Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28746
Title: การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับรูปแบบการขนส่งทางอากาศ ภายในประเทศของไทย
Other Titles: An economic analysis of the pattern of domestic air transport in Thailand
Authors: วันทิยา เจริญยิ่ง
Advisors: ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ โดย พิจารณาปริมาณการเดินทางไปช่วงระหว่าง 2518-2528 รวมทั้งปัจจัยความสัมพันธ์กับปริมาณ การเดินทาง และศึกษาถึงบทบาทของภาครัฐบาลในการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ โดยเน้นถึง ผลกระทบของการพัฒนาท่าอากาศยานต่อผลผลิตและการจ้างงานของประเทศ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและผลผลิตและทฤษฏีพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ประกอบกับแบบจำลอง กราวิฑัต (Gravity Model) ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของการกระจายการเดินทางทางอากาศภายในประเทศในแต่ละท่าอากาศยานและเส้นทางบินเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวอยู่ในเส้นทางบินที่เชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานที่เป็นเป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศภายในประเทศ และการเดินทางในเส้นทางบินลักษณะนี้มีการผันแปรน้อยกว่าในเส้นทางบินที่มีปริมาณการเดินทางน้อย จากการศึกษาพบว่าค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายจังหวัดต่อคน และจำนวนประชากรเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการเดินทางทางอากาศในประเทศโดยมีค่าความยืดหยุ่นต่อปริมาณการเดินทางเป็นบวก และในส่วนของการศึกษาการพัฒนาท่าอากาศ ยานให้บริการการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ ปรากฏว่าลักษณะของการกระจายการพัฒนาอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากความจำกัดของงบประมาณประกอบกับลักษณะของพื้นฐานของการขนส่งทางอากาศที่มีต้นทุนสูง อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาท่าอากาศยานนี้ได้ก่อให้เกิดผลผลิตและการจ้างงานของประเทศเพิ่มขึ้นมากพอควร
Other Abstract: The purpose of this research is to consider the pattern of domestic air transport in Thailand during the years 1975-1985 and the factors related to traffic volume, and to study the role of the public sector with an emphasis on its impact on output and employment of the whole economy. Input-output analysis and basic economic theory combined with the Gravity Model are used in the study. It was found that domestic air transport traffic was unevenly distributed among airports and routes. Concentration was found on routes linking between major domestic airports of which variations in traffic volumes were less than routes having lower traffic volumes. Gross provincial product per capita and the number of population were main determinants of domestic air transport traffic volume, with positive values of elasticity. Distribution of airport development was limited to a group of airports due to budget constraints and high cost of infrastructure involved. The development of airports has, however, resulted in a significant increase in output and employment of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28746
ISBN: 9745692654
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kandthiya_ch_front.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch1.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch2.pdf13.67 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch3.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch4.pdf15.99 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch5.pdf11.56 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_ch6.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Kandthiya_ch_back.pdf50.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.