Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิศราวัลย์ บุญศิ-
dc.contributor.authorประภาพร หอมจันทร์จีรัง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-19T13:07:34Z-
dc.date.available2013-02-19T13:07:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28961-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractเส้นใยเสริมแรงนำมาใช้ในทางทันตกรรมอย่างแพร่หลายเช่น ซ่อมฐานฟันปลอมที่แตกหัก ใช้เป็นแกนโครงสร้างภายในของสะพานฟันชั่วคราว การใช้สารเชื่อมยึดเพื่อเพิ่มการยึดติดระหว่างเส้นใยกับพอลิเมอร์เมทริกซ์มีผลทำให้เพิ่มคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุคอมโพสิตเสริมเส้นใย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อศึกษาผลของสารเชื่อมยึดและระยะเวลาการแช่น้ำต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว รวมทั้งเปรียบเทียบความแข็งแรงดัดขวางและมอดูลัสดัดขวางของการเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยแก้วในเรซินอะคริลิกและเรซินคอมโพสิตที่เพิ่มการยึดติดด้วยสารเชื่อมยึด ชิ้นทดสอบขนาด 2x2x25 มิลลิเมตร สร้างขึ้นจากวัสดุเรซินอะคริลิกชนิดบ่มได้เองและเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้ว โดยปรับสภาพพื้นผิวเส้นใยด้วยสารเชื่อมยึดไซเลนหรือสารเชื่อมยึดไททาเนต กลุ่มทดสอบเรซินอะคริลิกประกอบด้วย (ก) กลุ่มที่ไม่ได้เสริมเส้นใย (ข) กลุ่มเสริมเส้นใยแก้ว (ค) กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลน และ (ง) กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไททาเนต ในกลุ่มทดสอบเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยถูกปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลน เส้นใยที่ใช้เสริมความแข็งแรงถูกจัดวางให้ขนานกับแนวตามยาวและอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของชิ้นทดสอบ กลุ่มทดลองทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 10 ชิ้นเพื่อแช่ในน้ำกลั่นเป็นเวลา 7 วัน และ 30 วันที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ก่อนนำมาทดสอบความแข็งแรงดัดขวางแบบ 3 จุด ความเร็วในการเคลื่อนหัวกด 1 มม.ต่อนาที นำกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดตรวจสอบพื้นผิวที่แตกของชิ้นทดสอบ จากการทดสอบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวางด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณแบบเชฟเฟ พบว่ากลุ่มทดสอบเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลนให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) จากการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระจากกัน พบว่าเวลาในการแช่น้ำมีผลต่อความแข็งแรงดัดขวางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าเรซิน คอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้ว ให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางและมอดูลัสดัดขวางไม่แตกต่างกับเรซินอะคริลิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นจากงานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า สารเชื่อมยึดไททาเนตสามารถเพิ่มค่าความแข็งแรงดัดขวางของ เรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้วได้ แต่มีค่าต่ำกว่าสารเชื่อมยึดไซเลน อย่างไรก็ตามการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไททาเนตเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการเพิ่มการยึดติดระหว่างเส้นใยและเมทริกซ์ นำไปสู่การปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุเสริมเส้นใยen
dc.description.abstractalternativeFiber reinforcements have been employed to strengthen both during repair dentures and in the frameworks of fixed partial dentures. The presence of coupling agents at the polymer-fiber interface can improve the mechanical properties of the fiber-reinforced composites. The aim of this study was to determine the effect of two different coupling agents and immersion times on transverse strength of acrylic resin with glass fiber reinforced composite and to compare the transverse strength and modulus of fiber reinforcements in acrylic resin and composite resin. Test specimens (2x2x25mm) made of chemically activated acrylic resin or composite resin were reinforced with glass fibers. Fibers were treated with silane coupling agent (Monobond S) or titanate coupling agent (NDZ-201). The acrylic resin groups were : (A) no fibers; (B) non-impregnated glass fibers; (C) silane impregnated glass fibers and (D) titanate impregnated glass fibers. The composite resin group reinforced with silane impregnated glass fibers. The fibers were oriented parallel to the long axis and positioned in the center of the specimen. Specimens (n=20) were divided to store in distilled water for 7 and 30 days at 37 oC before testing. They were subjected to a three-point loading test set up at a crosshead speed of 1 mm/min. Scanning electron microscopy (SEM) was used to examine the microstructure of the cracked surface. Data were analyzed by means of ANOVA and Scheffe tests. Test results revealed that among the acrylic resin groups, treatment with Monobond S resulted in the most significant increase in transverse strength values (p<0.001). T-test showed that the immersion time of each group significantly influenced the transverse strength (p<0.05). The transverse strengths and modulus of fiber reinforcements were not significantly different between acrylic resin group and composite resin group (p<0.05). NDZ-201 can increase the transverse strength of fiber-reinforced composites but lower than Monobond S. However surface treatment with NDZ-201 was an effective method to improve the fiber reinforcements.en
dc.format.extent3178000 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1203-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรซินอะคริลิกทางทันตกรรมen
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen
dc.titleผลของสารเชื่อมยึดต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้วen
dc.title.alternativeEffect of coupling agent on transverse strength of acrylic resin with glass fiber reinforced compositeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorIssarawan.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1203-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapaporn_ho.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.