Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28937
Title: แรงจูงใจกับระยะเวลาในการรับนวัตกรรมสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริโภคชาวไทยวัยทำงาน
Other Titles: Motivation and innovation adoption period of information technology products in Thai working-age consumers
Authors: ณัฐพล เทียมชัยบุญทวี
Advisors: ณัฐพล อัสสะรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เทคโนโลยีสารสนเทศ -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- ไทย
สินค้าอุปโภคบริโภค -- ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกกลุ่มผู้บริโภคตามแรงจูงใจทางด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการบริโภคสินค้านวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริโภคชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ แรงจูงใจด้านสังคม แรงจูงใจด้านความบันเทิง แรงจูงใจด้านความรู้และทักษะการคิด แรงจูงใจด้านประโยชน์ของสินค้าและแรงจูงใจด้านความสวยงามของสินค้า งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนจำนวน 400 คน ที่ทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีอายุ 21-60 ปี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบวิจารณญาณ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธี Factor Analysis รวมตัวแปรแรงจูงใจ จากนั้นใช้วิธี Cluster Analysis เพื่อจำแนกกลุ่มผู้บริโภคที่มีแรงจูงใจที่เหมือนกันหรือต่างกันออก สุดท้ายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่จำแนกตามแรงจูงใจในการรับนวัตกรรมกับระยะเวลาที่ใช้ในการรับนวัตกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่จำแนกตามแรงจูงใจกับตรายี่ห้อสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศที่เลือกใช้ของผู้บริโภคชาวไทยวัยทำงานในปัจจุบันด้วยวิธี Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า สามารถจำแนกกลุ่มผู้บริโภคได้เป็น 5 กลุ่มตามแรงจูงใจในการบริโภคสินค้านวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ กลุ่มไม่สนใจนวัตกรรม กลุ่มความรู้และทักษะการคิด กลุ่มความสวยงาม กลุ่มแรงจูงใจหลายด้าน และกลุ่มนวัตกรรมสูง โดยผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันในตราสินค้าที่เลือกซื้อ และระยะเวลาที่ใช้ในการรับสินค้านวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่าง ๆ
Other Abstract: The objective of this research is to categorize consumers into segments according to motivation that influences information technology product adoption including social, hedonic, cognitive, functional and aesthetic motivation. This research is a descriptive research. Questionnaires are used to collect data from 400 respondents who work in Bangkok Metropolitan Area and age 21-60 years old. The data is analyzed firstly by using Factor Analysis to group motivation variables and then Cluster Analysis is used to categorize consumers into segments. Lastly, Cross Tabulation and Chi-square Test are used to find the relationships (1) between consumer segments and product-brand purchased and (2) between consumer segments and adoption period at significant level of 0.05. The research results show that the consumers can be categorized into 5 segments according to their motivation to consume the product. Consumers also show different preference of product-brand purchased and different adoption period among segments.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28937
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1580
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1580
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattaphol_ti.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.