Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28794
Title: | การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีสำเร็จรูป |
Other Titles: | Development of network storage for small network using off-the-shelf technology |
Authors: | วีรภัทร พรหมชนะ |
Advisors: | ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ เกริก ภิรมย์โสภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | natawut@cp.eng.chula.ac.th Krerk@cp.eng.chula.ac.th |
Subjects: | การแบ่งปันแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายที่เก็บข้อมูล การออกแบบระบบ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แนวโนมของข้อมูลต่างๆ ที่มุ่งหน้าสู่ยุคดิจิทัล และอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้ค่อยๆ กลายมาเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดความต้องการในการจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลขึ้นอย่างมากรวมถึงผู้ใช้ตามบ้าน หรือสำนักงานขนาดเล็ก เครื่องบริการไฟล์มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล แต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงพอต่อความต้องการ การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนั้นทำได้ลำบาก หรือยุ่งยากต่อการบริหารจัดการ ส่วนระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจขนาดใหญ่นั้นมีต้นทุนที่สูงเกินไปสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก การนำเทคโนโลยีสำเร็จรูปที่มีอยู่มากมายอย่างเช่น อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะช่วยลดข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ได้ งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองของ ระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายแบบขยายได้ ซึ่งคือ ระบบบันทึกข้อมูลบนเครือข่ายที่สามารถเพิ่มอุปกรณ์บันทึกข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ และให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานต่างๆ โดยงานวิจัยนี้ได้วิเคราะส่วนประกอบต่างๆที่มีอยู่แพร่หลาย และเหมาะในการสร้างระบบบันทึกบนเครือข่ายแบบขยายได้ ซึ่งได้แก่ ระบบไฟล์ โพรโตคอลในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ ความเร็วของระบบเครือข่าย และรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย |
Other Abstract: | The emerging trends of digital-data and network equipped devices have become common. This leads to the needs for storing and sharing contents in large-scale even home or small office. A file server plays very important role in content sharing. However, the data are increasing over time in limited storage spaces. Increasing storage spaces are also difficult to manage. And enterprise class storage system cost too high for small network. Utilizing of Off-the-shelf technology that are available widely such as home use equipment and open source software can lower these limits. This research proposes a model of Extensible Network Storage in which a network storage system that can automatically detect a newly added storage device and merge in to an existing system and also provide maximum efficiency. In this research, analyzing components that are widely available and suitable for extensible network storage such as file system, protocol, network speed and network topology. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28794 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1560 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1560 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
veerapat_ph.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.