0.05) while group III showed a significant decrease in HR. and MABP. In group I, glomerular filtration rate (GFR) and renal blood flow (RBF) did not change, although the fractional excretion of sodium (FENa) and chloride (FEC1) increased significantly at the second hour. A decrease in urinary potassium excretion (UKV) and an increase in plasma potassium were observed in group I. Plasma potassium (PK) , urinary chloride excretion (UC1V) and fractional excretion of chloride (FEC1) increased at the second hour after potassium chloride feeding (group II) . In group III the filtration fraction decreased by the reduction of GFR was disproportionate to that of RPF. The ratio of water intakes and water output in group III was higher than control period, while the free water clearance and osmolar clearance did not change. These observation did not support the view that Yaa Nuad Maeo is a diuretic drug. However it was found that urinary pH. in group III and group IV were increased significantly (p < 0.05). The urinary excretion of electrolyte (Na, K, Cl) at 24 hours increased signifini-cantly (p < 0.05) while urinary excretion of calcium and inorganic phosphorus did not change. The effect on renal functions expect to be mediated by alkaloids in Yaa Nuad Maeo decreased the sodium reabsorp-tion at the renal tubular cell. These process might suspect to change the Renin-Angiotensin Aldosterone system (R-A-A. system) and over all general circulation. The changes in general circulation may probably due to the parasympathetic action of the alkaloid orthosiphon glycosides. The action of potassium would associate with alkaloid and/or other substance in Yaa Nuad Maeo in exerting the changes in renal functions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สรีรวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28601 |
ISBN: | 9745661295 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supawan_sa_front.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_ch1.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_ch2.pdf | 5.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_ch3.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_ch4.pdf | 14.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_ch5.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_sa_back.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.