Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28822
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
dc.contributor.authorภัทรินทร์ หงษ์ทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-11T03:42:01Z
dc.date.available2013-02-11T03:42:01Z
dc.date.issued2532
dc.identifier.isbn9745697931
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28822
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อทราบถึงสภาพพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สภาพพฤติกรรมความเป็นอยู่ของประชากรสถาบันการศึกษา (นักศึกษาและบุคลากร) และประชาชน เพื่อเสนอแนวทางในการวางแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของสถาบันการศึกษาในบริเวณชุมชนสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ - คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยที่ชุมชนบางขันเป็นศูนย์กลางให้บริการแก่สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อันได้แก่ วิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จากการสำรวจพบว่าประชากรสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะพักอยู่ในกรุงเทพมหานคร นิยมเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา นักศึกษามีรายได้ 1,000 -1,500 บาทต่อเดือน เป็นส่วนใหญ่ บุคลากร 1,200 -5,500 บาท ปัญหาที่ประสบมักเป็นเรื่องของมลภาวะจากอุตสาหกรรม การเดินทางและการข้ามถนน สาธารณูปโภค และการหาซื้อสิ่งของไม่ได้ตามความต้องการ ทั้งนักศึกษา บุคลากรและประชาชน ต่างยอมรับว่า มีความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เมื่อสถาบันการศึกษาไปตั้งทั้งด้าน กายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและประชาชนในบริเวณใกล้เคียงมักต้องการให้ชุมชนมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะผู้มาอยู่ใหม่ซึ่งมักต้องการค้าขายหรือหางานทำ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกันทั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่และชุมชน จึงเสนอแนะแนวทาง 4 ด้าน คือ 1) กำหนดแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดิน อันได้แก่การใช้ที่ดินเพื่อสถาบันการศึกษา ซึ่งถ้าให้มีการใช้ที่ดินได้ถึง 0.02 ไร่/ประชากรสถาบันการศึกษา 1 คน แต่ละสถาบันก็จะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขยายตัวในอนาคต การใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมควรมีการส่งเสริมในพื้นที่ชุมชนบางขันให้มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ การใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมควรจำกัดเฉพาะ 2 บริเวณใหญ่ๆที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การใช้ที่ดินเพื่อการพักอาศัยควรอยู่ภายในรัศมี 5 กม. จากศูนย์กลางชุมชนบางขัน และควรรักษาพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบไว้ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนที่มีอุตสาหกรรมอยู่มาก 2) ปรับปรุงโครงข่ายบริการพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ถนนสายบางขัน-คลองหลวงและบางขัน-เชียงราก สร้างสะพานลอยคนข้ามถนนใน 3 จุด และการบริการสาธารณะบางประเภท 3) ป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในชุมชนทั้งจากโรงงานและการคมนาคม รวมไปถึง 4) ปัญหาสังคมที่จะส่งผลต่อความสงบและปลอดภัยในชุมชนและความเป็นอยู่ของประชากรสถาบันการศึกษา ก็ควรได้รับการพิจารณาป้องกันและแก้ไขด้วย นอกจากนี้เพื่อเป็นการประสานประโยชน์กันระหว่างสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมซึ่งมีความสำคัญอยู่ในชุมชน สถาบันการศึกษาที่มีอยู่และที่จะเกิดใหม่ควรพิจารณาให้ความสำคัญกับนโยบายสถาบันการศึกษาเพื่อเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม หรือ/และอุตสาหกรรมทางการเกษตร
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study was to explore the existing situation of the area which the higher educational institutes located, the way of life of students and staff and to propose the guidelines for development plan in the area Sukhapibal Prachatipat-Khlong Luang, Changwat Pathum Thani which has Bang Khan community as a service center for the institutes. These institutes are Rangsit College, Bangkok University, Thammasat University, Asian Institute of Technology and Pechaburi wittayalongkorn teacher's college. From the survey, it was found that most of students and staff lived in Bangkok and usually traveled to institutes by ordinary buses. The problems they faced are about pollution from factories, travelling and crossing Phaholyothin Road, some utilities and unsatisfied shopping. Students, staff and people said that when the institutes were established, there were changing in physical, economical and social aspects in the area of vicinity. People would like their community to be more developed, especially a group of new livings. For the higher educational institutes-and the community to be supported each other, a aspects were proposed:- 1) Guidelines for land use planning ; which are higher educational land use ; commercial land use, especially in Bang Khan community ; industrial land use which should be in the two major area, according to existing condition ; residential land use which should be within 5 km. from Bang Khan community center ; and agricultural land use around the community which should be preserved as much as possible for the good environment in the community which has industry as an .important role. 2) Improving of infrastructure such as transportation and some utilities. 3) Maintaining good environment in the community which has some problems from factories and transportation. Finally, it should be included, 4) Regarding of some social problems which may have some influences to the community and higher educational institutes. Besides this, in order to compromise between higher educational institutes, industries and agriculture which are important in the area, the institutes or new higher educational institutes should consider the policy of the institutes of industrial technology or/and agricultural industry.
dc.format.extent7689036 bytes
dc.format.extent4859948 bytes
dc.format.extent24683167 bytes
dc.format.extent10357996 bytes
dc.format.extent15250625 bytes
dc.format.extent32041606 bytes
dc.format.extent5408138 bytes
dc.format.extent11435474 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อันเนื่องจากการขยายตัวของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา : กรณีศึกษา ชุมชนบางขัน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีen
dc.title.alternativeA guideline study for development plan due to expansion of the higher educational institutes : a case study of Bang Kuan /community in Amphoe Khlong Luang, Changwat Pathum Thanien
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhattarin_ho_front.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch1.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch2.pdf24.1 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch3.pdf10.12 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch4.pdf14.89 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch5.pdf31.29 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_ch6.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Bhattarin_ho_back.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.