Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28910
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขวัญดี อัตวาวุฒิชัย
dc.contributor.advisorวิจิตร เกิดวิสิษฐ์
dc.contributor.authorอัลภา อัลภาชน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-19T02:08:37Z
dc.date.available2013-02-19T02:08:37Z
dc.date.issued2530
dc.identifier.isbn9745674567
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28910
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์พุทธปรัชญาเรื่องกรรมในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน ในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2505 -2515 โดยศึกษาถึงพุทธปรัชญาเรื่องกรรมที่นักเขียนนำไปใช้ในนวนิยายโดยมีลำดับขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ คือ ในขั้นแรก เป็นการศึกษาพุทธปรัชญาเรื่องกรรมโดยศึกษาถึงความหมายของกรรมและกฎแห่งกรรม ประเภทของกรรม สาเหตุแห่งกรรม กรรมกับการให้ผล ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมและวิบากกรรม จากการศึกษาพบว่า กิเลสทำให้เกิดกรรมและกรรมทำให้เกิดวิบากกรรมเป็นวัฏฏะ 3 วนเวียนเช่นนี้อยู่ไม่จบสิ้น ความเข้าใจเรื่องผลของกรรม ยังเข้าใจสับสนกันอยู่บ้างในระหว่างพุทธศาสนิกชน และนักประพันธ์ได้สะท้อนพุทธปรัชญาเรื่องกรรมใน นวนิยายของตนอีกด้วย ขั้นที่สอง เป็นการศึกษาพุทธปรัชญาเรื่องกรรมในวรรณกรรมไทยยุคก่อน นวนิยาย พ.ศ. 2515 โดยศึกษาในแง่รูปแบบการนำเสนอ จากการศึกษาพบว่าการนำเสนอพุทธปรัชญาเรื่องกรรมในวรรณกรรมไทยยุคก่อน นวนิยายเป็นการเสนอในรูปแบบของวรรณกรรมศาสนาแท้ ๆ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวในสมัยพุทธกาล และพุทธประวัติต่อมาเริ่มนำเสนอในรูปนิยายพื้นบ้าน บทร้อยกรองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงยุค นวนิยายไทยซึ่งในระยะแรกยังเป็นการนำเสนอในรูป นวนิยายอิงหลักธรรมะ ต่อมาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงการนำเสนอในรูปแบบของ นวนิยายชีวิต ซึ่งเป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ขั้นที่สาม ผู้วิจัยศึกษาถึงอิทธิพลของ พุทธศาสนาที่มีผลกระทบต่องานเขียน นวนิยายของ กฤษณา อโศกสิน ในแง่ประวัติชีวิตส่วนตัว และทัศนะคติเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องกรรม จากการศึกษาพบว่า กฤษณา อโศกสิน ผังใจกับความเชื่อเรื่องกรรมเป็นอย่างมาก กฤษณา อโศกสิน เชื่อถือกฎแห่งกรรมในลักษณะที่ว่าการทำดีย่อมได้ดี การทำชั่วย่อมได้ชั่ว แต่วาระที่กรรมดีและกรรมชั่วจะสนองไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับกำลังของกรรม กฤษณา อโศกสิน มีความเชื่อเรื่องกรรมเก่าเห็นว่า กรรมเก่า มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์แต่เน้นความสำคัญของกรรมปัจจุบันมากกว่า นั้นก็คือ กรรมปัจจุบันมีอิทธิพลเหนือกรรมเก่าอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้กรรมอาจจะส่งผลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ขั้นที่สี่ ผู้วิจัยศึกษาถึงพุทธปรัชญาเรื่องกรรมใน นวนิยายของ กฤษณา อโศกสิน รวม 5 เรื่อง ได้แก่ บาปสลาย เรือมนุษย์ น้ำเซาะทราย เมียหลวง และ ถนนสายเสน่หา พบว่า 1. กฤษณา อโศกสิน เชื่อว่า กิเลสตัณหาเป็นบ่อเกิดแห่งกรรมและวิบากกรรม 2. กฤษณา อโศกสิน มีความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมไปในแนวทางเดียวกันกล่าวคือ เชื่อว่าการทำความดีย่อมได้ดี การทำความชั่วย่อมได้ชั่ว 3. กฤษณา อโศกสิน มีความเชื่อเกี่ยวกับกรรมเก่าว่า เหตุการณ์ในชีวิตมนุษย์ส่วนหนึ่งมีผลมาจากกรรมเก่า แต่กรรมปัจจุบันมีอิทธิพลเหนือกว่า 4. พุทธปรัชญาเรื่องกรรมในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน เป็นพุทธปรัชญาในระดับชาวบ้าน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมไทยในแง่วรรณคดีเปรียบเทียบโดยศึกษาเกี่ยวกับพุทธปรัชญาเรื่องกรรมประกอบการวิเคราะห์เปรียบเทียบนวนิยายที่มีรายละเอียดและเนื้อหาสะท้อนความเชื่อเรื่องกรรมตามทัศนะของผู้ประพันธ์ อันจะแสดงให้เห็นลักษณะที่ว่าวรรณกรรมได้สะท้อนความคิดทางปรัชญา อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเข้าใจวรรณกรรมไทยในแวดวงที่กว้างขวางและมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
dc.description.abstractalternativeThis thesis is an analytical study of the Buddhist concept of Kamma in the novels of Krisana asoksin during the period of B.E. 2505-2515 with the following considerations: Firstly, a critical study will be made on the meaning, nature, kind and cause of the Buddhist doctrine of Kamma and also the relationship between Kamma and its result. From the research it has been found that defilement (Kilesa) is the cause of Kamma and Kamma brings about its result, the process repeats itself in a circle indefinitely. There is actually incorrect understanding about Kamma and its result among Thai Buddhists, and some novelists have, however, inserted the popular belief in the Buddhist doctrine of Kamma in their novels. Secondly, the research is an attempt to study the Buddhist doctrine of Kamma in the literatures written before B.E. 2515. It is found that formerly the concept of Kamma in Buddhist Philosophy appears mostly in religious literature which depict stories of lives in the time of the Lord Buddha or the story of the Buddha himself and his birth-stories. Later the belief in the doctrine of Ramma appears in the folk-tales, poems, itc. In the later development the doctrine is found in religious novels while in modern novels it can be regarded as the latest development which enjoys most popularity. Thirdly, the research has investigated of the influence of Buddhism on the novels of Krisana Asoksin. It is found that she has a firm belief in the Buddhist doctrine of Kamma especially in the general concept of the law as to do good is to receive good and to do evil is to receive evil, and how and when the good or evil deed produces its result depends on many factors. She believes in the influence of the previous Kamma which has a great role to play in the present life of the performer. In this connection she, however, takes the present Kamma as more important in affecting a person’s present life than the previous Kamma, She also believes that Kamma can produce its effect either directly or indirecty. Fourthly an attempt has been to study the Buddhist concept of Kamma in 5 novels of Krusana Aoksin, namely, Bapsalai, Rua manut, Nam So sai, Mia luang and Thanon sai soneha. From a critical study it has been revealed: 1. Krisana Asoksin believes that defilement (Kilesa) and desire (Tauha) are the root-cause of Kamma and its result (Vipaka) 2. Krisana Asoksin believes like other Buddhists that to do good is to receive good and to do evil is to receive evil 3. Krisana Asoksin believes in the influence of the old Kamma, as well as the present Kamma having stronger effect on a person’s present life 4. The belief in the Buddhist doctrine of Kamma as appeared in Krisana Aaoksin’s novels is of the level of the common people. This research is a comparative study of Thai literature in connection with the Buddhist doctrine of Kamma. The study has revealed the influence of philosophical thoughts playing a significant role in the modern Thai novels. This correct understanding will greatly be beneficial to a more comprehensive study of the Thai movels as a whole.
dc.format.extent8041216 bytes
dc.format.extent6184122 bytes
dc.format.extent26769633 bytes
dc.format.extent26721858 bytes
dc.format.extent14663909 bytes
dc.format.extent44873963 bytes
dc.format.extent3567603 bytes
dc.format.extent3910159 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพุทธปรัชญาเรื่อง กรรม ในนวนิยายของกฤษณา อโศกสินen
dc.title.alternativeBuddhist concepts of karma in Krisana Asoksin's novelsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Alapa_al_front.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch1.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch2.pdf26.14 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch3.pdf26.1 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch4.pdf14.32 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch5.pdf43.82 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_ch6.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Alapa_al_back.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.