Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28944
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | แน่งน้อย พัวพัฒนกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-02-19T09:02:56Z | - |
dc.date.available | 2013-02-19T09:02:56Z | - |
dc.date.issued | 2538 | - |
dc.identifier.isbn | 9746324551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28944 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดบริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วิเคราะห์ความสอดคล้องกับแนวทางที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด พร้อมทั้งเสนอแนวทางการจัดบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดบริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยนั้น สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาตระหนักถึง ความสำคัญในการพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ รวมทั้งเพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยจัดให้มีหน่วยปฏิบัติงานอยู่ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา บุคลากรที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา แนะแนวและการให้คำปรึกษา มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา สามารถประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้และมีความเต็มใจที่จะให้บริการนิสิตนักศึกษา แต่ยังขาดทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ และความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยและติดตามผล ในด้านงบประมาณนั้นส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยในวงเงินมากกว่า 90,000บาทต่อปี ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานต้องขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณอื่นมาดำเนินการ ด้านสถานที่ในการดำเนินงานพบว่า ตั้งอยู่เป็นเอกเทศและอยู่ร่วมกับหน่วยงานอื่นในจำนวนที่ใกล้เคียงกันโดยจะอยู่ในอาคารขององกิจการนิสิตนักศึกษาและอาคารกิจกรรมนิสิตนักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอุปกรณ์สำนักงานที่ขาดแคลนคือเรื่องโทรสาร สำหรับประเภทของบริการที่จัดพบว่า ทุกสถาบันจัดกิจกรรมบริการข่าวตำแหน่งงานและอื่นๆ บนบอร์ดติดประกาศ และบริการที่จัดน้อยที่สุดคือ มัชฌิมนิเทศ ในด้านความคิดเห็นต่อการพัฒนานักศึกษาพบว่า อยู่ในระดับมากในประเด็นที่ นิสิตนักศึกษาสามารถเขียนใบสมัครและพร้อมในการเข้ารับการสัมภาษณ์ส่วนความคิดเห็นในด้านปัญหาอุปสรรค พบว่าอยู่ในระดับปานกลางโดยประเด็นที่เห็นว่าเป็นปัญหามากคือ จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ความสอดคล้องของการบริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา กับแนวทางที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดนั้น พบว่าสถาบันส่วนใหญ่มีความสอดคล้องในด้านโครงสร้างองค์กร สำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์ ประเภทของการจัดบริการ และมาตรฐานบุคลากรนั้นมีความสอดคล้องเป็นส่วนน้อย การเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดบริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยเสนอว่า ในระดับสถาบันควรพัฒนาในประเด็นดังนี้คือ การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานให้ชัดเจน การพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การสนับสนุนด้านงบประมาณ สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน การปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการให้บริการ ในระดับทบวงมหาวิทยาลัย ควรทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในด้านการส่งเสริม สนับสนุนและให้บริการแก่สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study current status of educational and career guidance services in higher education institutions under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs (MUA), to analyze its compatibility with the guidelines set by the MUA, ant to recommend proper and effective guidelines for such services. The research findings revealed revealed that, presently, the higher education institutions under MUA had set the objective of their educational and career guidance services to enable their students to realize the importance of self development, to become qualified graduates, to provide knowledge and information necessary for advanced studies and career planning as well as to prepare them to be ready for their profession. The responsible office for such activities were set up and were under supervisions of the Vice President for Student Affairs. Most of the staff completed Bachelor’s degree in Psychology, Guidance and counseling, possessing capabilities to give advice and coordinate with other units and were willing to provide services. However, lower ability in foreign language proficiency, the ability to analyze, to synthesize, to conduct research, and to follow up were found at the lower rate. The budget was insufflicient mostly relied on university revenue in the amount of over 90,000 Baht per year. The office for such services, were set up separately or located with in other units, mostly in the student affairs office or student activity office. Lack of facsimile machines were found. Regarding of the services, news services on job opportunities and job announcement on boards were provided. The least provided service was mid-term orientation. For student development, it was found that the students’ abilities to fill out the application forms and their readiness for the interviews were at the high level. Problem concerning the service was at the medium level with the insufficient number of staff. The analysis of educational and career guidance service operation was made by using the MUA guidelines, and was found that organizational structure in most institutions met the MUA guidelines, at the most. But for the objectives, types of services, and personnel standards were at the low level. It was recommended that for better and more effective educational and career guidance services in higher education institutions, the institutions should have a clear policy, feasible objectives for their operation in order to strengthen their staff, to provide more budget, and better facility office and to improve service methods and techniques, In addition, the Ministry of University Affairs should serve as the coordination unit to promote, to support ant to provide services to the higher education institutions under its jurisdiction. | - |
dc.format.extent | 4739566 bytes | - |
dc.format.extent | 4805124 bytes | - |
dc.format.extent | 22370159 bytes | - |
dc.format.extent | 2060425 bytes | - |
dc.format.extent | 37899205 bytes | - |
dc.format.extent | 14583081 bytes | - |
dc.format.extent | 40274533 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา | - |
dc.subject | การแนะแนวการศึกษา -- การจัดการ | - |
dc.subject | การแนะแนวอาชีพ -- การจัดการ | - |
dc.title | การวิเคราะห์การจัดการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | An analysis of educational and career guidance services in higher education institutions under the jurisdiction of The Ministry of University Affairs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nangnoi_pu_front.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_ch1.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_ch2.pdf | 21.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_ch3.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_ch4.pdf | 37.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_ch5.pdf | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nangnoi_pu_back.pdf | 39.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.