Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28705
Title: บทบาทในการพัฒนาชนบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จังหวัดลำปาง
Other Titles: Rural development roles of small secondary schools under the jurisdiction of the department of general education as perceived by educationa administrators, teachers, and related government officials, Changwat Lampang
Authors: วันชัย ภูมี
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทในการพัฒนาชนบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท จังหวัดลำปาง 2. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท จังหวัดลำปาง เกี่ยวกับบทบาทในการพัฒนาชนบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชนบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท จังหวัดลำปาง ผลการวิจัย การมีบทบาทในการพัฒนาชนบทและปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาชนบท ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลำปางสรุปได้ว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง ได้มีการปฏิบัติในบทบาทการพัฒนาชนบทในระดับน้อย เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและความมั่นคงของชาติ การพัฒนาด้านการกีฬา นันทนาการ และพลานามัย การพัฒนาด้านศาสนาและศีลธรรม และการพัฒนาด้านการศึกษา ตลอดชีวิตอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ, การพัฒนาด้านสังคมและชนบท และการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ส่งเสริมประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมอยู่ในระดับน้อย 2.การรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท จังหวัดลำปาง เกี่ยวกับบทบาทในการพัฒนาชนบทด้านการพัฒนาด้านศาสนาและศีลธรรม และด้านการอนุรักษ์ส่งเสริมประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติในบทบาทการพัฒนาชนบทด้านอื่นๆอีก 5 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาด้านสังคมและชนบท ด้านการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและความมั่นคงของชาติ ด้านการกีฬา นันทนาการและอนามัยและด้านการพัฒนาด้านการศึกษาตลอดชีวิต มีความแตกต่างกัน 3. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชนบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่เป็นปัญหามากคือ การขาดแคลนอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือ การขาดงบประมาณที่จะใช้สนับสนุนบุคลากรของโรงเรียนมีงานประจำด้านอื่นมาก สามารถปฏิบัติงานการพัฒนาชนบทได้อย่างเต็มที่และบุคลากรของโรงเรียนขาดประสบการณ์และความรู้ในการพัฒนาชนบท
Other Abstract: Objectives 1. To study the rural development roles of small secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education as perceived by educational administrators, teachers, and related government officials, Changwat Lamoang 2. To compare the perception of educational administrators, teachers, and related government officials, in changwat Lampang 3. To study the problems and obstacles of rural development of small secondary Schools as perceived by educational administrators, teachers and related government officials, changwat Lampang Findings Rural development roles as well as problems and obstacles of rural development of small secondary schools under the jurisdiction of the department of general education Changwat Lampang can be concluded as follow: 1. Educational administrators, teachers ,and related government official perceived that small Secondary schools under the jurisdiction of the department of general education in Changwat Lampang were less active in democracy development sports, recreation and healthy development, social and rural development, rural conservative of art and culture development 2. The perception of educational administrators, teachers, and related government officials pertaining 1 development were not different. Their perceptions, according to social and rural development, democracy development, sports recreation and health, and long life education were significantly different. 3. Problems and obstacles in rural development of the small secondary schools were lack of instruments and budget. School personals were experience and limited with lack of routine work.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28705
ISBN: 9745684228
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wunchai_ph_front.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_ch1.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_ch2.pdf17.58 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_ch3.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_ch4.pdf55.82 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_ch5.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open
Wunchai_ph_back.pdf20.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.