Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28923
Title: | แนวทางพัฒนาทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ |
Other Titles: | Development guidelines for Songkhla lake as a natural tourism resort |
Authors: | แคล้ว ทองสม |
Advisors: | สุวัฒนา ธาดานิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นวิธีการที่แพร่หลายสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติอีกจำนวนมากยังนำมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ปัญหาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันคือ การพัฒนาจนเกินความสามารถของธรรมชาติที่จะรักษาสภาวะแวดล้อมให้อยู่ในสภาพสมดุลได้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมและสูญเสียเอกลักษณ์ของธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมจะต้องผสมผสานระหว่างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางพัฒนาทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ” มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทะเลสาบสงขลาสามารถนำมาเป็นเครื่องมือลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของพื้นที่ได้ โดยที่ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้จะไม่เสื่อมสลายไป ถ้าได้มีการวางแผนบำรุงรักษาธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ วิธีการดำเนินการศึกษาส่วนใหญ่ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน้ำ ความยากจนหรือความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ลักษณะทางนิเวศวิทยาของทะเลสาบ ทรัพยากรการท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวในทะเลสาบสงขลา บางส่วนใช้วิธีการศึกษางานในสนามโดยใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สภาพพื้นที่โดยใช้ค่ามาตรฐานทฤษฎีและแบบจำลองทางนิเวศวิทยา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในอดีตเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพื้นที่ลุ่มน้ำ บริเวณรอบๆ ทะเลสาบเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคใต้ จากความสมบูรณ์ของบริเวณนี้จึงทำให้เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ สภาพปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชนบทยากจน เพราะอาชีพทำนาเพียงครั้งเดียว สวนยางพันธุ์เก่าขนาดเล็ก และการประมงพื้นบ้าน ประกอบกับสัตว์น้ำที่เคยหาได้เองตามแหล่งน้ำทั่วไปขาดแคลนอย่างมาก การจับสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาจึงเกินดุลธรรมชาติและอยู่ในลักษณะเสื่อมโทรม ขณะที่ประชาชนบริเวณนี้ยากจนที่สุด แต่ทางตอนใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ำบริเวณเมืองสงขลาและหาดใหญ่ มีศักยภาพในการพัฒนาสูงมาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางหลายๆด้านของภาคใต้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท ผลที่จะเกิดตามมาคือการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าสู่ตัวเมือง แนวคิดในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำคือ การให้อุตสาหกรรมในเมืองหลักเกิดการเชื่อมโยงถดถอย เป็นการสร้างางานในพื้นที่ชนบท ประเภทอุตสาหกรรมที่มีลักษณะดังกล่าวมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทะเลสาบสงขลาเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญในบริเวณพื้นที่ชนบทยากจน และยังนำมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ได้แก่ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย อุทยานนกน้ำคูขุด หาดแสนสุขลำบำ เกาะสี่เกาะห้า เหาะยอ และเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรหน่วยสุดท้าย การใช้ประโยชน์จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเปราะบาง ในการพัฒนาทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จะต้องกำหนดเป็นเป้าประสงค์ นโยบาย และวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยการสร้างงานจากการท่องเที่ยว (2) เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน แล้วนำรายได้นั้นกลับไปบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีอยู่ตลอดไป สำหรับกลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้ (1) การกำหนดเขตการใช้ที่ดินในแหล่งท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น เขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา เพื่อป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ (2) การสร้างระบบชุมชนศูนย์กลางท่องเที่ยวระดับต่างๆ เพื่อรองรับการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว บริการข่าวสาร เทคโนโลยี และเงินทุนสู่พื้นที่ยากจน (3) กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวให้กระจายมากที่สุด (4) การพัฒนาเฉพาะบริเวณ เนื่องจากทะเลสาบสงขลามีอาณาเขตกว้างขวางมากจึงเลือกพัฒนาเฉพาะบริเวณที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงเท่านั้น โดยกำหนดแนวทางพัฒนาออกเป็น 3 แนวทางคือ แนวทางพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ และแนวทางการพัฒนาอาชีพชุมชน จากกลยุทธ์ดังกล่าว สามารถเสนอแนะการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว คือมีการกำหนดการใช้ที่ดินเป็น 3 ประเภท ประเภทแรกได้แก่ บริเวณป่าพรุเหนือทะเลน้อย และคลองนางเรียม ป่าหญ้าหน้าบ้านศรีไชย บ้านคูขุด และหัวเกาะโคบ ประเภทที่ 2 เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนประเภทที่ 3 จะอยู่บริเวณชุมชนเดิม ที่มีการพัฒนาไปบ้างแล้ว มีการสร้างระบบโครงสร้างชุมชนการท่องเที่ยวเพียง 3 ระดับ คือศูนย์กลางหลัก คือ สงขลา/หาดใหญ่ ศูนย์กลางรอง คือ หาดแสนสุขลำบำ ส่วนศูนย์กลางเล็ก ได้แก่ ทะเลน้อยและคูขุด กำหนดให้มีเส้นทางการท่องเที่ยวกระจายออกจาก หวดใหญ่และพัทลุง โดยปรับปรุงเส้นทางเก่า และเปิดเส้นทางใหม่ ส่วนการพัฒนาเฉพาะบริเวณ ทะเลน้อยและคูขุด จะเน้นทั้ง 3 ด้าน หาดแสนสุขลำบำจะเน้นพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว เกาะยอจะเน้นการอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่วนเกาะสี่เกาะห้า จะเน้นการอนุรักษ์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำมีปัญหาเกี่ยวกับโจรผู้ร้ายและผู้ก่อการร้าย มาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะเป็นมาตรการแรกที่กระทำก่อน ส่วนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะต้องตั้งองค์กรทำหน้าที่บริหารให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ |
Other Abstract: | To encourage the national economic growth, many developing countries pay more attention on tourism promotion. This is on the basis that the tourism resources in those counties have not been fully utilised. However, the rapid tourism development at present has created environmental problems by the overload of nature. Therefore the environment cannot maintain its balance of ecosystem that finally leads to the identity loss of many tourism natural resources. The reasonable tourism development needs to be the compromise between the economic gains and the natural conservation. The aim of this thesis is to show that the tourism development can be used as a tool to reduce the problem of wealth inequality in the area of the songkhla Lake Basin. At the same time, the nature resource will not be overloaded and degenerated on the condition that the natural conversation has to be planned hand in hand with the economic utilization. The study method of this thesis is an analysis of the existing situation of the songkhla Lake Basin, mainly based on the secondary data. The study reveals to the poverty or the growth inequality as well as the ecosystem of the Lake, the natural tourism resources and the number of tourists in the study area. Some data are derived from the field observation and the interview. The Spatial analysis has been worked within the frome of theories and models of ecology. The results of the research can be summarized that as the biggest lake in Thailand, Songkhla Lake in the past was so fertile that it was the food cradle of the communities surrounding the Basin. Such fertility caused this area to be the origin of southern art and culture center. However, the situation has been changed and the songkhla Lake Basin at present has mainly become the land of poverty. The reason for that phenomena is that in this area, the farmers grow rice just one time in a year, the rubber trees in plantations are old and small and the previling fisheries are non-mechanized. Moreover, the lake has shown the symptom of imbalance in ecosystem by the more and more reduction of fish and water animals. Contrastly, while the population in the communities surrounding the Lake have been in the poverty, the south of the basin at songkhla and Had-Yai twin cities are highly urbanized and economically developed. It is the area of high potentiality of growth and wealth, influenced by being the center of the southern reqion. This situation creates the development and income gap between the urban and rural areas that results in the in migration to the cities. The general concept to solve that inequality is the industrial promotion especially the tourism development. It is considered that the songkhla Lack Area are plenty of the tourism resources waiting to be utilized, they are Thale-noi Bird Sanctury, Khu-Khud Bird sanctuary, Lumpum Beach, Ko-Yo, Ko-See Ko-Ha and the other lake islands. The tourism promotion in such area seems to be reasonable and supportable. Nevertheless, it needs to think of the balance in lake ecosystem into consideration. As lake is counted as the last unit of natural resources, the lake utilization has to be based on the sensitivity and fragility of nature. Therefore, in this thesis, the goal, policy and the objectives of tourism development of the songkhla Lake Basin are recommented as the following, (1) To reduce the poverty and the inequality in the songkhla Lake Basin by creating jobs caused by tourism. (2) To highly utilized the tourism the resources to be advantageous to the communities and in turns to bring wealth from the communities back to save those natural tourism resources. The strategy in tourism development of the songkhla Lake Basin should be the following (1) the land use Zonation in the tourism spots into 3 types : preservation, conservation and development Zones. (2) locate the tourism centers at defferent levels to distribute wealth into the poverty area. (3) Set up tourism routes to lower centers. (4) Set up the guide plans for each tourism spot, by arranging into 3 ways of development. They are the development plan at the tourism sites, the plan of ecological maintainance and the plan for community carreer development. The four strategies can be delineated into details of development. The land for preservation is delimited at the bog area of Thale-noi, Klong nang Riam, grass forest at Ban Sri Chai, Ban-Koo Khud and Hua-Ko-Kob. The land for conservation is at the main area of the tourism sites and the land for development will be at the place already partly developed. Songkla and Had – Yai will be the main tourism centers while the sub-centers are at Lampum Beach and the local center at Khu-Khud and the new tourism routes Thale-noi will be expanded from Had-Yai and Pattalung. The landuse at the specific areas will be concentrated on development at Had San Sook, Lampum, natural conservation and development at Ko-Yo, Ko See and Ko Ha will be concentrated on conservation. Since the songkla Lake basin has the problems of insecurity in life and properties, the priority of tourism measure should be the prevention of such situation. The second measure should be the set up of the local tourism committee to carry out the plan to achieve the goal. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | การผังเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28923 |
ISBN: | 9745622265 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Klayo_th_front.pdf | 17.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch1.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch2.pdf | 32.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch3.pdf | 66.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch4.pdf | 23.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch5.pdf | 26.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch6.pdf | 45.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_ch7.pdf | 26.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klayo_th_back.pdf | 26.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.