Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธา ขาวเธียร-
dc.contributor.advisorเจิดศักดิ์ ไชยคุนา-
dc.contributor.authorจิตรภณ โรจน์กิรติการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-19T09:56:58Z-
dc.date.available2013-02-19T09:56:58Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเส้นใยปาล์มซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มาใช้เป็นตัวกลางในกระบวนการโคเอเลสเซอร์เพื่อบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนน้ำมันในรูปอิมัลชันประเภทน้ำมันในน้ำด้วยระบบแบบไหลต่อเนื่อง ทำการศึกษาด้วยระบบโคเอเลสเซอร์ที่ทำจากแก้ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2.54 เซนติเมตร และความยาวของถังปฏิกรณ์ 10 เซนติเมตร น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองมีความเข้มข้นของน้ำมันที่ปนเปื้อน 500 ถึง 2000 มิลลิกรัมต่อลิตร และกำหนดความเร็วการไหลผ่านชั้นตัวกลาง 0.1 ถึง 0.5 เซนติเมตรต่อวินาที และคำนวณประสิทธิภาพจากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันที่เหลือในน้ำเสียหลังผ่านระบบ ผลการทดลองพบว่าเส้นใยปาล์มมีประสิทธิภาพในการช่วยรวมตัวของเม็ดน้ำมันจากอนุภาคเล็กให้มีอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น ตัวกลางประเภทเส้นใยปาล์มสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายความเป็นอิมัลชันของน้ำมันปาล์มและน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำเสีย โดยประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำมันในน้ำเสียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 80 สำหรับน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์ม และ ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 50 สำหรับน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันไบโอดีเซล และเมื่อความเร็วการไหลสูงขึ้น ระบบจะมีการบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่าที่ความเร็วการไหลต่ำ ซึ่งประสิทธิภาพของการบำบัดนี้เกิดจากกระบวนการโคเอเลสเซนซ์ซึ่งเป็นกระบวนการที่ตัวกลางช่วยในการจับยึดเม็ดน้ำมันไว้ ทำให้เกิดการรวมตัวจากเม็ดน้ำมันที่มีขนาดเล็กกลายเป็นเม็ดน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างน้ำและน้ำมัน เป็นผลให้เกิดการแยกตัวของเม็ดน้ำมันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to investigate the utilization of palm as media in colaescer systems for treating oil emulsion dispersions from wastewater. The coalecer in this experiment was a glass tube 10 cm. in length and 2.54 cm. diameter, packed with palm fiber or resin as coalescing media. This experiments were conducted in continuous flow system.The initial concentration of oil in water emulsion was in the range between 500 to 2000 mg/l. The flow velocity was 0.1 to 0.5 centrimeter per second. The results showed that the media of coalecer was efficiency to coalescence oil droplet from small to large droplet. Fiber media was efficiency to demulsifier oil palm and biodiesel in wastewater. The rates of demulsification for oil palm emulsion of media coalescer (80%) were higher than non media coalescer (24%). The rates of demulsification for biodiesel emulsion of media coalesce was 50% and non media coalesce was 30%.At higher flow velocity the system efficiency than lower flow velocity.en
dc.format.extent2982333 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1582-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมันen
dc.subjectอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงไบโอดีเซล -- การกำจัดของเสียen
dc.subjectปาล์มน้ำมันen
dc.titleการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันด้วยโคเอเลสเซอร์โดยใช้เส้นใยปาล์มเป็นตัวกลางen
dc.title.alternativeTreatment of oil in water emulsion by coalescer with palm fiber mediaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSutha.K@eng.chula.ac.th-
dc.email.advisorJirdsak.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1582-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittaporn_ro.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.