Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28777
Title: The study of the optimal design of corrugated-box for can-products
Other Titles: การศึกษาการออกแบบที่เหมาะสมของกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับเครื่องกระป๋อง
Authors: Lertchai Ratana-arporn
Advisors: Ampika Krairit
Poon Kongcharoenkiat
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 1985
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: The objective of this research is to study factors affecting both the strength of corrugated fibreboard boxes and the products contained therein. In this research, for popularity reason, corrugated fibreboard box and canned sardine represent the package system. The study is conducted to determine the mechanical properties of box material after in-house transportation (from factory to warehouse), and then to compare the test results with those obtained from similar boxes before packing to evaluate the selected residual strength. The obtained data will be useful in views of the optimal design of corrugated fibreboard boxes for canned products. This research reveals that the main factors affecting the strength of corrugated fibreboard boxes are frequency of handling and transportation, storing duration, and transporting distances. The analysis of the first stage of the test results, before proposing the appropriate box, reveals that the affected mechanical property of corrugated fibreboard boxes, where the transporting distance and the storage period are short (40 km and 2 days, approx., respectively) is the box compression strength (a decrease by 33 %, approx.). On the other hand, where the transporting distance as well as the storage period are long (over 800 km and 60 days, respectively), the box compression strength, the flat crush resistance and the edgewise crush resistance all suffer a decrease of approximately 72 %, 60 % and 49 %, respectively. The analysis of the second stage of the test results (the proposal of the appropriate box stage) reveals that : 1. Box of regular slotted container style with top-loading type gives a heigher mechanical strength than that of end-loading type. 2. RSC, top-loading box with inside dimensions properly fitting the contained can-products shall decrease damage of box in view of the box compression strength. 3. The bursting strength value of corrugated box does not depend upon frequency of handling and transportation, storing duration, and transporting distances. The bursting strength of pre-packing and post-shipment boxes is rarely different, so long as, there is no crack or tear shown on either inner surface or outer surface of the box. The test results show that the bursting strength value of corrugated board is higher when the side of board with a higher basis weight of liner is placed in contact with the diaphragm of the Mullen Tester. 4. The proposed boxes can decrease the cost per unit of corrugated boxes, i.e. RSC, top-loading and end-loading shall be decreased by 21.94 % and 29.94 %, respectively. Fram the research, it can be concluded that the appropriate design of corrugated box used in testing in the selected canning factory, in views of adequate strength of box, low in cost and comfort, packing, is RSC (top-loading) box with inside dimensions properly fitting the contained can-products.
Other Abstract: การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อกล่องกระดาษลูกฟูก ซึ่งจะส่งผลไปยังผลิตภัณฑ์ที่บรรจุภายในโดยตรง ในการวิจัยนี้ให้กล่องกระดาษลูกฟูก เป็นตัวแทนของหีบห่อบรรจุ และให้ปลาซาร์ดีนกระป๋องเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ ภายใน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตและเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางที่ สุด ทั้งนี้จะเริ่มทำการวิจัยด้วยการศึกษากรรมวิธีการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก และปัญหาต่างๆ ก่อนที่จะถูกส่งมายังโรงานผู้ผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องเพื่อการบรรจุและขนส่งไปยังจุดหมาย ในระหว่างการขนส่งจะศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อกล่องและปลาซาร์ดีนกระป๋องที่บรรจุภายในตั้งแต่ ณ. ที่โรงงานผู้ผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องจนถึงที่หมาย จากนั้นจะนำกล่องที่ผ่านการขนส่งมาแล้วไปทดสอบหาดวามแข็งแรงที่เหลือของคุณสมบัติต่างๆ ของกล่อง เช่น ความต้านแรงดันทะลุ (bursting strength) ความต้านแรงทิ่มทะลุ (puncture resistance) ความต้านทานแรงกดวงแหวน (ring crush resistance) ความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูก (flat crush resistance) ความต้านทานแรงกดตามแนวตั้ง (edgewise crush resistance) และความสามารถในการรับแรงกดบนตัวกล่อง (box compression strength) โดยเปรียบเทียบกับความแข็งแรงของกล่องชนิด เดียวกัน แต่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เพื่อดูว่ามีอิทธิพลอะไรบ้างที่มีผลกระทบต่อกล่องเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ และพิจารณาออกแบบกล่องกระดาษ ลูกฟูกที่เหมาะสมกับปลาซาร์ดีนกระป๋องต่อไป จากการศึกษาและการวิจัยพบว่าอิทธิพลที่มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษลูกฟูกคือ ความถี่ของการขนย้ายกล่องกระดาษลูกฟูก (ที่บรรจุปลาซาร์ดีนกระป๋องแล้ว ) ระยะ เวลาของการเก็บรักษาไว้ในคลังเก็บสินค้า และระยะทางของการขนส่งจากโรงงานผู้ผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋อง จนถึงที่หมาย การวิเคราะห์ผลทดสอบกล่องกระดาษลูกฟูกครั้งแรกเพื่อนาผลที่ได้ไปสร้างกล่องในรูปแบบที่ เหมาะสมพบว่า กล่องที่มีระยะทางการขนส่งใกล้ๆ (ประมาณ 40 กิโลเมตร) และมีระยะเวลาการเก็บรักษาช่วงสั้นๆ (ประมาณ 2 วัน) คุณสมบัติเของกล่องที่ลดลงไปคือ ความสามารถในการรับแรงกดบนตัวกล่อง ( box compression strength) ลดลงประมาณ 33% แต่ในกรณีของกล่องที่มีระยะทางการขนส่งไกลๆ (กว่า 800 กิโลเมตร) และมีระยะเวลาการเก็บรักษานาน (กว่า 60 วัน) คุณสมบัติของกล่องที่ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ความสามารถในการรับแรงกดบนตัวกล่อง ( box compression strength) ลดลงถึง 72% ความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูก (flat crush resistance) ลดลงประมาณ 60 % และความต้านทานแรงกดตามแนวตั้ง (edgewise crush resistance) ลดลงประมาณ 49% หลังจากการทดสอบและการวิเคราะห์ผลของกล่องรูปแบบสร้างขึ้น พบว่ามีคุณสมบัติที่ เหมาะสมดังนี้ 1. กล่องกระดาษลูกฟูกแบบ Regular Slotted Container ชนิดฝาเปิดด้านบน (top-loading) มีความแข็งแรงมากกว่ากล่องแบบ Regular Slotted Container ชนิดฝาเปิดด้านข้าง (end-loading) 2. สำหรับกล่องแบบ RSC ชนิด top-loading จากการวิจัยพบว่ากล่องที่มีมิติภายในพอดีกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ (เครื่องกระป๋อง) จะช่วยลดผลกระทบของกล่องในด้านความ สามารถในการรับแรงกดบนตัวกล่องได้ดี เนื่องจากกล่องที่มีช่องว่างภายในมากจะทำให้กระป๋อง เกิดการกระแทกกันระหว่างการขนส่งซึ่งมีผลกระทบต่อค่าความสามารถในการรับแรงกดบนตัวกล่องโดยตรง 3. ค่าความต้านแรงดันทะลุ (bursting strength) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการ ใช้งานของกล่อง เช่น ระยะทางของการขนส่ง ความถี่ของการขนย้ายกล่อง หรือ ระยะเวลา ของการเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้า เป็นต้น ตราบใดที่ผิวกล่องไม่มีรอยแตกหรือฉีกขาด ค่าความ ต้านแรงดันทะลุของกล่องก่อนการบรรจุกับกล่องหลังการขนส่งจะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก นอกจากนี้ยังพบว่า ในการทดสอบค่าความต้านแรงดันทะลุของแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ ใช้ทำกล่องเมื่อให้กระดาษทำผิวกล่องด้านที่มีน้ำหนักมาตรฐานต่ำหงายขึ้น จะได้ค่าความต้านแรงดันทะลุที่สูงกว่าเมื่อให้กระดาษทำผิวกล่องด้านที่มีน้ำหนักมาตรฐานต่ำคว่ำลง 4. กล่องในรูปแบบที่สร้างขึ้นใหม่ช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลง กล่าวคือกล่องแบบ RSC ชนิด top-loading มีต้นทุนต่ำลง 21.94% กล่องแบบ RSC ชนิด end-loading มีต้นทุนต่ำลง 28.94 % อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยสรุปผลได้ว่า กล่องกระดาษลูกฟูกที่เหมาะสมสำหรับการ บรรจุเครื่องกระป๋องทั้งในด้านความแข็งแรงของกล่อง ต้นทุนต่ำและความสะดวกในการบรรจุ หรือขนย้าย คือกล่องแบบ RSC ชนิด top-loading ที่มีมิติภายในพอดีกับผลิตภัณฑ์
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 1985
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28777
ISBN: 9745660027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lertchai_ra_front.pdf14.21 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_ch1.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_ch2.pdf11.77 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_ch3.pdf19.35 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_ch4.pdf28.93 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_ch5.pdf11.55 MBAdobe PDFView/Open
Lertchai_ra_back.pdf30.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.