Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28696
Title: | วัฏจักรธุรกิจระหว่างประเทศและการส่งผ่านผลกระทบ กรณีศึกษากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Other Titles: | International business cycle and its transmission in the Southeast Asian economies |
Authors: | วันชนะ ธนูรัตน์ |
Advisors: | สมประวิณ มันประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | somprawin@yahoo.com |
Subjects: | วัฏจักรธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเปิดประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้นโยบายสนับสนุนการส่งออกและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ความใกล้ชิดกันทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนไหวร่วมกันของวัฏจักรธุรกิจระหว่างประเทศผ่านความเชื่อมโยงทางการผลิตทั้งในแนวดิ่ง (Vertical) และแนวราบ (Horizontal) งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งประเด็นเพื่อศึกษาวัฏจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลุ่มประเทศอื่นๆ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์และรูปแบบของวัฏจักรธุรกิจที่เกิดขึ้น การศึกษาใช้ข้อมูลส่วนวัฏจักรธุรกิจที่ได้จากการกรองข้อมูลของตัวแปรมหภาคต่างๆและนำมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งแบบปกติและแบบเคลื่อนที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นทางการค้ากับการเคลื่อนไหวร่วมกันของวัฏจักรธุรกิจด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุด และทำการวิเคราะห์แบบจำลองเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและกระบวนการร่วมกันผลิตสินค้าที่มีต่อการเคลื่อนไหวร่วมกันของวัฏจักรธุรกิจ โดยใช้พื้นฐานจากทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจจริงโดยใช้การจำลอง (Model Simulation) ในการร่วมอธิบายปรากฏการณ์วัฏจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่าวัฎจักรของผลผลิตที่แท้จริงและผลผลิตอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนไหวร่วมกันในอัตราที่สูงที่สุดภายในภูมิภาคในขณะที่ความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นๆเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาโดยพบความสัมพันธ์ทางด้านบวกระหว่างความเข้มข้นทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นกับการเคลื่อนไหวร่วมกันของวัฏจักรธุรกิจกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการศึกษาจากแบบจำลองพบว่าทั้งอัตราการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการร่วมกันผลิตสินค้าภายในแบบจำลองและปัจจัยอื่นๆภายนอกแบบจำลอง เช่น ความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต และ สหสัมพันธ์ของระดับเทคโนโลยี มีผลสำคัญต่อการเคลื่อนไหวร่วมกันของวัฏจักรธุรกิจ |
Other Abstract: | International economic activities have been important driving factors to most of ASEAN countries in recent years. Trade openness index reveals that the region has been increasing its exposure to international trade over time. Partly, this incidence has been motivated by an export-led growth policy as well as an ongoing regional integration scheme. Rising common activities has direct effect to the pattern of international business cycle within the region, through both vertical and horizontal production network. This study aims to analyze the business cycle within ASEAN countries and between ASEAN and other regions. The study calculated static and dynamics of business cycle correlations in macroeconomic variables, especially output correlation within ASEAN countries and other regions. By using the data filtered by HP-filter method, the study explored the nature of business cycle and the level of economic integration. The relationship between trade intensity and co-movement of business cycle was examined by OLS method. The study also employed a multi-stage production model based on Real Business Cycle (RBC) theory to represent the manufacturing and production sharing structure. Model simulation results portray an explanation of the international business cycle co-movement between countries and regions. The data show highly co-movement of business cycle within ASEAN countries. Economic correlations of ASEAN countries and other regions have changed variably over time. However, the results show positive correlation between trade intensity and co-movement of business cycle with China. The model results also suggest positive co-movement of output correlation between two countries depended on overall bilateral trade quantity and the ratio of vertical integration goods in bilateral trade by a set of exogenous variables. These show the role of international trade and production sharing in the transmission mechanism of international business cycle. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28696 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1549 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1549 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanchana_ta.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.