Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28922
Title: การสังเคราะห์และการพิสูจน์เอกลักษณ์พอลิเมอร์ดูดซึมมาก จากการกราฟต์พอลิอะคริลาไมด์ลงบนคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส โดยการฉายรังสีแกม มา เพื่อควบคุมการปลดปล่อยเคมีเกษตร
Other Titles: Synthesis and characteri-zation of superabsorbent polymer prepared from poly-acrylamide grafted onto carboxymethyl cellulose by gamma irradiation for controlled release of agrochemical
Authors: อุรารักษ์ จันทะวงษ์
Advisors: ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง
พิริยาธร สุวรรณมาลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Doonyapong.W@Chula.ac.th,
Chyagrit.S@Chula.ac.th
Subjects: โพลิอะคริลาไมด์
โพลิเมอร์ -- การสังเคราะห์
โพลิเมอร์ -- ผลกระทบจากรังสี
สารเคมีทางการเกษตร -- การควบคุมการปลดปล่อย
กราฟต์โคโพลิเมอร์
รังสีแกมมา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกราฟต์พอลิอะคริลาไมด์บนคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสด้วยรังสีแกมมา โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อปฏิกิริยาการกราฟต์โคโพลีเมอร์ไรเซชัน ได้แก่ ปริมาณรังสี ระดับการแทนที่ของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ปริมาณอะคริลาไมด์มอนอเมอร์และปริมาณเมทิลีนบิสอะคริลาไมด์ ทำการหาเปอร์เซนต์การ- กราฟต์และประสิทธิภาพการกราฟต์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการบวมน้ำ จาก การศึกษา พบว่าเปอร์เซ็นต์การกราฟต์เพิ่มขึ้นตามปริมาณรังสี ระดับการแทนที่ของคาร์บอก- ซีเมทิลเซลลูโลส ปริมาณอะคริลาไมด์มอนอเมอร์ และปริมาณเมทิลีนบิสอะคริลาไมด์ แต่จะ ลดลงเมื่อปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสเพิ่มขึ้น สภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์กราฟต์ โคพอลิเมอร์ในงานวิจัยนี้ คือปริมาณรังสี 2 kGy ระดับการแทนที่ของคาร์บอกซีเมทิลเซล- ลูโลสเท่ากับ 1.2 ปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 5 กรัม ปริมาณอะคริลาไมด์มอนอเมอร์ 6 กรัม และปริมาณเมทิลีนบิสอะคริลาไมด์ 0.25 กรัม เปอร์เซ็นต์การกราฟต์เท่ากับ 121.73 และประสิทธิภาพการกราฟต์เท่ากับ 101.22 ความสามารถบวมน้ำเท่ากับ 190 กรัมต่อกรัม ของพอลิเมอร์แห้ง สามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมไนเตรตได้ 45.58 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 7 วัน
Other Abstract: Graft copolymerization of polyacrylamide onto carboxymethyl cellulose by a simultaneous irradiation technique using gamma-ray were studied. Various parameters of importance namely total dose (kGy), amount of carboxymethyl cellulose, degree substitution of carboxymethyl cellulose, amount of acrylamide monomer and methylene bis acrylamide were put to study the effect to grafting reaction. The degree of grafting and grafting efficiency in relation with swelling ratio of the product were investigated. The result of this study revealed that the degree of grafting and grafting efficiency is directly to total dose, degree substitution of carboxymethyl cellulose, amount of acrylamide monomer and methylene bis acrylamide increase but decreased with the increase of carboxymethyl cellulose. Graft copolymer gave the maximum swelling ratio at total dose of 2 kGy, 5 g of carboxymethyl cellulose, degree substitution of carboxymethyl cellulose 1.2, 6 g of acrylamide monomer and 0.25 g of methylene bis acrylamide. The degree of grafting of 121.73 and grafting efficiency of 101.22. The swelling ratio was 190 g/g dry of gel and release of potassium nitrate 45.58 % in 7 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28922
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1571
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
auraruk_ch.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.