Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28695
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโต-
dc.contributor.authorสุนทรี มอญทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-01-28T15:58:13Z-
dc.date.available2013-01-28T15:58:13Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28695-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะสุขภาพดี จากการวินิจฉัยของแพทย์ อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์ น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม และมารดาทารกแรกเกิด คลอดครบกำหนด คลอดปกติ โดยมีอายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์ จำนวน 40 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คู่ โดยจับคู่ในด้านประสบการณ์การเลี้ยงดูทารกตัวเหลือง การสนับสนุนทางสังคม และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้แนวคิดการสอนแนะของ Helfer and Wilson (1982) ที่ประกอบด้วยคู่มือแนวทางการดำเนินกิจกรรมการดูแลทารกแรกเกิดในการป้องกันภาวะ ตัวเหลือง ภาพพลิก และแผนการสอน กำกับการทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะในการป้องกันภาวะตัวเหลือง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะ ตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะตัวเหลือง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 แบบประเมินทักษะในการป้องกันภาวะ ตัวเหลือง มีค่า Interrater reliability เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (Independent t-test)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดา ไม่เพียงพอในทารกแรกเกิดครบกำหนด ของกลุ่มที่มารดาได้รับโปรแกรมการสอนแนะสูงกว่ากลุ่มที่มารดาได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to compare maternal behavior to prevent breast feeding jaundice in full term neonate between mothers receiving coaching program and those receiving usual care. The participants were mothers and their healthy full term neonate weighed not less than 2,500 grams and gestational age between 37 and 42 weeks. Subjects were assigned to the control group first, then to the experimental group, 20 pairs each. Groups were matched by educational level, experience in caring for full term jaundice neonate and level of social support. The experimental group received coaching program, and the control group received routine nursing care. The coaching program consisted of activity guideline manual, a handbook for breast feeding jaundice prevention, flipchart and lesson plan. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. Maternal skills to prevent breast feeding jaundice was evaluated to monitor the intervention effect. Its interrater-reliability was at 1. The questionnaire of maternal behavior to prevent breast feeding jaundice was used to collect the data. Its Cronbach’s alpha coefficient was at .91. Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. Major findings were as follow: The mean score of maternal behavior to prevent breast feeding jaundice in full term neonate in the experimental group participating in the coaching program was significantly higher than that of the control group at a level of .01en
dc.format.extent10819553 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1548-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทารกแรกเกิดen
dc.subjectทารก -- การดูแลen
dc.subjectดีซ่านในทารกแรกเกิดen
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en
dc.titleผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมมารดาในการป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับนมมารดาไม่เพียงพอในทารกแรกเกิดครบกำหนดen
dc.title.alternativeThe effect of coaching program on maternal behavior to prevent breast feeding jaundice in full term neonateen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRatsiri.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1548-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suntharee_mo.pdf10.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.