Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28702
Title: การเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบอากาศนิยมระหว่างผู้รับประทานอาหาร มังสวิรัติและผู้รับประทานอาหารทั่วไป
Other Titles: A comparison of aerobic exercise efficts between vegetarians and non-vegetarians
Authors: วันชัย บุญรอด
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบอากาศนิยมที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติและผู้รับประทานอาหารทั่วไปและเพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบอากาศนิยม ระหว่างผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติและผู้รับประทานอาหารทั่วไป กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีจับคู่ (Matched Group) กลุ่มละ 15 คน กลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นชายซึ่งเป็นสมาชิกชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทยมีอายุเฉลี่ย 21.40 ปี กลุ่มผู้รับประทานอาหารทั่วไป เป็นนักศึกษาชายวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ มีอายุเฉลี่ย 20.13 ปี ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกขี่จักรยานอยู่กับที่โดยให้ความหนักของงานเท่ากับ 70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ทำการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆละ 20 นาที ขณะฝึกทำการวัดสมรรถภาพทางกายในด้านอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิต เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเป็นระยะๆ คือหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และเมื่อสิ้นสุดการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามวิธีสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีตูกี (เอ) ผลการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบอากาศนิยมทำให้อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักและความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของทั้งสองกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 และทำให้สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลง การ เปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบอากาศนิยมระหว่างกลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติและกลุ่มรับประทานอาหารทั่วไป พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the aerobic exercise effects on physical fitness of vegetarians and non-vegetarians and to compare the aerobic exercise effects between vegetarians and non-vegetarians. The subjects were divided into two groups by matched group. Each group consisted of fifteen males. The vegetarians group was a member of the Thailand Vegetarians Club and non-vegetarians group was the Eaimlaor Vocational Students. Both group were trained on exercise bicycle at 70% of maximum heart rate for eight weeks with three days a week and twenty minutes a day. The resting heart rate, the resting blood pressure, the percent of body fat and the maximum oxygen uptake were taken on the second week, the fourth week, the sixth week and the eighth week respectively. The results were then statistically analyzed by means, standard deviation, Two-way ANOVA and Tukey (a). The results indicated that: There were significant differences at the .01 level on the aerobic exercise which decreased the resting heart rate, the resting systolic blood pressure and. increased the maximum oxygen uptake. There were no significant differences at the .05 level on the resting diastolic blood pressure and the percent of body fat. The results of the comparison between two groups of aerobic exercise program came out with no significant differences at the .05 level on the resting heart rate, the resting diastolic blood pressure, the percent of body fat and the maximum oxygen -uptake but there was a significant difference at the .01 level on the resting systolic blood pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28702
ISBN: 9745679623
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_bo_front.pdf11.8 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_ch1.pdf10.2 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_ch2.pdf13.85 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_ch3.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_ch4.pdf23.33 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_ch5.pdf13.71 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_bo_back.pdf27.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.