Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28616
Title: พารามิเตอร์ควบคุมการสมานตะกอนแบบเทเปอร์
Other Titles: Control parameters of tapered flocculation
Authors: ศุภวิช เชยะกุล
Advisors: ธีระ เกรอต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสมานตะกอนแบบเทเปอร์เป็นการสมานตะกอนที่ใช้ความเร็วเกรเดียนห์ (G) ขณะหาการสมานตะกอนในช่วงแรกสูงและลดลงเมื่อเวลาผ่านไป การลดค่า G อาจเป็นแบบต่อเนื่องหรือลดลงทีละขั้น การวิจัย จะศึกษาเฉพาะการสมานตะกอนแบบเทเปอร์สองขั้นตอนและการสมานตะกอนแบบเทเปอร์สามขั้นตอน น้ำดิบใช้น้ำขุ่นสงเคราะห์จากดินคาโอลินให้มีความขุ่น 50 NTU และใช้ปริมาณสารส้ม (C ) เท่ากับ 25 มก./ล. พารามิเตอร์ควบคุมที่ศึกษาได้แก่ ความเร็วเกรเดียนท์ (G ) และเวลากัก ( T) ของแต่ละขั้นตอนย่อย ช่วงการแปรค่าพารามิเตอร์สำหรับการสมานตะกอนเทเปอร์สองขั้นตอนจะใช้ G1 จาก 30 ถึง 100 รท.-1, T1 จาก 2 ถึง 10 นาที, G2จาก 30 ถึง 80 วท.-1,T2 จาก 5 ถึง 25 นาที การสมานตะกอนแบบเทเปอร์สามขั้นตอนจะแปรค่า G1จาก 40 ถึง 100 วท.-1, T1 จาก 1 ถึง 6 นาที, G2 จาก 30 ถึง 80 วท.-1, T2จาก 2 ถึง 10 นาที, G3จาก 20 ถึง 30 วท.-1, T3 จาก 5 ถึง 20 นาที ผลการวิจัยพบวาค่าความขุ่นที่เหลือจะขึ้นอยู่กับ G และ T ของแต่ละขั้นตอนย่อยค่า G ที่ระดับ ต่างๆ จะมีค่า T ที่เหมาะสมอยู่ช่วงหนึ่งซึ่งเมื่อ T เกินช่วงนี้ไปแล้วความขุ่นจะลดลงอีกไม่มากนักในกรณีที่ G ต่ำหรือจะกลับเพิ่มขึ้นในกรณีที่ G สูง ค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์ที่ใช้ควบคุมการสมานตะกอนแบบเทเปอร์สองขั้นตอนคือ G1 เท่ากับ 30 วท.-1, T1 เท่ากับ 3 นาที, G2 เท่ากับ 20 วท.-1, T1 เท่ากับ 11 นาที และสำหรับการสมานตะกอนแบบเทเปอร์สามขั้นตอนคือ G1. เท่ากับ 50 วท.-1, T1 เท่ากับ 2 นาที, G2 เท่ากับ 35 วท.-1, T2 เท่ากับ 2 นาที, G3 เท่ากับ 20 วท.-1, T3 เท่ากับ 8 นาที
Other Abstract: Tapered flocculation is a modified flocculation which has high velocity gradient (G) in the initial stage and lower in the later. G valve can be decreased continuously or in steps. This experiment was decreased in steps and studied only two-stage and three-stage-tapered flocculation. Raw water was synthesized from kaolin clay contained 50 NTU turbidity. Alum-dose was 25 mg./L.. The studied parameters were velocity gradient (G) and detention time (T) of each stage. The value of G1, T1, G2, T2, for two-stage-tapered flocculation were varied from 40 to 100 sec-1, 2 to 10 min., 20 to 40 sec-1, 5 to 25 min., respectively. The value of G1, T1, G2, T2, G3, T3, for three-stage-tapered flocculation were varied from 40 to 100 sec-1, 1 to 6 min., 30 to 80 sec -1, 2 to 10 min., 20 to 30 sec-1, 5 to 20 min., respectively. Experimentฟ results revealed that value of residual turbidity was deepened on G and T of each stage. There is optimum T at each G that is called Topt, in the case of low G values and T is more than this Tpt, the residual turbidity will be rarely decreased but be increased in the case of high G values. The appropriate values of control parameters G1, T1, G2, T2, of two-stage-tapered flocculation were 30 sec 1, 3 min., 20 sec-1,11 min., respectively and of three-stage-tapered flocculation G1 T1, G2, T2, G3, T3, were 50 sec-1, 2 min., 35 sec-1 , 2 min., 20sec-1, 8 min., respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28616
ISBN: 9745688495
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawit_ch_front.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch2.pdf948.21 kBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch3.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch4.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch5.pdf28.24 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_ch6.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Supawit_ch_back.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.