Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2888
Title: | การคัดกรองราย่อยไดเบนโซฟิวแรนจากดินเพื่อศักยภาพในการย่อยสลายไดออกซิน |
Other Titles: | Screening of dibenzofuran-degrading fungi from soil for potential use of dioxin degradation |
Authors: | ปัทมาพร ประชุมรัตน์, 2522- |
Advisors: | ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Charnwit@sc.chula.ac.th, Charnwit.K@Chula.ac.th |
Subjects: | เชื้อรา ไดเบนโซฟิวแรน การย่อยสลายทางชีวภาพ ไดออกซิน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ราย่อยสลายไดเบนโซฟูแรน 5 สายพันธุ์ ถูกคัดแยกจากตัวอย่างดินที่เก็บจากป่าบริเวณต่างๆในประเทศไทย โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง Czapek-Dox agar เททับด้วย malt extract agar ที่มีการเติมสี Remazol Brilliant Blue R (RBBR) และ Benomyl นำราทั้ง 5 สายพันธุ์ไปทดสอบความสามารถในการใช้สี RBBR เป็นแหล่งคาร์บอนเพียงอย่างเดียวในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว miniral salt medium (MM) พบว่าราทั้ง 5 สายพันธุ์ไม่สามารถเจริญและใช้สี RBBR ในอาหาร MM ได้ จากนั้นนำไปทดสอบความสามารถในการย่อยสี RBBR ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Low nitrogen basal III medium (LN) โดยเอนไซม์ลิกนินเปอร์ออกซิเดส พบว่าราทั้ง 5 สายพันธุ์สามารถย่อยสี RBBR ในอาหาร LN ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ชนิดของราโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุศาสตร์ การพิสูจน์เอกลักษณ์ราโดยวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ประมวลรหัสของตำแหน่ง internal transcribed spacer (ITS) พบว่าราที่คัดแยกได้ทั้งทั้งหมดเป็นราในกลุ่ม white rot fungi ได้แก่ Marasmius cladophyllus , Phanerochaete crysosporium, Lentinus tigrinus, Polyporus tricholoma และ Athelia pellicularis จากนั้นนำราทั้ง 5 สายพันธุ์ไปทดสอบความสามารถในการย่อยสลายไดเบนโซฟูแรนในอาหาร LN โดยใช้ HPLC Polyporus tricholoma พบว่าราสายพันธุ์ P. tricholoma สามารถย่อยไดเบนโซฟูแรนได้สูงสุดคือ 78.7 เปอร์เซ็นต์ ศึกษาสารมัธยันตร์ที่เกิดขึ้นในการย่อยสลายไดเบนโซฟูแรนโดยรา P. tricholoma โดยวิธี TLC และ HPLC พบว่าสารมัธยัตร์ที่เกิดมีจำนวนมากกว่า 2 ชนิดและเป็นสารที่มีคุณสมบัติมีขั้วสูง |
Other Abstract: | Five strains of dibenzofuran degradation fungi were isolated from forested soil samples in Thailand by using double layers agar with Remazol Brilliant Blue R (RBBR) and Benomyl containing malt extract agar on top of Czapek-Dox agar. The fungi were tested for their ability of RBBR decolorization in miniral salt medium (MM) using dye as a sole carbon source and low nitrogen basal III medium (LN) for testing lignin peroxidase activity. It was found that the fungi could not utilize RBBR as the sole carbon source in MM but in LN its could degrade RBBR more than 80 percent. Morphological study and internal transcribed spacer (ITS) sequencing analysis indicated that there were five different strain of white rot fungi, Marasmius cladophyllus, Phanerochaete crysosporium, Lentinus tigrinus, Polyporus tricholoma and Athelia pellicularis. After that the isolated fungi were tested for dibenzofuran degrading ability by using HPLC for analysing the 7 days culture supernatant. Among these isolates, Phanerochaete crysosporium, Polyporus tricholoma and Athelia pellicularis could degrade dibenzofuran more than 50 percent. Polyporus tricholoma was the most effective strain (78.7 %degradation). Metabolite analysis of dibenzofuran degradation by using TLC and HPLC shown that there were at least two metabolic compounds during dibenzofuran degradation by Polyporus tricholoma. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2888 |
ISBN: | 9741752598 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattamaporn.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.