Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28836
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชมพูนุช โสภาจารีย์-
dc.contributor.authorปารรีนา ปรียาโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-11T07:34:28Z-
dc.date.available2013-02-11T07:34:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28836-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นหลอดเลือดหัวใจ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรุนแรงของโรค ความวิตกกังวล การรับรู้ความเสี่ยง และการสนับสนุนทางสังคมกับการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และเพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจจากอายุ ความรุนแรงของโรค ความวิตกกังวล การรับรู้ความเสี่ยง และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 110 รายเป็นหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับการนัดตรวจติดตามที่สถาบันโรคทรวงอก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรุนแรงของโรค แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบบันทึกการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ แบบสอบถามทั้ง 4 ชุดได้รับการตรวจสอบค่าความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคระหว่าง .72 และ .92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ฟี สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจร้อยละ 88.24 2. ความวิตกกังวล การรับรู้ความเสี่ยง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = .22, .22, และ .46, ตามลำดับ p<.05) ส่วนอายุและความรุนแรงของโรคไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) 3. อายุ ความรุนแรงของโรค ความวิตกกังวล การรับรู้ความเสี่ยง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยสามารถทำนายการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจได้ถูกต้องร้อยละ 89.10en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to determine cardiac rehabilitation participation rate among women with cardiovascular disease, to examine the relationship between age, severity of disease, anxiety, perceived risks, social support and cardiac rehabilitation participation, and to determine abilities of age, severity of disease, anxiety, perceived risks and social support in predicting cardiac rehabilitation participation. Study sample consisted of 110 women with cardiovascular disease and received a follow up appointment at Chest Disease Institute. Systematic random sampling technique was used to recruited subjects for this study. Data collection instruments were demographic data sheet, severity of disease scale, anxiety scale, perceived risks scale, social support scale, and cardiac rehabilitation participation record. The internal consistencies of the four scales were established. Cronbach’s alpha coefficients were between .72 and .92. Statistical techniques used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Phi coefficient, Point-Biserial Correlation and Logistic Regression. Major finding were as follows: 1. Cardiac rehabilitation participation rate among women with cardiovascular disease was 88.24 %. 2. Anxiety, perceived risks, and social support were significantly positively correlated with cardiac rehabilitation participation (rpb = .22, .22 and .46, respectively, p < .05). Age and severity of disease were not correlated with cardiac rehabilitation participation (p>.05). 3. Age, severity of disease, anxiety, perceived risks, social support were able to predict cardiac rehabilitation participation among women with cardiovascular disease with a total correct percentage =89.10.en
dc.format.extent1272136 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1867-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือด -- โรคen
dc.subjectหัวใจ -- โรคen
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วยen
dc.subjectโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในหญิงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดen
dc.title.alternativeSelected factors related to cardiac rehabilitation participation among women with cardiovascular diseaseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChompunut.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1867-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parnreena_pr.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.